นักลงทุนเทขายหุ้นแบงก์ กดดันราคารูดหนัก

นักลงทุนเทขายหุ้นแบงก์ กดดันราคารูดหนัก

เช้านี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดที่ระดับ 1,359.30 จุด ลดลง 11.52 จุด หรือ 0.84% มีมูลค่าการซื้อขาย 230.23 ล้านบาท ฟากกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงถ้วนหน้า หลังรับแรงกดดันนโยบายแบงก์ชาติสั่งธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดการซื้อหุ้นคืน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าช่วงเช้าวันนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดที่ 1,359.30 จุด ลดลง 11.52 จุด หรือ 0.84% มีมูลค่าการซื้อขาย 230.23 ล้านบาท

โดยดัชนี SET100 เปิดที่ 1,989.16 จุด ลดลง -18.29 จุด หรือ -0.91%,ดัชนี SET50 เปิดที่ 899.01 จุด ลดลง -8.66 จุด หรือ -0.95% และดัชนี mai เปิดที่ 302.26 จุด เพิ่มขึ้น 0.01 จุด หรือ 0.00%

ขณะที่พบความเคลื่อนไหวราคาหุ้นกลุ่มธนาคารปรับตัวลดลงถ้วนหน้า หลังจากมีแรงกดดันจากกรณีธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาตรการสำคัญ ทั้งสั่งธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล และงดการซื้อหุ้นคืน รวมถึงการออกนโยบาย ช่วยเหลือลูกหนี้ระยะ 2 ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี่ยสินเชื่อต่างๆ

โดยหุ้นในกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวลดลง อาทิ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ BAY ลดลง 7.29% มาอยู่ที่ระดับ 22.90 บาท หรือ 1.80 บาท มูลค่าการซื้อขาย 12.32 ล้านบาท, ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือBBL ลดลง 6.93% มาอยู่ที่ระดับ 107.50 บาท หรือ 8.00บาท มูลค่าการซื้อขาย 842 ล้านบาท และธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ CIMBT ลดลง 4.76% มาอยู่ที่ระดับ 0.60 บาท หรือ 0.03 บาท มูลค่าการซื้อขาย 2.3 ล้านบาท

บล.หยวนต้า  เปิดเผยว่านักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ส่วนหนึ่งต้องการผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ปกติแบงก์ไทยมีอัตราการจ่ายที่สม่ำเสมอและอยู่ในระดับที่ดี ทำให้คาดจะมีแรงขายจากประเด็นดังกล่าวออกมาบางส่วน แต่หากพิจารณาข้อมูลในอดีตพบว่าปกติเงินปันผลระหว่างกาลจะมีสัดส่วนต่อเงินปันผลทั้งปีเพียง 10-28.6% ในกลุ่มแบงก์ใหญ่ และ 35-75% สำหรับแบงก์ขนาดกลาง (TMB มีสัดส่วนปันผลระหว่างกาลเทียบกับปันผลทั้งปี 75% สูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการเพิ่มทุนเพื่อปรับโครงสร้างในช่วงครึ่งปีหลัง)บล.หยวนต้า  เปิดเผยว่า  นักลงทุนที่ลงทุนในหุ้นกลุ่มแบงก์ส่วนหนึ่งต้องการผลตอบแทนในรูปเงินปันผลที่ปกติแบงก์ไทยมีอัตราการจ่ายที่สม่ำเสมอและอยู่ในระดับที่ดี ทำให้คาดจะมีแรงขายจากประเด็นดังกล่าวออกมาบางส่วน แต่หากพิจารณาข้อมูลในอดีตพบว่าปกติเงินปันผลระหว่างกาลจะมีสัดส่วนต่อเงินปันผลทั้งปีเพียง 10-28.6% ในกลุ่มแบงก์ใหญ่ และ 35-75% สำหรับแบงก์ขนาดกลาง (TMB มีสัดส่วนปันผลระหว่างกาลเทียบกับปันผลทั้งปี 75% สูงกว่าปกติ เนื่องจากมีการเพิ่มทุนเพื่อปรับโครงสร้างในช่วงครึ่งปีหลัง)
   ซึ่งการงดปันผลระหว่างกาลจะทำให้นักลงทุนเสียผลตอบแทน (คำนวณจากราคาปิดวันที่ 19 มิ.ย.) ราว 0.5-3.4% เท่านั้น   นอกจากนี้ ธปท. ยังไม่มีการออกนโยบายสำหรับงดการจ่ายปันผลประจำปี ทำให้หากสถานการณ์ ศก. ในประเทศมีการฟื้นตัวในช่วง 2H63 และแบงก์ไทยสามารถที่จะเตรียมแผนบริหารจัดการเงินกองทุนได้ ธปท. ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะแทรกแซงนโยบายการจ่ายเงินปันผลประจำปี 2563 ของแบงก์ นอกจากนี้ เราได้ศึกษาการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแบงก์ในอังกฤษ 4 แบงก์ใหญ่ที่มีการประกาศงดจ่ายเงินปันผลสำหรับงวดผลประกอบการปี 2563 ในช่วงต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการที่รุนแรงที่สุดในปัจจุบันเมื่อเทียบกับมาตรการในประเทศอื่นที่ให้งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล เพื่อประเมินการตอบสนองของราคาหุ้นในกรณีเลวร้าย พบว่า
   1) ในวันแรกที่มีการประกาศงดปันผลประจำปี 2563 ราคาหุ้นทั้ง 4 แบงก์ตอบสนองเชิงลบอย่างรุนแรงราว -7.3% ถึง -13.2% (เฉลี่ยที่ -10.3%)
   2) หุ้น 3 ใน 4 แบงก์มีการฟื้นตัวสู่ระดับราคาก่อนการประกาศงดจ่ายปันผลค่อนข้างเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 4-6 วัน และ
   3) ผลตอบแทนเฉลี่ยสำหรับการลงทุนตั้งแต่วันที่มีประกาศงดจ่ายปันผลจนถึงวันที่ 19 มิ.ย. อยู่ที่ 13.8% มีเพียง 1 แบงก์ ที่ให้ผลขาดทุนราว 4.3%  ความเสี่ยงที่เงินกองทุนของแบงก์ไทยจะไม่พอรองรับ NPL หลังหมดมาตรการพักชำระหนี้
   อีกหนึ่งความกังวลคือการที่ ธปท. “ตั้งการ์ดสูง” อาจเป็นการส่งสัญญาณว่าสถานะการเงินของแบงก์อยู่ในระดับที่ไม่เพียงพอจะรองรับ NPL ที่มีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงปลายปีหลังครบกำหนดมาตรการพักชำระหนี้ เรามีความเห็นดังนี้ คือ
   1)แบงก์ไทยมีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นมากหลังจากวิกฤตปี 2540 ทำให้ทุกแบงก์มีการกันเงินสำรองทั้งในรูปแบบ Tier 1 Ratio และ Capital Adequacy Ratio สูงกว่าระดับขั้นต่ำตามข้อกำหนดของ ธปท. อยู่ราว 5-8% จนมีระดับ Capital Adequacy Ratio สูงเป็นอันดับที่ 25 จาก 68 ประเทศที่มีการส่งข้อมูลให้กับฐานข้อมูล CEIC
   2)ด้วยส่วนเกินของ Tier1 Ratio ของแต่ละแบงก์หากคำนวณเป็นผลขาดทุนที่สามารถรองรับได้ก่อนที่ระดับ Tier1 Ratio ของแบงก์จะต่ำลงถึงระดับ Minimum Requirement ที่จำเป็นต้องเพิ่มทุนเพื่อรักษาระดับ Tier1 Ratio พบว่าในกลุ่มแบงก์ใหญ่ยังสามารถรองรับผลขาดทุนได้สูงถึง 100,000-150,000 ลบ. เทียบกับคาดการณ์กำไรปีนี้ที่ 20,000-30,000 ลบ. และ แบงก์ขนาดกลาง/เล็ก อยู่ที่  13,000-80,000 ลบ. เทียบกับคาดการณ์กำไรปีนี้ที่ 5,000-12,000 ลบ. ทำให้เรามองว่าแบงก์ไทยยังมีสถานการณ์เงินทางด้านเงินกองทุนอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง และการออกมาตรการของ ธปท. เป็นเพียงการสร้างความมั่นใจว่าแบงก์ไทยจะมีสภาพคล่องเพียงพอรองรับความเสี่ยงในอนาคต