‘หน้าฝน’ แล้ว ทำไมหลายพื้นที่ ‘แล้ง' หนัก 4 เขื่อนหลัก เหลือน้ำใช้ 5%

‘หน้าฝน’ แล้ว ทำไมหลายพื้นที่ ‘แล้ง' หนัก 4 เขื่อนหลัก เหลือน้ำใช้ 5%

ตอบประเด็นสงสัยว่า ทำไมเข้าสู่ "ฤดูฝน" แต่บางพื้นที่ยัง "แล้ง" อย่างเช่นในปัจจุบัน ภาพรวมสถานการณ์น้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลัก เหลืออยู่ราว 5% เท่านั้น

นับตั้งแต่ 18 พ.ค. 63 ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศให้ไทยเข้าสู่ "ฤดูฝน" ประจำปี 2563 อย่างเป็นทางการ ซึ่ง นาวาอากาศเอก สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ได้อธิบายว่า ในระยะแรกของการเข้าสู่ฤดูฝน ปริมาณและการกระจายตัวของฝนจะยังไม่สม่ำเสมอ แต่จะมีปริมาณฝนมากขึ้นช่วงปลายเดือนมิถุนายน และจะสิ้นสุดฤดูฝนในช่วงกลางเดือน ..2563

พร้อมทั้งระบุเพิ่มเติมว่า ในช่วงปลายเดือน มิ..2563 ถึงกลาง เดือน ..2563 จะมีปริมาณฝนน้อย ซึ่งอาจส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะเขตนอกชลประทาน ซึ่งขณะนี้ก็สะท้อนภาพแบบที่อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยาได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน

  

159437074459

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  

อย่างเช่นปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมทั้งหมด 447 แห่ง มีปริมาณน้ำรวม 31,997 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ..) หรือราว 42% ของความจุอ่างทั้งหมด ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้อยู่ที่ 8,347 ล้าน ลบ.. หรือเพียง 16% ของความจุน้ำใช้การ

ขณะเดียวกันพบว่าราว 30 แห่งของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% เช่น จุฬาภรณ์ อุบลรัตน์ ลำตะคอง ขุนด่านปราการชล ตลองสีนัด ประแสร์ ฯลฯ

หากเจาะลึกไปที่ 4 เขื่อนใหญ่ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่เปรียบเหมือนเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ ข้อมูล วันที่ 9 ..2563 สถานการณ์น้ำใช้การมีอยู่ราว 5% ขอความจุดน้ำใช้การเท่านั้น หรือ 837 ล้าน ลบ..

นอกจากนี้หลายพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง อย่างเช่น ภาพของ แม่น้ำยม บริเวณจังหวัดพิจิตร ที่ปรากฏภาพของความแห้งขอด เห็นผืนทรายในท้องน้ำ ทั้งที่ปัจจุบันเข้าฤดูฝนแล้ว แต่ปริมาณฝนที่ตกลงมากลับไม่เพียงพอ ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนที่ต้องขาดแคลนน้ำอุปโภคและทำการเกษตรริมสองฝั่งของแม่น้ำยม หรือในพื้นที่จังหวัดยโสธร เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ต้องเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อหาน้ำมาใช้สำหรับทำการเกษตร หลังจากต้องประสบภาวะขาดแคลนหนัก

159437065082

ผลกระทบเหล่านี้สะท้อนว่า แม้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่ปริมาณน้ำฝนกลับไม่แปรผันตาม ขณะเดียวกันกลับทำให้เกิดวิกฤติภัยแล้งขึ้นในหลายพื้นที่ด้วยกรุงเทพธุรกิจออนไลน์จะพาไปไขข้อข้องใจประเด็นนี้กันว่า

..เพราะเหตุใดเข้าสู่ฤดูฝนแต่บางพื้นที่ยังแล้ง”?

ในมุมมองด้านอุตุนิยมวิทยา อธิบาย "ภัยแล้ง" ที่เกิดขึ้นในไทยไว้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง ได้แก่

1.ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องฤดูร้อน หรือราวๆ ครึ่งหลังของเดือน  ..เป็นต้นไป โดยประเทศไทยตอนบน ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีปริมาณฝนลดลงตามลำดับ ซึ่งจะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี

และ 2. ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณปลายเดือน มิ..-.. ซึ่งก็คือช่วงเวลานี้ จะเกิด "ภาวะฝนทิ้งช่วง" ซึ่งหมายถึงช่วงฤดูฝนที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน 15 วัน โดยเดือนที่มีโอกาสฝนทิ้งช่วงสูงสุดคือ มิ..-..

ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะท้องถิ่นหรือบางพื้นที่ แต่บางครั้งอาจครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เนื่องจากเป็นบริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และหากปีใดที่ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนวนี้เลย จะยิ่งทำให้ภัยแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบด้วย ดังนี้

 

159437079031

โดยในปีนี้มีการคาดการณ์ปริมาณฝนในปี 2563 ในแต่ละเดือน และแต่ละภูมิภาคไว้ดังนี้

 

159437668350

อย่างไรก็ตาม หากย้อนกลับไปในอดีต ราวปี 2556 ประเทศไทยก็เคยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงมาแล้ว ข้อมูลสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) ระบุว่า ช่วงเดือน ต.ค.2556-เม.ย.2557 มีกว่า 44 จังหวัดที่ประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) สาเหตุเนื่องมาจากปริมาณฝนสะสมตลอดทั้งปี 2556 แม้จะสูงกว่าค่าเฉลี่ย 14% แต่กลับไปตกบริเวณพื้นที่รับน้ำของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ค่อนข้างน้อย ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างสะสมทั้งปีของทั้งสองเขื่อนน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี

ประกอบกับต้นปี 2557 ฝนยังคงตกน้อยต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนอยู่ในภาวะเสี่ยงขาดแคลนน้ำ รวมถึงเกษตรกรเพาะปลูกพืชเกินจากแผนที่กรมชลประทานวางไว้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เกินจากแผน 119% ปริมาณน้ำที่ระบายจากเขื่อนจึงถูกสูบออกจากลำน้ำเพื่อนำไปใช้ในการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอเพื่อใช้ในการผลักดันน้ำเค็ม ส่งผลให้ปีนั้นผลกระทบที่เกิดขึ้นส่งไปถึงทั้งภาคเกษตรและอุปโภคบริโภค

 

ที่มาwater.rid, bangkokbiznewsbangkokbiznews(2)tmdclimate.tmd