Non-Bank Sector (16 ก.ค.63)

Non-Bank Sector (16 ก.ค.63)

ประมาณการ 2Q63 – การเติบโตสะดุด

Event

ประมาณการ 2Q63F

lmpact

ประมาณการ 2Q63F – กำไรลด QoQ และไม่โตYoY

เราคาดว่ากำไรสุทธิใน 2Q63 ของธุรกิจนอนแบงก์ 3 แห่งที่เราดูแลอยู่จะลดลง 17% QoQ และทรงตัว YoY เพราะถูกฉุดโดยผลประกอบการของ KTC ที่ลดลงอย่างมาก เราใช้สมมติฐานว่ายอดการใช้จ่ายบัตรเครดิตที่ลดลง 25% จะกระทบกับรายได้ค่าธรรมเนียม และภาวะเศรษฐกิจที่แย่ลงมากก็จะทำให้ติดตามหนี้เสียได้น้อยลง และบีบให้ KTC ต้องกำหนดค่าใช้จ่ายสำรองฯ/สินเชื่อ (credit cost) เพิ่มขึ้นในขณะที่เราคาดว่ากำไรของ MTC/SAWAD ก็จะโตในอัตราที่ลดลงเนื่องจาก 1.) สินเชื่อขยายตัวในอัตราที่แผ่วลง 2.) yield ของสินเชื่อ และรายได้ค่าธรรมเนียม (โดยเฉพาะ SAWAD) ลดลงอย่างมาก 3.)และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเพื่อลดการปล่อยกู้อัตราพิเศษสำหรับลูกหนี้เฉพาะราย

คุณภาพสินทรัพย์ – ยังคุม NPL โดยใช้วิธีปรับโครงสร้างสินเชื่ออย่างรวดเร็ว

เนื่องจาก KTC ไม่สามารถตัดหนี้สูญในอัตราเร่ง ดังนั้น NPL ของบริษัทจึงจะพุ่งขึ้นไปเป็นประมาณ 5 พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน NPL ที่ 6.5% (เพิ่มขึ้นจาก 4% ใน 1Q63 และ 1% ใน 2Q62) ถึงแม้ว่า credit cost จะเพิ่มขึ้น แต่ NPL ที่พุ่งขึ้นแรงก็จะฉุดให้สัดส่วน NPL coverage ลดลงเหลือ 154% (จาก 200% ใน 1Q63) ทางด้านของ MTC ก็เร่งปรับโครงสร้างสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง/มีปัญหาซึ่งแสดงสัญญาณของการผิดนัดชำระ และใช้มาตรการให้ความช่วยเหลือ ทำให้บริษัทสามารถคงสถานะลูกหนี้ที่มีปัญหาให้ยังคงอยู่ในสินเชื่อชั้นปกติ (stage 1) และบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองไม่ให้โดดสูงขึ้นได้สำหรับในกรณีของ SAWAD สินเชื่อที่ความเสี่ยงสูง และ yield สูงชะลอตัวลง และ NPL ก็อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทเน้นปล่อยกู้สินเชื่อยอดสูง สินเชื่อ SME ซึ่งมี yield สูง เราจึงคาดว่าสัดส่วน NPL ของ SAWAD น่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 5.4% (จาก 5% ใน 1Q63)

การดำเนินงานในภาวะ new normal หมายถึงอัตรากำไรจะลดลง

เมื่อไม่นานมานี้ ธปท. ได้ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สินเชื่อผู้บริโภคทุกประเภทลง 2-4% รวมถึงสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อจำนำทะเบียน และ Nano Finance ด้วย ซึ่งหลังจากที่เราได้คุยกับผู้ประกอบการนอนแบงก์ ก็พบว่าส่วนใหญ่ใช้ดอกเบี้ยสินเชื่อจำนำทะเบียนอัตราใหม่ที่ 24% แบ
ไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุด นอกจากนี้ ธปท. ยังอยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดอัตราอ้างอิงสำหรับการติดตามหนี้ของสถาบันการเงินทุกประเภท (ธนาคาร นอนแบงก์ และบริษัทลิสซิ่ง) ซึ่งคาดว่าจะทำให้ค่าธรรมเนียมติดตามหนี้ลดลงและกดดันผลการดำเนินงานของกลุ่มนอนแบงก์ ซึ่งในกรณีนี้เรามองว่า SAWAD มีความเสี่ยงมากที่สุด ในขณะที่ KTC และ MTC มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ

ราคาหุ้นไม่ถือว่าถูกจนเกินไป

ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ของทางการเป็นปัจจัยที่กดดันราคาหุ้นกลุ่ม นอนแบงก์ ทั้งสามตัวให้ปรับลดลงมาอย่างแรงในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ P/E ของกำไรเฉลี่ย 2 ปีของ KTC อยู่ที่ 11x ของ MTC อยู่ที่ 20x และของ SAWAD อยู่ที่ 15x ซึ่งยังไม่ถือว่าถูกจนเกินไปเพราะถือว่าอยู่ในช่วงกลาง ๆ ของ P/E ระยะยาวเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากผลประกอบการที่อ่อนแอใน 2Q63F ทำให้เราคาดว่าสถานการณ์น่าจะลากยาวต่อไปใน 3Q63 เนื่องจากyield สินเชื่อที่ลดลง และความเสี่ยงเรื่องการกันสำรอง จากกระแสข่าวลบที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง เราจึงแนะนำให้ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว

Risks

NPL เพิ่มขึ้น ค่าธรรมเนียมในการติดตามหนี้ลดลง ถูกกดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อผู้บริโภคลง