เป็นฟรีแลนซ์ ทำประกันแบบไหนดี

เป็นฟรีแลนซ์ ทำประกันแบบไหนดี

เก็บออมและลงทุนแบบคน “ทำงานอิสระ” ที่ช่วยลดความเสี่ยงและ “ลดหย่อนภาษี” ไปพร้อมๆกัน

ทุกวันนี้ถ้ามั่นใจว่าเจ๋งในสายงานจริง คงไม่มีใครอยากทำงานประจำที่มีระเบียบค่อนข้างตายตัว เพราะเหตุนี้บุคคลจากสายอาชีพต่างๆ ที่มีประสบการณ์มาระดับหนึ่ง จึงมักผันตัวมาเป็น “ฟรีแลนซ์” เพื่อรับงานและบริหารจัดการด้วยตัวเอง

ถึงเช่นนั้น คนที่เป็นฟรีแลนซ์ได้ตลอดรอดฝั่งก็ไม่ได้แค่เพียงต้องหาลูกค้า สะสมคอนเนคชั่น และบริหารรายได้ให้เพียงพอในแต่ละเดือนเท่านั้น แต่ยังต้องมีการวางแผนเงินออม รวมถึงมีวิธีการ “ลดหย่อนภาษี”  ตามแบบฉบับคนเป็นฟรีแลนซ์ด้วย

  • เงินได้-ภาษีของฟรีแลนซ์

อย่าเพิ่งนึกว่าฟรีแลนซ์จะเป็นการทำงานที่ไม่มั่นคง เพราะคนที่ทำงานบริษัทในยามนี้ก็คงไม่ได้แตกต่างกัน หากคนเป็นฟรีแลนซ์ ถ้ามีคอนเนคชั่นในหลายอุตสาหกรรมก็สามารถทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำมาแล้ว แถมแนวโน้มของแต่ละบริษัทก็มักลดต้นทุนแบบตายตัวในบางตำแหน่งงานและหันมาจ้างฟรีแลนซ์แทน ซึ่งสำหรับคนทำงานอิสระ เมื่อมีรายได้เข้ามาก็ยังคงใช้เกณฑ์ "เงินได้สุทธิ" ในการคำนวนภาษี ดังนั้นสิ่งที่ต้องบันทึกไว้คือต้องไม่ลืมว่าตลอดทั้งปี  ตัวเองได้เงินมาจากที่ใดบ้าง และแต่ละที่ได้จำนวนเท่าไร

เงินได้ของฟรีแลนซ์ จะเข้าข่าย "เงินได้ประเภทที่ 2" ตามประมวลรัษฎากร หรือ "เงินได้มาตรา 40 (2)"ซึ่งโดยปกติแล้ว หากรับงานฟรีแลนซ์ ผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายทันที โดยผู้ว่าจ้างจาก 2 รูปแบบ คือ

 

1.หัก 3% ของเงินที่จ่ายทุกครั้ง

2.คำนวณภาษีจากรายได้สะสมที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง เช่น ผู้ว่าจ้างหักภาษี ณ ที่จ่าย 3%

 ซึ่งตรงส่วน 3% นี้เหมือนเป็นการจ่ายภาษีล่วงหน้าไปแล้ว แต่ยังไม่สิ้นสุดกระบวนการเสียภาษี เนื่องจากต้องดูว่า เงินได้อยู่ในลำดับขั้นใดของเงินได้สุทธิ หากคำนวณแล้วภาษีที่ต้องจ่าย มากกว่า 3% ที่โดนหัก ณ ที่จ่ายไป ฟรีแลนซ์จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม หรือหากน้อยกว่า ก็สามารถขอคืนภาษีได้ด้วย

ที่สำคัญเมื่อได้เงินจากการทำงานแล้ว อย่าลืมเก็บเอกสาร "ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย" หรือที่เรียกว่า "ใบ 50 ทวิ" ไว้ด้วยทุกครั้ง เนื่องจากต้องนำเอาข้อมูลในเอกสารนี้ไปยื่นภาษี หากฟรีแลนซ์คนไหนที่ไม่ได้ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ก็ควรที่จะทวงถามจากผู้ว่าจ้างทุกครั้ง

  • ความเสี่ยงของฟรีแลนซ์

ไม่ได้บอกว่าคนเป็นฟรีแลนซ์เสี่ยงกว่าคนทำงานประจำ หรือการอยู่ในจุดใดจะดีกว่ากันในระยะยาว แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ว่ายังมีช่องว่างที่คนเป็นฟรีแลนซ์มักมองข้าม เช่น แม้พวกเขาทำเงินได้มากกว่าคนทำงานประจำ แต่ยังขาดสวัสดิการรักษาพยาบาล  (บริษัทส่วนใหญ่มักมีการทำประกันกลุ่ม) ขาดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งบริษัทมักมีนโยบายสมทบตามอายุงาน

 ยิ่งเฉพาะเรื่องของสุขภาพกับอาชีพฟรีแลนซ์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องของการทำงานหนัก พักผ่อนไม่เป็นเวลา จนทำให้ร่างกายโหลดสะสม เมื่อต้องจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลก็ทำให้เงินเก็บแทบหมด พอหายดีก็กลับมาทำงานหนักเพื่อเก็บเงินใหม่ วนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ คนทำงานฟรีแลนซ์จึงต้องดูแลตัวเองแบบคูณสอง ทั้งการซื้อประกันสุขภาพ ประกันชีวิต การวางแผนเก็บเงินไม่ต่างอะไรจากคนทำงานประจำ

แม้รายได้จะมีที่มาแตกต่างกัน แต่คนที่เป็นฟรีแลนซ์ให้ประสบความสำเร็จต้องมีวินัยการใช้เงินที่รอบคอบ เช่น การจัดสรรเงินแต่ละปีสำหรับการลงทุน การซื้อประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หมั่นสร้างการหมุนเวียนในบัญชี (Statement) แบบเดียวกับที่มนุษย์เงินเดือนมียอดเงินเข้าในแต่ละเดือน

  • ประกันของมนุษย์ฟรีแลนซ์

ประกันชีวิตและประกันสุขภาพส่วนใหญ่ มักต้องอาศัยการจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น จ่ายเบี้ยประกันเป็นรายปี หรือรายเดือน ซึ่งเป็นปัญหาของคนทำงานอิสระ ซึ่งรายรับมักมาไม่ค่อยตรง บทจะได้ก็มาเป็นเงินก้อน ขณะที่บางเดือนก็เงียบเชียบ มีแต่รายจ่ายแต่ไร้รายรับ เพราะลูกค้าขอผลัดผ่อนไปก่อน

การจะเลือกทำประกัน การเลือกผลิตภัณฑ์ที่จ่ายเบี้ยประกันเพียงครั้งเดียว จึงเป็นการลดความยุ่งยากได้ไม่น้อย  ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้ามนุษย์ฟรีแลนซ์จะเลือกทำประกัน หรือเน้นการลงทุนที่จ่ายเพียงครั้งเดียว/ปี และแน่นอนว่าควรจะเลือกผลิตภัณฑ์ที่ช่วยคุ้มครองสุขภาพควบคู่ไปกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ทั้งการออมเงิน สิทธิลดหย่อนภาษี และถือเป็นการลงทุนไปพร้อม ๆ กัน

สำหรับกรมธรรม์ที่น่าสนใจ และตอบโจทย์มนุษย์ฟรีแลนซ์ได้ในปัจจัยข้างต้นนี้คือ ประกันชีวิตเมืองไทย สมาร์ท ลิงค์ 10/1 (Global) ที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ในกรมธรรม์เดียว จ่ายครั้งเดียว แต่ได้ทั้งความคุ้มครองชีวิต นานถึง 10 ปี การันตีเบี้ยที่จ่ายไม่สูญหาย  และโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในรูปของเงินปันผล สามารถจ่ายค่าเบี้ยประกันได้และยังได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีตามกฎหมาย

การจ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียวนี้ เริ่มต้นที่ 50,000 บาทเหมาะสำหรับผู้เอาประกันที่มีอาชีพอิสระหรือรายได้ไม่แน่นอน เช่น ขายของออนไลน์ แต่มีเงินก้อน และต้องการที่จะได้รับความคุ้มครอง หรือ ใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีในปีนั้น ๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการจ่ายค่าเบี้ยประกันในปีถัดไป

ทั้งนี้เบี้ยประกันที่จ่ายไว้ไม่สูญหาย ทั้งยังมีโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุน โดยอ้างอิงการลงทุนจากดัชนี Citi Global Multi Asset Index ซึ่งบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญของ Citi ที่มีกลยุทธ์การลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ทั่วโลก ตอบโจทย์และเป็นทางเลือกในยุคอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ จึงเหมาะกับผู้เริ่มต้นลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ไม่สูง และผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามสภาวะตลาดมากนัก

นโยบายการลงทุนของ Citi Global Multi Asset USD VT5 Series 3 Index มีการลดความเสี่ยงในเรื่องของ อัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนได้รับจริง (actual return) ที่อาจคลาดเคลื่อนหรือเบี่ยงเบน ไปจากอัตราผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนคาดหวังว่าจะได้รับ โดยการกระจายลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ และหลายประเทศ เพื่อช่วยลดความผันผวนและเพิ่มโอกาสได้รับตอบแทนจากการลงทุนที่ดีขึ้น (ผลตอบแทนในอดีตเฉลี่ยต่อปี 5.2%)

 

คนทำงานอิสระท่านใดสนใจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่  คลิก