"Bank" Sector (3 ก.ค.63)

"Bank" Sector (3 ก.ค.63)

ประมาณการ 2Q63: ตั้งสำรองเพิ่มเตรียมรองรับหนี้เสีย

Event

ประมาณการ 2Q63F

Impact

คุณภาพสินทรัพย์ – เตรียมส่วนรองรับหนี้เสียสำหรับ NPL หลังจบโครงการช่วยเหลือ

การผ่อนคลายการตั้งสำรอง และโครงการบรรเทาผลกระทบของลูกหนี้ทำให้ปัญหาคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารยืดไปจนถึงสิ้นปี ทั้งนี้ เนื่องจากมีจำนวนลูกหนี้ที่ยื่นขอเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก เราจึงคิดว่าธนาคารส่วนใหญ่จะเตรียมสำรองพิเศษเพื่อรองรับความเสี่ยง NPL หลังจากที่โครงการบรรเทาผลกระทบลูกหนี้สิ้นสุดลง เราคาดว่าธนาคารที่มีการปล่อยกู้สินเชื่อ SME สูงอย่างเช่น KBANK และTMB จะกำหนดตั้งสำรองฯ (credit cost) เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าKBANK จะอยู่ที่ประมาณ 250bps (จากเป้าทั้งปีของธนาคารที่ 150bps) และ TMB ที่ 160bps (จากเป้าทั้งปีของธนาคารที่ 120-130bps) เราคาดว่าของ KTB จะอยู่ที่ 170bps รวมสำรองพิเศษสำหรับหนี้การบินไทย ในขณะที่คาดว่าของ SCB/BBL จะอยู่ที่ 180bps/120bps ทั้งนี้ เราคาดว่ามีแค่ TISCO เท่านั้นที่จะกำหนด credit cost ลดลงเนื่องจากมีการตั้งสำรองก้อนใหญ่เพื่อรองรับหนี้เสียเอาไว้แล้วตั้งแต่ใน 1Q63

สินเชื่อเติบโตอย่างแข็งแกร่งในขณะที่ margin ทรงตัว

สินเชื่อของธนาคารใหญ่ส่วนใหญ่เติบโตอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากตลาดพันธบัตรผันผวน ส่งผลให้บริษัทเอกชนหลายแห่งไม่สามารถรีไฟแนนซ์ หุ้นกู้ด้วยต้นทุนที่ถูกลงได้ ดังนั้นความต้องการสินเชื่อเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของภาคธุรกิจจึงเพิ่มขึ้น โดยธนาคารที่เป็นผู้นำในสินเชื่อธุรกิจได้แก่ KBANK และ BBL นอกจากนี้ สินเชื่อพิเศษที่ปล่อยให้หน่วยงานภาครัฐเพิ่มขึ้นก็หนุนให้สินเชื่อของ KTB โตได้ถึงสองหลัก แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก SCB ได้รับชำระหนี้เงินกู้เพิ่มขึ้นจึงทำให้ยอดสินเชื่อทรงตัว ในขณะเดียวกัน สินเชื่อผู้บริโภคที่หดตัวลงก็กดดันยอดสินเชื่อของธนาคารขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม เราคิดว่าการลดดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ และการปรับลด DPA น่าจะช่วยให้ธนาคารส่วนใหญ่ยังคงรักษาระดับมาร์จิ้นเอาไว้เท่าเดิม QoQ ได้

คาดว่ากำไรใน 2Q63F จะลดลง 14%QoQ และ 25% YoY

เราใช้สมมติฐานว่าสินเชื่อธุรกิจเร่งตัวขึ้น ในขณะที่ NIM ทรงตัว QoQ รายได้จากค่าธรรมเนียมลดลงประมาณ 5% QoQ และ 10% YoY ส่วน NPLs เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่า ในขณะที่ credit cost เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเราคาดว่า BBL และ KBANK จะพลิกจากที่มีผลขาดทุนจากการลงทุน ในขณะเดียวกัน
credit cost จะกดดันให้กำไรของ KBANK ลดลงถึง 46% YoY และที่สินเชื่อที่ปล่อยให้ Thai Airway ก็จะกดดันกำไรของ KTB ให้ลดลงถึง 41% แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่ากำไรของ TISCO ยังมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ดี และคาดว่า credit cost จะลดลงเนื่องจากมีการตั้งสำรองพิเศษเพื่อรองรับหนี้เสียเอาไว้แล้วใน 1Q63 และก็ไม่ได้มีสินเชื่อ H/P ที่ผิดนัดชำระหนี้มากนัก ทั้งนี้ เนื่องจากราคาหุ้นย่อลงมาแล้ว เราจึงปรับเพิ่มคำแนะนำหุ้น TISCO จากถือเป็นซื้อ และคงราคาเป้ าหมายเอาไว้เท่าเดิม