EA

EA

เดินหน้าสู่ธุรกิจที่จะเป็น S-Curve ตัวใหม่ (EV/ESS)

Event

มุมมองของเราจาก company visit

lmpact

รายได้จากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสามในสี่ของรายได้ทั้งหมด

EA เป็นหนึ่งในผู้ผลิตลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยเน้นที่สามกลุ่มธุรกิจหลัก (พลังงานหมุนเวียน ไบโอดีเซล และธุรกิจอื่น ๆ) ทั้งนี้ รายได้จากพลังงานหมุนเวียนคิดเป็น 73% ของรายได้บริษัทในปี 2562 ในขณะที่รายได้จากไบโอดีเซลคิดเป็น 25.4% ของรายได้ปี 2562

มีแผนจะเริ่มผลิต EV ใน 4Q63 ในขณะที่โรงงานผลิตแบตเตอรี่ (1GWh) จะเริ่มผลิตปี 2564

กลยุทธ์ธุรกิจ EV ของบริษัทคือ i) สร้างสำนึกของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของ EV และ ii) เปลี่ยนการขนส่งสาธารณะในประเทศให้หันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (แท็กซี่ รถโดยสาร และเรือข้ามฟาก) โดย EA ได้เปิดตัว MINE SPA1 (MPV) ออกมาแล้ว และตั้งเป้าจะส่งมอบได้ 180 คันเพื่อใช้เป็นรถแท็กซี่ใน 4Q63 และอีก 4,800 คันในปี 2564 ทั้งนี้ บริษัทมีโรงงานผลิตรถยนต์ของตัวเองแล้ว และกำลังจะมีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ด้วย โดยโรงงานผลิตแบตเตอรี่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง และคาดว่าจะเริ่มทำการผลิตได้ในปี 2564

คาดว่าเทคโนโลยี EV ในปัจจุบันมีจุดคุ้มทุนในสิบปี

เราได้วิเคราะห์จุดคุ้มทุนของ EV รุ่น MG ZS และ MG ZS EV อย่างละเอียด และพบว่าต้องใช้งานประมาณ 10 ปี 3 เดือน (205,600 กม.) จึงจะถึงจุดคุ้มทุน ภายใต้สมมติฐานการบริโภคน้ำมันที่ 12 กม./ลิตร และราคาขายปลีก Gasohol 95 ที่ 26 บาท/ลิตรสำหรับ MG ZS และระยะเวลาชาร์จไฟ 6.5 ชั่วโมง
สำหรับ ZS EV โดยที่อัตรา TOU ของ กฟน./กฟภ. ในช่วง off peak อยู่ที่ 2.6369 บาท/kWh แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วน่าจะทำให้ถึงจุดคุ้มทุนได้เร็วขึ้น ในขณะเดียวกัน การใช้งานรถแท็กซีค่อนข้างสูง(400-500 กม. ต่อวัน) จะทำให้จุดคุ้มทุนของ EV เร็วขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ รัฐบาลตั้งเป้าจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของ ASEAN ให้ได้ภายในห้าปี

เรือไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้า และระบบจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าจะช่วยหนุนอุปสงค์แบตเตอรี่

EA มีแผนจะเปิดบริการเรือไฟฟ้าในเดือนสิงหาคม 2563 (20 ลำ) โดยคาดว่าการลงทุนโครงการนี้ (1.3 พันล้านบาท) จะมีระยะเวลาคืนทุน 4-5 ปี นอกจากนี้ บริษัทยังได้เข้าซื้อหุ้น 40% ใน NEX Point (NEX.BK/NEX TB) ด้วย เรามองบวกกับการลงทุนดังกล่าวเพราะ NEX มีความเชี่ยวชาญในการประกอบและจัดจำหน่ายรถโดยสาร และยังมีโอกาสเติบโตอีกจาก Beli Services ซึ่งให้บริการซ่อมบำรุงรถเมล์ NGV 500 คัน นอกจากนี้ NEX ยังมีโอกาสเข้าร่วมประมูลโครงการรถเมล์ ขสมก. (รถเมล์ไฟฟ้า 2,511 คัน) ในขณะที่โรงงานแบตเตอรี่ Amita Thailand ก็มีโอกาสได้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถเมล์ไฟฟ้า ส่วนธุรกิจระบบจัดเก็บไฟฟ้า (energy storage system หรือ ESS) ก็มีโอกาสเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของ microgrid solutions ในประเทศไทย และกลุ่มประเทศ CLM(กัมพูชา, ลาว และพม่า) เราคาดว่าอุปสงค์จาก EV รถโดยสารไฟฟ้า และเรือไฟฟ้า จะคิดเป็นประมาณ 30-50% ของอัตราการใช้งานเฟส
แรกของกำลังการผลิตแบตเตอรี่เฟสแรก

Valuation & action

เราเชื่อว่าราคาหุ้นในปัจจุบันได้สะท้อนมูลค่าของโรงงานผลิตแบตเตอรี่ (5-6GWh) ไปบางส่วนแล้ว ซึ่งก็สอดคล้องกับมุมมองของผู้บริหารว่าบริษัทสามารถจะขยายกำลกังการผลิตจาก 1GWh เป็น 5GWh ได้ภายในห้าปีข้างหน้า แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าอุตสาหกรรม EV ของไทยพัฒนาได้เร็วเกินคาดก็จะทำ
ให้อุปสงค์ของแบตเตอรี่มีโอกาสเติบโตได้อีกอย่างมาก

Risks

การนำเข้า EV และแบตเตอรรี่จากประเทศจีน,solar adder หมดอายุลงในปี 2565-2569