สายการบินขานรับท่องเที่ยว จัดโปรกระตุ้นสุ้ภาวะตลาด 

สายการบินขานรับท่องเที่ยว  จัดโปรกระตุ้นสุ้ภาวะตลาด 

ความเคลื่อนไหวของธุกิจท่องเที่ยวนาทีนี้กลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยบรรดาผู้ประกอบการออกแพ็กเกจจัดโปรลดราคากระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อให้ธุรกิจกลับมามีกระแสเงินสดอีกครั้ง หลังจากปิดล็อกดาวน์ไปในช่วงเกือบ 3 เดือนที่ผ่านมา

พร้อมกับการคลอดมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวของภาครัฐที่ออกมาถึง 3 แพ็กเกจ วงเงินรวม 22,400 ล้านบาท พร้อมคาดหวังว่าจะเกิดเงินทวีคูณจากการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่าอีก 3 เท่าตัว

งานนี้เลยเรียกความเชื่อมั่นให้ภาคธุรกิจว่าการท่องเที่ยวภายในประเทศจะกลับมาฟื้นอีกครั้งตั้งแต่หลังจากภาครัฐปลดล็อกเฟส 3 แต่ยังคงเคออร์ฟิวส์ และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน สถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่ใกล้กรุงเทพฯ ยังคลาคล่ำไปด้วยประชาชนที่แห่มาใช้บริการ

ดังนั้นการปลดล็อกเฟส 4 ตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย. ที่ผ่านมาพร้อมยกเลิกเคอร์ฟิวส์ แต่ยังคงพ.ร.ก. ฉุกเฉินเอาไว้ บวกกับสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด -19 ในไทยยังรักษาตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นศูนย์ได้นานติดต่อกัน จึงเป็นแรงส่งให้ประชาชนมั่นใจและกล้าที่จะใช้ชีวิตปกติอีกครั้ง

กลุ่มโรงแรมเป็นรายแรกที่ได้รับผลดีเห็นการออกมาประกาศพร้อมเปิดบริการอีกครั้ง ซึ่งบริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT ประกาศความพร้อมโรงแรมในไทยกลับมาให้บริการตั้งแต่ปลายเดือพ.ค. 28 แห่ง จำนวน 5,009 ห้อง คิดเป็นสัดส่วนรายได้ 14 % ทั้งในกรุงเทพ หัวหิน ภูเก็ต สมุย พัทยา และขอนแก่น

บริษัทดิเอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ERW มีสัดส่วนโรงแรในไทยมากถึง 90 % มีโรงแรม ฮอป อิน 20 แห่งใน 16 จังหวัด ได้เปิดให้บริการแล้วตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา หรือ บริษัท ดุสิตธานี จำกัด (มหาชน) หรือ DTC ทำโปรโมชั่นห้องพักในเครือภายในประเทศไทยราคา 2,888 บาท ใช้สิทธิ์ได้ถึงปลายปี 2564

ฟากสายการบินไม่น้อยหน้าหลังจากสำนักงานการบินผลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) อนุญาตให้ผู้ประกอบการสายการบินดำเนินให้กลับมาบริการได้ แต่ยังจำกัดจำนวนที่นั่งด้วยการเว้นระยะห่าง ซึ่งทำให้ต้องยอมขายตั๋วแบบขาดทุนเพราะอัตราบรรทุกผู้โดย (Cabin Factor) ไม่คุ้มกับต้นทุน

จากไตรมาส 1 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 80-70% ซึ่งจากค่าเฉลี่ยทั่วไปหากลดลงต่ำกว่า 77 % ถือว่าไม่คุ้มทุนในการให้บริการ ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตัวเลขดังกล่าวแทบเป็นศูนย์จากการล็อกดาวน์อยู่แล้ว  แม้จะจะกลับมาเปิดให้บริการยังไม่ดีขึ้น  หากแต่กลุ่มสายการบินยังทำการตลาดดึงราคามาจูงใจผู้ใช้บริการ 

บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV เป็นเบอร์ 1 ในสายการบินต้นทุนต่ำ ทำราคาขายตั๋วเดินทางที่ 890 บาท สามารถเดินทางภายในประเทศได้ หรือสายการบินบูติกแอร์ไลน์ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA กดราคาตั๋วเครื่องบินมาอยู่ที่ 1,500 บาท และสามารถโหลดกระเป๋าได้ฟรีอีก 40 กิโลกรัม ด้าน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI อยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการจะยังไม่กลับมาให้บริการจนถึง ส.ค. ที่จะเปิดเส้นทางบินระหว่างประเทศ ยังมีบริษัทย่อย ไทยสมายล์ ดำเนินการบินภายในประเทศไทยแทน ด้วยโปรโมชั่นลด 20 %ฟรีอาหารและโหลดกระเป๋าฟรี 20 กิโลกรัม

ทั้งหมดยังต้องอยู่ภายใต้การจำกัดให้บริการด้วยการสวมหน้ากาก อนามัยตลอดการเดินทาง การตรวจคัดกรองผู้ดดยสาร การสำรองที่นั่ง 3 แถวสุดท้ายเพื่อกักผู้ป่วยหรือสงสัยว่าจะป่วย แต่สามารถบริการอาหารและเครื่องดื่มหากบินไม่เกิน 2 ชั่วโมง และไม่ต้องเว้นที่นั่งเหมือนในช่วงแรก

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ภาคธุรกิจการบินยังต้องการไม่น้อยคือ เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำหรือ ซอฟโลน ที่8 สายการบินยื่นขอความช่วยเหลือไปก่อนหน้านี้จากภาครัฐเพื่อช่วยเยียวยาธุรกิจ เนื่องจากด้วยภาวะการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวลดน้อยลง เหลือเท่าที่จำเป็นน่าจะเห็นยาวไปจนถึงครึ่งปีแรก

บวกกับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่ฟื้นตัวเต็ม สถานการณ์ระบาดในต่างประเทศหลายที่เข้าสู่เวฟ 2 ทำให้การเดินทางระหว่างประเทศยังมีความเสี่ยงมาก ซึ่งหากประเมินจากฐานะทางการเงินของกลุ่มสายการบินที่มีการยืดชำระหนี้กับทางสถาบันการเงินไปแล้วนั้น  ยังมีความหวังว่าจะประคองไปได้จนถึงไตรมาส 4 ที่คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะเริ่มกลับมา แต่หากไม่เป็นตามคาดเงินซอฟโลนจะเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญในระยะถัดไปของธุรกิจสายการบิน