'เทวัญ' ตั้งกรรมการ 10 คน สอบ 'อสมท' แบ่งครึ่งชดเชยคลื่น 2600 MHz

'เทวัญ' ตั้งกรรมการ 10 คน สอบ 'อสมท' แบ่งครึ่งชดเชยคลื่น 2600 MHz

"เทวัญ" เซ็นคำสั่งตั้งกรรมการ 10 คน สอบปม "อสมท" แจ้งยืนยันเยียวยาค่า "คลื่น 2600 MHz" ให้เอกชนครึ่งหนึ่ง ถือเป็นการรักษาผลประโยชน์หรือทำให้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่ ขีดเส้นแล้วเสร็จใน 20 วัน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เซ็นคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการแจ้งยืนยันรายละเอียดและสัดส่วนการชดใช้ หรือ การจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 MHz

โดยหนังสือดังกล่าว ระบุว่า ด้วยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 นายสุวิทย์ มิ่งมล ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และคณะจำนวน 20 คน ได้ยื่นหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรี ณ จุบริการประชาชน 1111 ศูนรับเรื่องราวร้องทุข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่าน นายทวัญ ลิปตพัล รัฐมนตรีประสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงประเด็นข่าวที่ปรากฎผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ กรณีมีการนำเสนอข่าวว่าผู้บริหารระดับสูงของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เสนอแบ่งสัดส่วนเงินชดเชยคลื่นความถี่ 2600 MHz ให้แก่เอกชนคู่สัญญาครึ่งหนึ่ง และสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน และเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ (Hot issue) จึงเห็นควรพิจารณามอบหมาย นายเทวัญ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะกำกับดูแล บมจ. อสมท เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาเห็นชอบตามข้อเสนอของสำนักงานปลัดสำนักนายกฯ

ดังนั้น เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ กรณีการแจ้งยืนยันรายละเอียด และสัดส่วนการชดใช้ หรือการจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 MHz ที่ถูกต้อง และเป็นการรักษาผลประโยชน์ของรัฐ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกำกับดูแลให้ บมจ. อสทม ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และอำนวยประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง บมจ. อสมท

อาศัยอำนาจตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 165/2562 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 169/2562 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2562 และบัญชาของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2563 ในบันทึกข้อความ ที่ นร. 0107.04/4152 ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2563

จึงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการแจ้งยืนยันรายละเอียดและสัดส่วนการชดใช้ หรือการจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 MHz โดยมีองค์ประกอบ หน้าที่ และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ผู้ตรจวราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ
    มีกรรมการประกอบด้วย
  2. ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด
  3. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  4. ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  5. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  6. ศาสตราจารย์นันทวัฒน์ บรมานันท์
  7. ผู้อำนวยการส่วนกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  8. ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ เป็นเลขานุการ
  9. เจ้าหน้าที่สำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ ที่ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและระเบียบกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ มอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
  10. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

สำหรับหน้าที่ และอำนาจของคณะกรรมการชุดนี้ คือ

  1. ตรวจสอบข้อเท็จจริง เอกสาร การดำเนินการ มาตรการ และหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีการแจ้งยืนยันรายละเอียดและสัดส่วนการชดใช้ หรือการจ่ายค่าตอบแทนในการเรียกคืนคลื่นความถี่ 2600 MHz ว่ามีข้อเท็จจริงและขั้นตอนอย่างไร เป็นการดำเนินการที่ชอบตัวด้วยกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือไม่ เป็นการรักษาผลประโยชน์หรือทำให้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวด้วย
  2. เรียกเอกสารหรือพยานหลักฐาน และเรียกพนักงาน ลูกจ้างหรือบุคคลต่างๆ มาให้ถ้อยคำต่อคณะกรรมการ
  3. รวบรวมข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว วิเคราะห์ ประมวลผล เสนอแนะ และสรุปผลการดำเนินการ
  4. ดำเนินการอื่นๆ ที่จำเป็นหรือตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้การดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจบรรลุผลสำเร็จ

ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการรวบรวมข้อเท็จจริงและดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ประธานกรรมการรับทราบคำสั่ง ในกรณีที่คณะกรรมการไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาได้ ให้คณะกรรมการ รายงานเหตุที่ทำให้การดำเนินการไม่แล้วเสร็จต่อผู้มีคำสั่งแต่งตั้ง เพื่อให้พิจารณาขยายระยะวลาดำเนินการตามความจำเป็นครั้งละไม่เกิน 20 วัน จนกว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จ แล้วสรุปผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง พร้อมเสนอความเห็นต่อผู้มีคำสั่งแต่งตั้งมาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป