ถอดบทเรียน 'สตาร์ทอัพโลก' เผย ‘ทางรอด’ ท่ามกลางวิกฤติ

ถอดบทเรียน 'สตาร์ทอัพโลก' เผย ‘ทางรอด’ ท่ามกลางวิกฤติ

ยิ่งปรับตัวได้เร็วเท่าใด โอกาสรอดของธุรกิจก็มากขึ้นเท่านั้น

ทุน-พฤติกรรมผู้บริโภค ปัจจัยท้าทาย

นายยัง กล่าวด้วยว่า นอกจากความท้าทายด้านซัพพลายเชนแล้ว ความท้าทายทางการเงิน และพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งหลายที่เปลี่ยนไปจากการเรียนรู้มากขึ้นในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทำให้ความไม่แน่นอนกลายเป็นความปกติใหม่ สตาร์ทอัพจำเป็นต้องประเมินระบบนิเวศอย่างเร่งด่วนทุกด้านทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงกลยุทธ์ go to market และต้องหาพันธมิตรที่ไว้วางใจได้และมีแนวคิดในทางเดียวกัน เพื่อให้การทำงานมีความคล่องตัว สามารถปรับให้เข้ากับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

แม้สตาร์ทอัพ จะมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อยู่แล้ว แต่การปรับสมดุลการใช้เทคโนโลยี จะช่วยให้สร้างงานได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ซึ่งก็คือการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้ เช่น การใช้คลาวด์ และระบบอัตโนมัติมากขึ้น 

นอกจากนี้ความสามารถในการระบุแหล่งรายได้หลัก และการสร้างความยืดหยุ่นเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงต้องปรับการทำงานและการให้บริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและตอบสนองได้แบบเรียลไทม์การใช้เทคโนโลยี จะช่วยให้สร้างงานได้มากขึ้นโดยใช้ทรัพยากรน้อยลง ซึ่งก็คือการเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายลงให้ได้ เช่น การใช้คลาวด์ และระบบอัตโนมัติมากขึ้น นอกจากนี้ความสามารถในการระบุแหล่งรายได้หลัก และการสร้างความยืดหยุ่นเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงต้องปรับการทำงานและการให้บริการให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าและตอบสนองได้แบบเรียลไทม์

“สำหรับสตาร์ทอัพหลายราย วิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอาจเป็นภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งแรกที่พวกเขาต้องเผชิญ แต่สำหรับนูทานิคซ์ ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพมาก่อน และก่อตั้งขึ้นท่ามกลางผลกระทบจากวิกฤตทางการเงินทั่วโลก ทำให้เราได้เรียนรู้ตั้งแต่นั้นว่ากระแสเงินสดมีความสำคัญมาก และเราเชื่อว่าสตาร์ทอัพทั้งหลายจำเป็นต้องเข้มงวดจริงจังในเรื่องกระแสเงินสด และภารกิจที่จะต้องดำรงสถานะของบริษัทให้อยู่รอดได้ในระยะสั้น และกลายเป็นผู้นำในระยะยาว” 

ขณะที่ เขาเห็นว่า การมีเครือข่ายผู้รอบรู้ที่เคยผ่านประสบการณ์ลักษณะนี้มาก่อนคอยให้คำแนะนำจะช่วยสร้างความมั่นใจในการดำเนินงานได้

“ในที่สุด เราจะเห็นบริษัทสตาร์ทอัพทั้งหลายปรับตัวใหม่อีกครั้ง และยิ่งปรับตัวได้เร็วเท่าใด โอกาสรอดของธุรกิจก็มากขึ้นเท่านั้น สตาร์ทอัพที่ก้าวผ่านความยากลำบากเหล่านี้ไปได้จะแข็งแกร่งขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น พร้อมที่จะปรับตัวและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการของตน เพื่อต่อสู้กับอุปสรรคสำคัญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหมือนกับที่นูทานิคซ์ได้ทำเช่นนั้นมาแล้ว” นายยัง ทิ้งท้าย