กลุ่มแบงค์กดดันตลาด

กลุ่มแบงค์กดดันตลาด

สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีปรับลง -2.16 จุด หรือ -0.16% โดยระหว่างสัปดาห์ผันผวนในแดนบวกสลับลบเฉลี่ย 24.2 จุด คล้ายกับทิศทางตลาดหุ้นโลก

โดยในต้นสัปดาห์ดัชนีเผชิญปัจจัยลบจากความกังวลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอก 2 อย่างไรก็ดี ในช่วงกลางสัปดาห์ดัชนีได้ปัจจัยบวกจากการที่เฟดประกาศซื้อหุ้นกู้เอกชนเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง ประกอบกับยังสหรัฐยืนยันว่าจะไม่ปิดเมืองหากมีการระบาดของไวรัสระลอก 2 โดยวันศุกร์ SET Index ปิดที่ 1,370.82 จุด (-2.16 จุด) Volume 6.3 หมื่นลบ. ต่างชาติ -4,036.65 ลบ. TFEX Net -9,418 สัญญา ตราสารหนี้ -2,131 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดบวก 91 เซนต์ +2.3% ปิดที่ 39.75 ดอลลาร์/บาร์เรล ขานรับกลุ่มโอเปกพลัสเดินหน้าลดการผลิตน้ำมันลงอีก และรายงานแท่นจุดเจาะน้ำมันในสหรัฐลดลง

+จีนวางแผนเร่งซื้อสินค้าเกษตรจากสหรัฐ

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 208.64 จุด -0.80% กังวลจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่เพิ่มขึ้นในหลายรัฐ รวมทั้งประธานเฟดเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐจะไม่รวดเร็วและราบรื่น

-WHO เผยพบผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกวันเดียวทำสถิติสูงสุดถึง 183,020 ราย ยอดผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตในสหรัฐ สถานการณ์ในไทยยังไม่มีผู้ติดเชื้อภายในเพิ่ม

-"แอปเปิล"เตรียมปิดสโตร์ 11 แห่งในสหรัฐ หวั่นโควิดระบาดรอบสอง

-ประธานเฟดบอสตันฟันธงอัตราว่างงานสหรัฐยังสูงกว่า 10% ภายในสิ้นปีนี้

-ธปท. สั่งแบงก์พาณิชย์งดปันผลระหว่างกาลปี 63 และงดซื้อหุ้นคืน พร้อมให้ทำแผนบริหารเงินกองทุนช่วง 1-3 ปีเพื่อรักษาระดับเงินกองทุนส่งผลกระทบเชิงลบด้านจิตวิทยากับหุ้นกลุ่มแบงก์ถูก underweight

+ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับตัวขึ้น 28.31 จุด +0.96% เช้านี้เปิด -0.73 จุด

+ดัชนีนิกเกอิปิดเพิ่มขึ้น 123.33 จุด +0.55% เช้าเปิด -125.10 จุด

 

*จับตาสหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองเดือนพ.ค. ส่วน EU เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนมิ.ย.

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลง จากแรงกดดันจากหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังจากธปท.ขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืนเพื่อรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็ง ประกอบกับความกงัวลการแพร่ระบาดของโควิด-19รอบ2 ในสหรัฐและจีน หลังมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,350-1,380 จุด

 

หุ้นรายงานพิเศษ

หุ้นกลุ่มธนาคาร (Underweight)

  • ธปท. แจ้งว่าเนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 และการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม จึงขอให้ธนาคารพาณิชย์

* งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563

* งดการซื้อหุ้นคืน

* งดไถ่ถอนหรือซื้อตราสารหนี้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 หรือชั้นที่ 2 ก่อนครบกำหนด หากจะไถ่ถอนหรือซื้อคืนตราสารหนี้ เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน ขอให้จัดทำแผนการระดมทุนหรือออกตราสารหนี้ที่สามารถนับเป็นเงินกองทุนได้ทดแทนเพื่อรักษาระดับเงินกองทุน

  • ปัจจุบันมีหุ้นธนาคารที่จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล 4 ตัวได้แก่ BBL KBANK SCB TISCO และ KKP (ปัจจุบันไม่มี TBANK เป็นบริษัทย่อยแล้ว)
  • ณ ปลายเม.ย..63 ระบบธนาคารพาณิชย์มีเงินกองทุนทั้งสิ้น 2.6 ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ระดับ 18.9% เทียบกับระดับที่ต้องดำรงขั้นต่ำ 11% ((ระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ 8.5% และ Conservation Buffer 2.5%) และสูงกว่ามาตรฐานสากลของ Basel Committee on Banking supervision (BCBS) ที่ 10.5% (ที่มา ผู้จัดการรายวัน 360 องศา)

ความเห็น

  • คาดส่งผลเชิงลบด้านจิตวิทยาต่อการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารในวันนี้โดยเฉพาะหุ้นที่เคยจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
  • แนวโน้มกำไร 2Q63 จะลดลงทั้ง yoy และ qoq จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 เต็มไตรมาสซึ่งธนาคารได้มีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าและประกาศลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงแล้ว 2 ครั้งในเดือนเม.ย.และพ.ค. ขณะที่มีความกังวลเรื่อง NPL มากขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
  • แนะนำ Underweight หุ้นกลุ่มธนาคารในระยะสั้น ขณะที่ระยะยาวหุ้นกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่จะได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจฟื้นตัว

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากรัฐออกแพ็กเกจกระตุ้นเที่ยวในประเทศ (ERW CENTEL AOT AAV BA ASAP)
  • หุ้นเข้าคำนวณดัชนี SET50 (BPP TTW)
  • ดัชนี BDI ปรับตัวขึ้นแรงสูงสุดตั้งแต่ ธ.ค.62 (PSL TTA)

หุ้นมีข่าว   

(+/-) BJC อนุมัติเตรียมเพิกถอน WG ออกจากตลาด พร้อมทำเทนเดอร์ที่ราคา 185.44 บาท ในส่วนของหุ้นที่เหลือ 16.62 ล้านหุ้น คิดเป็นเงิน 3.08 พันล้านบาท (ที่มา กรุงเทพธุรกิจ)

(+) FPT (Bloomberg Consensus - บาท)  บอร์ด FPT ไฟเขียวให้บริษัทย่อยขายสินทรัพย์เข้ากองทุน FTREIT มูลค่า 3,879 ล้านบาท ภายในวันที่ 28 ก.พ. 64 พร้อมตั้ง ธนพล ศิริธนชัย” นั่ง CEO คนใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 17 ส.ค. 63 เป็นต้นไป นำทัพเดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) MINT (Bloomberg Consensus 20.17 บาท)  เผยปีนี้ยังไม่มีแผนขายสินทรัพย์ออกมา แต่เตรียมไว้เป็น แผนสำรอง” หากจำเป็นต้องใช้เงิน ฟากผู้ถือหุ้นไฟเขียวแผนระดมทุน 2.5 หมื่นล้านบาท โดยเล็งขายหุ้นเพิ่มทุน RO มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท และออกหุ้นกู้ฯ 1 หมื่นล้านบาท ในช่วงไตรมาส 3/63 หวังเสริมความแข็งแกร่งทางการเงิน ส่วนอีก 5 พันล้านบาท มาจากแปลง MINT-W7 (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) PTT (Bloomberg Consensus 39.75 บาท)  ลงนามสัญญาซื้อขายก๊าซระยะยาว (Global DCQ) ป้อน LNG ให้โรงไฟฟ้าของกฟผ. ต่ออายุอีก 10 ปี มีผลตั้งแต่ ก.ค. 63-ก.ค. 73 มูลค่าสัญญากว่า 3.4 แสนล้านบาท พร้อมเปิดช่อง กฟผ.นำเข้าเอง 1 ล้านตันต่อปี (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) BA นำทีม BTS-STEC เซ็นสัญญารับงานโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท คณิศ” โชว์เป็นการเซ็นสัญญา PPP ใหญ่สุดในเอเชียแปซิฟิกของปีนี้ ขณะที่อีก 18 เดือนเอกชนเริ่มเข้าพื้นที่ได้ ด้าน BA คาดถึงจุดคุ้มทุนช่วงเฟส 2 ฟาก BTS มั่นใจการเงินของกลุ่มแข็งแกร่งมีแบงก์พร้อมปล่อยกู้ (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) TQM (Bloomberg Consensus  118.00 บาท) เนื้อหอมกองทุนทั้งในและต่างประเทศรุมขอซื้อหุ้นเพื่อลงทุนระยะยาว หลังชอบโมเดลธุรกิจและเป็นหุ้นที่มีขนาดใหญ่ระดับกลาง ผู้บริหารเชื่อมั่นผลประกอบการ Q2/2563 ยังเติบโตต่อเนื่อง ด้านโบรกเกอร์ปรับเพิ่มประมาณการณ์กำไรเพิ่มเป็น 733 ล้านบาท จากการเน้นระบบออนไลน์มากขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CPW (Bloomberg Consensus  - บาท) รับอานิสงส์เงินบาทแข็งค่า หนุนต้นทุนธุรกิจลด แถมยิ้มรับขยายเวลาปิดห้าง ดันยอดผู้ใช้บริการพุ่ง บิ๊ก "ปรเมศร์" แย้ม Q3/2563 ฟอร์มสวย รับยอดขายโตต่อเนื่อง แถมล่าสุดเปิดสาขาใหม่แห่งที่ 45 ในโครงการ "สยามพรีเมี่ยม เอาท์เล็ต" เปิดช่องรับทรัพย์เพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) UKEM (Bloomberg Consensus - บาท) บอสใหญ่ UKEM "พีรพล สุวรรณนภาศรี" แย้มแผนช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสเห็นการลงทุนธุรกิจใหม่ พร้อมปักธงยอดขายปีนี้เติบโตไม่ต่ำกว่า 10% เร่งปรับแผนรับมือ New Normal เจาะตลาดอุตสาหกรรมการเกษตร พรินติ้ง แพ็กเกจจิ้ง เครื่องสำอาง การแพทย์ และอุตสาหกรรมทำความสะอาด (ที่มา ทันหุ้น)