'UNDP-พันธมิตร'ช่วยพนักงานบริการช่วงโควิด

'UNDP-พันธมิตร'ช่วยพนักงานบริการช่วงโควิด

UNDP จับมือองค์กรชุมชน ช่วยเหลือพนักงานบริการ หนึ่งในกลุ่มประชากรเปราะบางท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมมือกับ 4 องค์กรชุมชน  ได้แก่ มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (Empower Foundation) มูลนิธิซิสเตอร์ส (Sisters Foundation) มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ (SWING Thailand Foundation)และสมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย (Rainbow Sky Association of Thailand) มอบสิ่งของจำเป็น เช่น อาหาร น้ำดื่ม และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานบริการกว่า 2,000 คนทั่วประเทศ

“พนักงานบริการ โดยเฉพาะผู้ที่ระบุตนเองว่าเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) เป็นหนึ่งในกลุ่มที่เปราะบางและถูกกีดกัน มากที่สุดในสังคม และยังเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อโควิด-19 อีกด้วย ความร่วมมือกับองค์กรชุมชนเป็นหนึ่งในความพยายามของ UNDP เพื่อให้ความช่วยเหลือพวกเขาให้ฟื้นตัวจากวิกฤตินี้ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ระหว่างที่ประเทศไทยกำลังฟื้นฟูจากสถานการณ์การแพร่ระบาดนี้”   เรอโนด์ เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทยกล่าว

การสำรวจออนไลน์ล่าสุดโดย UNDP และ มูลนิธิเอเชียแปซิฟิค ทรานส์เจนเดอร์เนตเวิร์ค (APTN) ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เผยว่าเกือบครึ่งหนึ่งของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศที่ถูกสำรวจ (ร้อยละ 47) ต้องตกงาน หรือโดนบังคับหยุดงาน โดยไม่ได้รับค่าจ้าง สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ 

 กว่าร้อยละ 51 ของผู้ตอบ แบบสำรวจที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ ระบุว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลในการแก้ไข ปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19 และเพียงร้อยละ 22 ระบุว่าได้รับเงินเยียวยาจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล แบบสำารวจเดียวกันเผยอีกว่าประมาณร้อยละ 14 ระบุว่า ระหว่างอยู่บ้านพวกเขาต้องประสบความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากคนในครอบครัว คน ใกล้ชิด ตลอดจนความรุนแรงทางเพศหรือทางเศรษฐกิจ 

“นี่ป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับผู้ประกอบอาชีพนี ้ พวกเรายินดีที่ ได้ร่วมมือช่วยเหลือในการมอบถุงเยียวยาเพื่อสนับสนุนความต้องการที่เร่งด่วนของพวกเขา”  สุรางค์ จันทร์แย้ม ผู้อำนวยการ มูลนิธิเพื่อนพนักงานบริการ  ให้ความเห็น

ด้านฐิติญานันท์ หนักป้อ ผู้อำนวยการมูลนิธิซิสเตอร์ส เผยว่า พนักงานบริการหลายคนที่เป็นคนข้ามเพศกำลังประสบปัญหาการเข้าถึงฮอร์โมน ซึ่งหากขาดความต่อเนื่องอาจจะมีผลระยะยาวต่อสุขภาพ   พนักงานบริการที่เป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศต้องเจอการเลือกปฏิบัติหลายมิติ และยังเป็นกลุ่มที่ถูกตีตรา เหยื่อของการใช้ความเห็นที่เข้าข่ายการแสดงความเกลียดชัง (hate speech) หรือ ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ 

“การตีตรามีผลทำให้ผู้หญิงข้ามเพศไม่กล้าที่จะเข้ารับบริการในโรงพยาบาลรัฐ เนื่องจากเขาเคยมีประสบการณ์ถูกจัดให้อยู่ในแผนกคนไข้ชาย โดยสถานบริการมิได้คำนึงถึงรสนิยมหรืออัตลักษณ์ทางเพศของพวกเธอ”