'แกรมมี่' ผนึก 'วีไลฟ์' ลุยคอนเสิร์ตออนไลน์ 

'แกรมมี่' ผนึก 'วีไลฟ์' ลุยคอนเสิร์ตออนไลน์ 

ต้นปีประกาศแผนธุรกิจเพลงอย่างยิ่งใหญ่ แต่เมื่อไม่มีใครคาดการณ์โรคอุบัติใหม่ "โควิด" จะพ่นพิษรุนแรง จนทั้งโลกเจอวิกฤติ ธุรกิจโคม่า!! จนต้องปรับแผนจ้าละหวั่น "แกรมมี่" พลิกสูตร จัดโชว์บิส ผนึก "VLIVE" จากเกาหลี ลุยคอนเสิร์ตออนไลน์ เจาะคนดูไร้พรมแดน

แกรมมี่ รุกจัดโชว์บิซ-คอนเสริตออนไลน์ ผนึกทุนเกาหลีวีไลฟ์ (VLIVE)ผ่านแพลตฟอร์มถ่ายทอดสด ประเดิมโปรเจคจีเอ็มเอ็ม ออนไลน์ เฟสติวัล แก้เกมธุรกิจ หลังโควิดฉุดกิจกรรมออนกราวด์

นายภาวิต จิตรกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายธุรกิจ จีเอ็มเอ็ม มิวสิค บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้หลายกิจกรรมต้องหยุดดำเนินการ ในส่วนของแกรมมี่ ซึ่งมีการจัดคอนเสิร์ต ารแสดงโชว์บิซต่างๆที่เป็นกิจกรรม พื้นที่หรือออนกราวด์ ได้หยุดจัดคอนเสิร์ตเป็นเวลา 2-3 เดือน ขณะที่ผู้บรืโภคยังคงยังมีความต้องการและรอคอยการกลับมาจัดงาน

ขณะที่การจัดคอนเสิร์ตปัจจุบันระหว่างโลกออนกราวด์ และออนไลน์ถือว่าแยกจากกันชัดเจน และกิจกรรมสร้างประสบการณ์ให้คนดูแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ แกรมมี่ ต้องการจัดคอนเสิร์ตผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อยู่แล้ว แต่ทำทั้งทีต้องทำให้ดี และโดนใจกลุ่มเป้าหมาย ขณะเดียวกันสามารถดูแลศิลปิน ทีมงานเบื้องหลัง ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโชว์บิสได้อย่างดี จึงเลือกจับมือกับแพลตฟอร์มระดับโลกอย่างวีไลฟ์”(V LIVE)จากบริษัท Never ซึ่งเป็นเจ้าของเดียวกับ LINE ประเทศเกาหลีใต้ ในการเป็นพาร์ทเนอร์อันดับต้นๆของโลกมาร่วมงาน GMM Online Festival ระหว่างวันที่ 4-5 ..นี้

การเลือกวีไลฟ์เป็นพันธมิตร เพราะในการจัดคอนเสิร์ตในโลกเสมือนหรือ Virtual ผ่านออนไลน์ไม่ใช่สิ่งที่เราถนัด และเป็นสิ่งใหม่ ขณะที่การเรียนรู้จากการจัดคอนเสิร์ตที่ผ่านมาจำกัดคนดูได้เพียงหลักพัน ซึ่งถือว่าเล็กไปสำหรับความคิดถึงของแฟนๆที่มีต่อศิลปิน เราจึงอยากร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นแพลตฟอร์มระดับโลกที่ทำ Virtual คอนเสิร์ตอยู่แล้วทุกสัปดาห์อย่างวีไลฟ์มาร่วมงาน

สำหรับไฮไลท์คอนเสิร์ตออนไลน์ แบ่งการแสดงเป็นวันละ 7 ชั่วโมง มีศิลปินร่วมงาน 22 ชีวิต เช่น เป๊ก ผลิตโชควงค็อกเทล พาราด็อกซ์ เคลียร์ อะตอมฯ มีการจัดเต็มด้านโปรดักชั่น ทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์หรือ Interact กับผู้ชม ผู้ชมสามารถแสดงตัวตนบนหน้าจอที่อยู่บนเวที พร้อมส่งคอมเมนต์สดๆระหว่างการแสดง และทักทายพูดคุยได้แบบเรียลไทม์ผ่าน Virtual Meeting การแสดงยังแบ่งเป็น 4 เวที การทำโชว์ยังเน้นให้คนดูรู้สึกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์(AR Technology)เพื่อทำให้ผู้ชมสัมผัสถึงความแตกต่างจากคอนเสิร์ตปกติทั่วไป โดยคอนเสิร์ตออนไลน์ดังกล่าวสามารถเปิดให้ชมไม่จำกัด และรับชมได้กว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยมีคำบรรยาย 2 ภาษาอังกฤษ และจีน ส่วนราคาขายบัตรจะอยู่ที่ 350 บาท หรือราว 600 วีคอยน์ และการขายบัตรจะไม่มีหมด(Sold out)

ส่วนแนวทางการจัดคอนเสิร์ตหลังจากนี้ ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้ความสำคัญกับออนกราวด์หรือออนไลน์มากกว่ากัน เพราะยังต้องเกาะติดสถานการณ์โควิด แต่ภาพรวมต้องการให้กิจกรรมทั้งออนกราวด์และออนไลน์เติบโตคู่ขนาน

รายงานข่าวระบุว่า เมื่อต้นปีแกรมมี่มีแผนขยายธุรกิจโชว์บิสในปี 2563 ราว 40 งาน เพิ่มจากปีก่อนมี 30 งาน รวมถึงจะก้าวสู่เป็นผู้จัดงานโชว์บิสระดับโลก ส่วนงานแสดงของศิลปินตามผับ บาร์ สถานบันเทิงฯทั่วประเทศมีต่อปีมากกว่า 7,000 งาน