หลากหลายปัจจัยลบ

หลากหลายปัจจัยลบ

ราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงแรงกว่า 5% และความกังวล Demand ที่ลดลงหากเกิดการแพร่ระบาด Covid-19 รอบสอง

ตลาดหุ้นวานนี้

SET Index ร่วงแรง 23 จุด (-1.70%) ปิดที่ 1,333 จุด มูลค่าการซื้อขาย 6.0 หมื่นล้านบาท จากปัจจัยกดดันทั้งในและต่างประเทศ คือกังวลเศรษฐกิจไทยชะลอตัวแรงหลังแบงก์ชาติลดคาดการณ์ GDP ของไทยปีนี้เป็น -8.1% , กังวลภาวะ Second wave ในสหรัฐ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่เพิ่มขึ้น และความกังวล IMF ลดคาดการณ์ World GDP เป็นติดลบมากขึ้น ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 3,589 ล้านบาท  และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 432 ล้านบาท แต่ Net Long TFEX SET50  9,004 สัญญา 

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นลบคาด SET ปรับตัวลงทดสอบ 1,310 – 1,320 จุด จากหลากหลายปัจจัยลบ ได้แก่  ความกังวลการระบาดรอบสองของไวรัส Covid-19 หลังยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐพุ่งขึ้นต่อเนื่องโดยล่าสุดเพิ่มขึ้นอีก 3.9 หมื่นรายซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจทำให้สหรัฐต้องประกาศ Lockdown อีกครั้งซึ่งจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบเศรษฐกิจในประเทศ  , IMF ปรับลดคาดการณ์ GDP จาก -3% เป็น -4.9% , สหรัฐอาจพิจารณาเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากอังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปน และเยอรมนี มูลค่าประมาณ 3.1 พันล้านดอลลาร์ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงแรงกว่า 5% จากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐเพิ่มขึ้น 1.4 ล้านบาร์เรลและความกังวล Demand ที่ลดลงหากเกิดการแพร่ระบาด Covid-19 รอบสอง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่ม Defensive ในช่วงตลาดผันผวน (INTUCH, TTW, DIF)
  • หุ้นที่เข้าคำนวณ SET 50 / 100 รอบใหม่ BPP, TTW, ACE, BFIT, DOHOME, RBF, SIRI, SISB, SPCG, TVO,  WHAUP

หุ้นแนะนำวันนี้

  • INTUCH (55.50 ซื้อ/เป้า 74) INTUCH เป็นหุ้น Defensive เหมาะสำหรับพักเงินในยามตลาดผันผวน ด้านผลประกอบการได้รับผลกระทบจาก Trade war และ Covid-19 จำกัด ทำให้ INTUCH ยังสามารถจ่ายปันผลได้เต็มที่ โดยปีนี้คาด INTUCH จะจ่ายปันผลประมาณ 2.48 บาทต่อหุ้นให้ Dividend yield ประมาณ 4.4%
  • BCH (ปิด 14.8 ซื้อ /เป้า IAA Consensus 17.50) จำนวนผู้เข้าใช้บริการเริ่มฟื้นตัว ผลประกอบการผันผวนน้อยกว่าหากเทียบกับ BDMS และ BH เนื่องจากมีสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มลูกค้าประกันสังคม (SSO) ประมาณ 33% ของรายได้รวม เสมือนเป็น Recurring income ของธุรกิจเพราะรายได้คิดตามจำนวนผู้ประกันตนและรายได้ และมีสัดส่วนลูกค้าจากต่างชาติเพียง 10-12% ของรายได้รวมจึงได้รับผลกระทบจาก Covid-19 น้อยกว่าเมื่อเทียบกับ BDMS และ BH เช่นกัน

บทวิเคราะห์วันนี้

ADVANC (ปิด 188 ซื้อ/เป้าใหม่ 230), BPP (ปิด 16.7 ถือ/เป้า 16.6), DTAC (ปิด 40.75 ซื้อ/เป้า 64)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) กังวล Covid-19 ระบาดรอบสอง, IMF ลดคาดการณ์ World GDP และ ข่าวสหรัฐเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากยุโรป เป็น 3 ปัจจัยลบกดดันตลาดหุ้นของฝั่งตะวันตก : เมื่อคืนที่ผ่านมาดัชนีดาวโจนส์ร่วงแรงกว่า 700 จุด (-2.7%) ขณะที่ตลาดหุ้นของกลุ่มประเทศยุโรปลดลงเฉลี่ย 2-3% โดยมี 3 ปัจจัยลบกดดันการลงทุนคือ 1) นักลงทุนยังกังวลไวรัส Covid-19 ระบาดรอบสอง โดยเฉพาะในสหรัฐซึ่งมีจำนวนผู้ติดเชื้อ Covid-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สร้างความกังวลให้กับนักลงทุนว่าสหรัฐอาจจะต้องกลับมาปิดเศรษฐกิจเป็นรอบที่ 2 เพื่อควบคุมการระบาด, 2) เศรษฐกิจโลกยังมีความเสี่ยง โดย IMF ออกมาลดคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีนี้เป็น -4.9% จากเดิมคาด -3% และยังกังวลว่าทั่วโลกจะเผชิญกับภาวะหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น และ 3) กังวล Trade war สหรัฐและยุโรปกลับมาปะทุหลังจากสหรัฐเตรียมปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจาก 4 ประเทศในยุโรป อาทิ ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน และ เยอรมนีมูลค่า 3.1 พันล้านเหรียญ
  • (-) แบงก์ชาติคงดอกเบี้ยที่ระดับ 0.5% ตามคาด แต่ลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้เป็น -8.1% จากเดิม -5.3%: กนง.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.5% ตามเดิม อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติมีมุมมองเป็นลบกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปีนี้โดยปรับลดคาดการณ์ GDP ในปีนี้เป็น -8.1% จากเดิม -5.3% เป็นผลจากการระบาดของไวรัส Covid-19 กดดันให้การบริโภค และการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว ขณะที่การส่งออกและการท่องเที่ยวทรุดหนัก โดยแบงก์ชาติลดคาดการณ์การบริโภคภาคเอกชนเป็น -3.6% เดิม -1.5%, การลงทุนภาคเอกชนเป็น -13% เดิม -4.3%, การส่งออก -10.3% เดิม -8.8% และลดคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลงเป็น 8 ล้านคน จากเดิมคาดไว้ที่ 15 ล้านคน
  • (-) ยอดส่งออกไทยเดือน พ.ค.พลิกเป็นหดตัว 22.5% หดตัวมากที่สุดในรอบ 10 ปี: กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขยอดส่งออกของไทยเดือน พ.ค.มีมูลค่าการส่งออก 16,278 ล้านเหรียญ หดตัว 22.5%yoy มากกว่าที่ Consensus คาดว่าจะหดตัวเพียง 5-7% นับเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบกว่า 130 เดือน หรือในรอบกว่า 10 ปี เป็นผลจากการออกมาตรการ lockdown ของประเทศต่างๆทั่วโลกจากการป้องกันการระบาดของไวรัส Covid-19 ทำให้กิจกรรมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศหยุดชะงัก ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดการส่งออกของไทยจะยังหดตัว จากเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ยังไม่ดี และมีแรงกดดันจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ล่าสุด ธปท.ปรับลดคาดการณ์การส่งออกของไทยปีนี้เป็น -10.3% จากเดิม -8.1% (5 เดือนแรก -3.7%)