'5L' กลยุทธ์ปรับองค์กร รับยุค New Normal

ส่องโมเดล "5L" กลยุทธ์การปรับองค์กรในยุค New Normal จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ พร้อมท้าชนโควิด-19
แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะทำให้วางใจอันร้อนรุ่มลงได้บ้าง แต่ก็ไม่มีอะไรมายืนยันได้เลยว่าตัวเลขด้านเศรษฐกิจจะดีขึ้น สภาพเศรษฐกิจของประเทศไทยคงต้องใช้เวลาในการเยียวยาผ่าตัดกันอีกสักพักใหญ่ กว่าจะกลับมาอยู่ที่ระดับเดิมได้
เพราะผลกระทบจากปรากฏการณ์ New Normal ทั้งหลายแหล่ ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างปฏิเสธไม่ได้ วิธีการในการปรับตัวจึงกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในตอนนี้ เพราะต่อให้คิดจะปรับตัว แต่ถ้า “ปรับผิดวิธี” ก็คงเท่านั้น หรืออาจจะยิ่งฉุดรั้งให้ธุรกิจโดนโควิด-19 กลืนกินเร็วขึ้นไปอีก
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงออก "โมเดล 5L" ซึ่งเป็น "กลยุทธ์การปรับองค์กรในยุค New Normal" นี้ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ พร้อมท้าชนโควิดให้พ่ายแพ้ไปในการต่อสู้ครั้งนี้
ประการที่หนึ่ง คือ Lean ทุกส่วนงานต้องมีฟังก์ชั่นการทำงานชัดเจนและมีประสิทธิภาพ ส่วนไหนไม่จำเป็นอีกต่อไปในสถานการณ์โควิด-19 ก็ต้องตัดทิ้งไปเสียให้หมด เสมือนกับการตัดไขมันส่วนเกินที่คอยแต่จะถ่วงให้องค์กรอ่อนแอ หายใจลำบาก และวิ่งต่อไปข้างหน้าได้ช้าลง
จะเห็นได้ว่าหลายองค์กรมีการลดพนักงานในส่วนที่ไม่จำเป็นออก ในมุมของพนักงานเองก็ต้องหมั่นสำรวจว่าตนเองเป็นเพียง Fat ที่รอวันโดนเฉือนทิ้ง หรือกล้ามเนื้อที่องค์กรต้องการมาช่วยเติมพลังขับเคลื่อนองค์กรกันแน่
พลัง L ประการที่สอง ได้แก่ Learn ผู้นำต้องสามารถเรียนรู้จากสภาวะรอบตัวและปรับกลยุทธ์จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ได้ โดยเฉพาะการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆเข้ามาปรับใช้ ทั้งที่เกิดขึ้นในโลกออฟไลน์และออนไลน์ เพราะการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการเรียนรู้แบบ Lifeline Learning ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้รอดพ้นสถานการณ์ในครั้งนี้ไปได้
นอกจากนี้ ธุรกิจยังต้องมี Linkage เพราะในโลกธุรกิจไม่มีใครสามารถจะอยู่รอดหรือเติบโตได้เพียงคนเดียว ผู้นำที่ดีจึงต้องมีความสามารถในการสร้าง Connection ที่แข็งแรงทั้งในแนว Horizontal ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ในแนวราบระหว่างองค์กรระดับเดียวกัน
ซึ่งเรื่องพวกนี้ธุรกิจขนาดเล็กเองก็สามารถทำได้ เช่น การร่วมมือระหว่างร้านอาหารตามสั่งในซอยกับวินมอเตอร์ไซด์ในละแวกนั้น เพื่อรับออเดอร์เดลิเวอรี่จากคนในซอย เป็นต้น รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ในแนว Vertical ที่เป็นการผนึกกำลังตลอดห่วงโซ่ Supply Chain ตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ หากองค์กรสร้าง Linkage ได้ดีทั้ง 2 รูปแบบ ก็จะสามารถดึงศักยภาพจากพันธมิตรแต่ละรายมาใช้เพิ่มโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆให้กับองค์กรของตนต่อไปได้
ประการถัดมา คือ Liquidity หรือการรักษาสภาพคล่องให้กับธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียนและกระแสเงินสดให้เพียงพอต่อการดำเนินงาน การลงทุนที่ใช้เม็ดเงินมหาศาลจำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น เพราะเงินสดในมือกลายเป็นสิ่งที่มีค่าชี้เป็นชี้ตายธุรกิจได้ “พูดง่ายๆก็คือ ณ เวลานี้ Cash is King”
ส่วน L ตัวสุดท้ายที่อยากให้ทุกธุรกิจให้ความสำคัญ คือ Long Term การตัดสินใจอะไรในช่วงเวลานี้ต้องคิดเผื่ออนาคตด้วย อย่าตัดสินใจอะไรผลีผลาม องค์กรควรมีการวางแผนระยะยาว มองข้ามช็อตออกไปให้ได้หลาย ๆScenario ทั้งในกรณีที่สถานการณ์ออกมาดีและไม่ดี ว่าจะมีแผนงานอย่างไรต่อ
เพราะฉะนั้น อยากให้องค์กรหยิบแนวคิด 5L ดังกล่าวข้างต้นไปใช้ในการปรับตัว เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ให้ได้มากที่สุด อย่ารอให้สูญเสียไปมากกว่านี้แล้วจึงจะตระหนักได้ว่าควรปรับเสียแต่แรกก็คงดี
หากถึงจุดนั้น 5L ก็คงช่วยอะไรไม่ได้แล้ว จะมีแต่เพียง Loss Loss และก็ Loss ตัวสีแดงๆ ให้เห็นอย่างเดียวเท่านั้น
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
‘เราชนะ’ ลุ้นวันนี้! เงื่อนไขสำคัญ ลงทะเบียน www.เราชนะ.com รับเงินเยียวยาโควิดรอบใหม่
ครม.อนุมัติ 'เราชนะ' จ่ายเยียวยา 3,500 บาท ลงทะเบียน 29 ม.ค.นี้
'เราชนะ' รับเงินเยียวยา 3,500 บาท 2 เดือน กดเป็นเงินสดไม่ได้!
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'เราชนะ' สรุปใครได้ 3,500 บาท 2 เดือนบ้าง? ลงทะเบียนอย่างไร เช็คที่นี่!