'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' เจาะลึก ‘บัตรคนจน’ มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ในรัฐบาลประยุทธ์

'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' เจาะลึก ‘บัตรคนจน’ มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ในรัฐบาลประยุทธ์

เปิดเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ" หรือ “บัตรคนจน” มาตรการช่วยเหลือผู้รายได้น้อยในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

ในยุคของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เกิดมาตรการและโครงการต่างๆ มากมาย เพื่อช่วยเหลือและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น หนึ่งในมาตรการที่หลายคนรู้จัก คือ "สวัสดิการแห่งรัฐ" ที่เปิดให้ผู้มีรายได้น้อยลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

ชัดแล้ว! เงินเยียวยา 3,000 บาท "ผู้ถือบัตรคนจน-กลุ่มเปราะบาง" ได้เงินวันไหน?

'เยียวยาเกษตรกร' เช็คสถานะ 'ธ.ก.ส.' เตรียมโอนเงินกลุ่มที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์อีก 1.36 แสนราย!

เช็คที่นี่! ‘บัตรคนจน’ กรกฎาคม 2563 'บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ' ได้สิทธิอะไรบ้าง?

สรุปทุกมาตรการ! 'เยียวยา' ได้ 'เงิน' ห้าพัน 3 หรือ 6 เดือน ลงทะเบียนรอบ 2 ได้จริงไหม 

    

  • ย้อนรอย ต้นกำเนิด "บัตรคนจน" 

ซึ่งมาตรการสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นโครงการย่อยของโครงการ National e-Payment เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับการจัดสวัสดิการต่างๆ ของหนวยงานภาครัฐให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ เริ่มตั้งแต่ปี 2560 เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้มีรายได้น้อย ที่มีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด ได้แก่ 

  • สัญชาติไทย

  • อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือต้องเกิดก่อนวันที่ 15 พฤษภาคม 2542

  • ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี 

  • ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน สลาก ธ.ก.ส. พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือถ้ามีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งหมดไม่เกิน 100,000 บาท 

  • ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด เช่น

    - ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน)
    1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว ถ้าเป็นบ้านหรือทาวน์เฮาส์ ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา หากเป็นห้องชุด ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางวา
    2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัย และใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีเนื้อที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีเนื้อที่ไม่เกิน 1 ไร่ 

    - ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย 
    1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ 
    2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ 

ซึ่งในช่วงแรกของโครงการนี้ เปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวสามารถลงทะเบียนได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย คลังจังหวัดทั่วประเทศ และกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 3 เมษายน-15 พฤษภาคม 2559 หลังจากที่นั้นกระทรวงการคลังได้รวบรวมข้อมูล พบว่ามีผู้มาลงทะเบียนกว่า 14.17 ล้านคน แต่เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติ ปรากฏว่ามีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์ 2.7 เหลือจำนวนผู้ที่ผ่านเกณฑ์ 11.47 ล้านคน 

โดยเริ่มแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2560 โดยให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติ นำบัตรประชาชนและหลักฐานการลงทะเบียนไปติดต่อรับบัตรคนจนกับหน่วยรับลงทะเบียนที่ได้ลงทะเบียนไว้ 

  • ทำความรู้จัก "บัตรคนจน" ประชารัฐสวัสดิการ

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน เป็นบัตรพลาสติกที่มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลเทียบเท่ากับระบบสากล มีอายุการใช้งาน 5 ปี นับจากเดือนและปีที่ผลิต หรือ 30 กันยายน 2565 ซึ่งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวของบุคคลที่ระบุหน้าบัตรเท่านั้น เว้นแต่ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถเกินทางได้ ดังนั้นผู้ดูแลจึงสามารถเป็นผู้ใช้สิทธิแทนได้ 

ทั้งนี้หากมีการตรวจพบว่าผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ให้บัตรนี้กับผู้อื่นนำบัตรไปใช้ เจ้าของบัตรจะถูกตัดสิทธิในบัตร และผู้ที่นำบัตรผู้อื่นไปใช้จะมีความผิด ซึ่งจะต้องชดใช้เงินคืนแก่ทางราชการด้วย 

โดยบัตรคนจนแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1.บัตร Hybrid 2 ชิป 

บัตรนี้เป็นทั้ง Contact Chip และ Contactless Chip ซึ่งแถบแม่เหล็ก Contactless Chip จะเป็นไปตามมาตรฐานกลางระบบตั๋วร่วม หรือบัตรแมงมุม ซึ่งจะใช้สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนในพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร 

ซึ่งข้อมูลบนบัตรทั้งหน้าและหลังจะบ่งบอกรายละเอียด 11 รายะละเอียดสำคัญๆ ได้แก่ สัญลักษณ์กระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง ธนาคารกรุงไทย และขื่อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงมีรูปถ่าย ชื่อ-นามสกุลของเจ้าของบัตร หมายเลขบัตร 16 หลัก เดือนและปีที่บัตรหมดอายุ สัญลักษณ์ Prompt Card ขณะที่ด้านหลังบัตรจะมีหมายเลข CVN ตามมาตรฐานบัตร Prompt Card คำเตือน สัญลักษณ์และหมายเลขบัตรแมงมุม และหมายเลขติดต่อคอลเซ็นเตอร์ KTB 

159341893529

2.บัตร EMV 

บัตรนี้เป็น Contact Chip และแถบแม่เหล็ก ใช้สำหรับผู้มีสิทธิที่ลงทะเบียนนอกพื้นที่ กทม. นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ นครปฐม และสมุทรสาคร ซึ่งบัตรนี้จะไม่มีสัญลักษณ์แมงมุม 

159341936660

ทั้งนี้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือบัตรคนจน จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการชำระค่าสินค้าและบริการทั้งในภาคการขนส่งและนอกภาคการขนส่ง นอกจากนี้บัตรยังมีคุณสมบัติเป็นกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ซึ่งสามารถเติมเงินลงในบัตรได้ และสามารถถอนเงินในส่วนที่เติมนี้เป็นเงินสดที่ตู้ ATM หรือสาขาธนาคารได้ด้วย 

ทั้งนี้หากผู้ถือบัตร ทำบัตรสูญหายหรือชำรุด สามารถดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรใหม่ได้ที่สาขาของธนาคารกรุงไทย โดยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ได้แก่ บัตร EMV จะสามารถออกบัตรใหม่ได้ภายใน 15 วันทำการรับจากวันที่ได้รับแจ้ง มีค่าใช้จ่าย 50 วัน ส่วนบัตร Hybrid 2 ชิป หรือบัตรแมงมุม สามารถออกบัตรใหม่ได้ภายใน 30 วันทำการนับจากวันที่ได้รับแจ้ง มีค่าใช้จ่าย 100 บาท

  • อัพเดทวงเงิน "สวัสดิการแห่งรัฐ" รอบเดือน

ทั้งนี้ในแต่ละเดือนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะมีวงเงินที่รัฐโอนเข้าเพื่อใช้ชำระค่าสินค้าและบริการผ่านเครื่องรับชำระอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือร้านค้าที่กำหนด ทั้งนี้วงเงินคงเหลือของเดือนที่ผ่านมาจะไม่มีการสะสมให้ในเดือนถัดไป และไม่สามารถถอนวงเงินสวัสดิการออกจากบัตรเป็นเงินสดได้ โดยมีรายละเอียดวงเงินดังนี้

1.วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อเกษตรกรรมจากร้านธงฟ้าประชารัฐ และร้านอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด โดย 1 คน จะได้ 1 สิทธิต่อบัตร สามารถใช้ซื้อสินค้าไม่จำกัดจำนวนภายในวงเงินที่กำหนด แต่หากซื้อสินค้ามากกว่าวงเงินที่ได้รับ ผู้มีสิทธิต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง แยกเป็น

- ผู้มีสิทธิที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 200 บาทต่อคนต่อเดือน 

- ผู้มีสิทธิที่มีรายได้ไม่เกินกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้วงเงินค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 300 บาทต่อคนต่อเดือน

2.วงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าที่กระทรวงพลังงานกำหนด เป็นจำนวนเงิน 45 บาทต่อ 3 เดือน ซึ่งหากค่าก๊าซหุงต้มส่วนเกิน ผู้มีสิทธิต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง 

3.วงเงินค่าโดยสารรถ ขสมก. และรถไฟฟ้า วงเงินจำนวนนี้สามารถใช้ชำระค่าโดยสารรถ ขสมก. ผ่านระบบ e-Ticket และรถไฟฟ้า วงเงิน 500 บาทต่อเดือน โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในการใช้สิทธิ ซึ่งหากใช้วงเงินนี้ไม่หมดในรอบเดือน จะไม่มีการสะสมให้ในเดือนถัดไป เมื่อถึงรอบตามที่กำหนด หรือวันที่ 1 ของทุกเดือน วงเงินจะถูกปรับเป็นค่าเริ่มต้นเสมอ

4.วงเงินค่าโดยสารรถ บขส. วงเงิน 500 บาทต่อเดือนจะเข้าทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งจะไม่มีการสะสมให้ในเดือนถัดไป 

5.วงเงินค่าโดยสารรถไฟ ผู้มีสิทธิจะได้รับทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน วงเงิน 500 บาท โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ซึ่งจะไม่มีการสะสมให้ในเดือนถัดไป 

อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังได้เปิกให้ตรวจสอบสิทธิได้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 

  • ตรวจสอบด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ www.epayment.go.th, www.mof.go.th และ www.fpo.go.th 

  • ตรวจสอบผ่านสายด่วน 6 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เบอร์ 1359, ธ.ก.ส. เบอร์ 0-2555-0555, ธนาคารออมสิน เบอร์ 1115, ธนาคารกรุงไทย เบอร์ 0-2111-1111, กรมบัญชีกลาง เบอร์ 0-2270-6400 และเบอร์โทรของสำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขต 

  • ตรวจสอบที่ทำการกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และสำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร 

ที่มา : oicfpo,