ประกันสังคม 101 | พนักงานประจำ จ่ายประกันสังคมทุกเดือน ได้สิทธิ์อะไรบ้าง?

ประกันสังคม 101 | พนักงานประจำ จ่ายประกันสังคมทุกเดือน ได้สิทธิ์อะไรบ้าง?

ทำความเข้าใจ "ประกันสังคม" ระดับเบสิคที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้ จ่ายเงินสมทบแล้วไปไหน ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

“ประกันสังคม” รายจ่ายที่มนุษย์เงินเดือนในองค์กรเอกชนจะต้องถูกหักเงินเดือนทุกๆ เดือนเพื่อสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งจะช่วยเป็นหลักประกันในมิติต่างๆ ของพนักงาน ทั้งในมิติของสุขภาพ การว่างงาน อุบัติเหตุ รวมไปถึงเงินสำหรับใช้จ่ายหลังเกษียณ

โดยสิ่งที่สำคัญกว่าเราถูกหักเงินไปเท่าไรในแต่ละเดือน คือ “เงินสมทบ” ที่เราจ่ายไปทุกๆ เดือนนั้น ถูกหักไปที่ไหนบ้าง แล้วจะเกิดประโยชน์กับเราอย่างไรบ้าง “กรุงเทพธุรกิจออนไลน์” จึงรวบรวมข้อมูลที่ผู้ประกันตนทุกคนควรรู้ เกี่ยวกับถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เราควรได้รับ ในสถานการณ์ต่างๆ ดังนี้

  •  ประกันสังคมคืออะไร? 

ก่อนจะไปทำความรู้จักกับสิทธิ์ต่างๆ มาทำความรู้จักกับคำที่เกี่ยวข้องกับ "กองทุนประกันสังคม" ที่ช่วยให้เข้าใจรายละเอียดต่างๆ ได้ง่ายขึ้น โดยคำที่พบบ่อยเมื่อพูดถึงประกันสังคม มีดังนี้

ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์ ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง

ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ในวันเข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้าง ต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตรา 5% ซึ่งฐานค่าจ้างที่จะนำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท (เงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 83 บาท และไม่เกินเดือนละ 750 บาท) 

  •  ประกันสังคมประเภทต่างๆ 

สิ่งสำคัญที่จะต้องรู้แบบละเลยไม่ได้ คือ "ประเภทประกันสังคม" ของตัวเอง โดย ประกันสังคม มาตรา 33 สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป โดยมีการให้ความคุ้มครอง 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

นอกจากนี้ กองทุนประกันสังคมสำหรับพนักงานประจำแล้ว ยังมีมาตราอื่นๆ ที่เตรียมไว้สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ 

ประกันสังคม มาตรา 39 สำหรับผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน ให้ความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

และประเภทสุดท้าย ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับอาชีพอิสระ โดยผู้ประกันตนจะต้องเป็นบุคคลทั่วไปที่มีอายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง ให้ความคุ้มครอง 3-4-5 กรณี ขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร ตาย ชราภาพ (บําเหน็จ)

  •  พนักงานประจำ ต้องถูกหักเงินสมทบอย่างไร?  

สำหรับพนักงานประจำ จะถูกนายจ้างจะหักเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท เพื่อนำส่งกองทุนประกันสังคมในทุกๆ เดือน 

เช่น หากคุณได้รับเงินเดือน 10,000 บาท จะถูกหักเงินเพื่อนำส่งประกันสังคม 500 บาท หากได้รับเงินเดือน 15,000 บาท จะถูกหักเงินเพื่อนำส่งประกันสังคม 750 บาท แต่ในกรณีที่เงินเดือน 15,000 ขึ้นไปจะถูกหัก 750 บาท เนื่องจากเป็นเพดานสูงสุด

  •  สมทบแล้วเงินไปไหน? 

จุดสำคัญที่ผู้ประกันตนควรรู้ และต้องรู้คือ เงิน 5% ที่ถูกหักไปสมทบในกองทุนประกันสังคมนั้นไปอยู่ที่ไหนบ้าง สมมติว่าเราส่งเงินสมทบในกองทุนประกันสังคมทุกเดือน เดือนละ 750 บาท 

  • 1.5% ของยอดสมทบหรือ 225 บาท จะใช้ในส่วนประกันเจ็บป่วย หรือตาย 
  • 0.5% ของยอดสมทบหรือ 75 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันการว่างงาน 
  • 3% ของยอดสมทบหรือ 450 บาท จะถูกเก็บไว้ในส่วนของประกันชราภาพ 

159221561260

  •  ได้รับสิทธิ์อะไรบ้าง 

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าเงินที่ถูกหักไปสมทบกองทุนประกันสังคมทุกๆ เดือนนั้น จะถูกนำไปสะสมไว้สมหรับผู้สมทบในอนาคตในรูปแบบต่างๆ โดย สิทธิ์ที่ผู้ส่งเงินประกันสังคมจะได้รับ แบ่งออกเป็นกรณีหลักๆ 7 เรื่องได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

159229417532

159229417410

ทั้งนี้ ในช่วงที่มีสถานการณ์ไม่ปกติ อย่างกรณีว่างงานจากสถานการณ์ "โควิด-19" ผู้ประกันตนจะสามารถขอเงินทดแทนได้ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด โดยผู้ที่ว่างานจะต้องทำตามขั้นตอน 'ลงทะเบียนว่างงาน' เพื่อขอรับเงินชดเชยจาก 'ประกันสังคม' 

สิ่งที่ไม่รู้ไม่ได้ คือ "สถานะ" ของการเป็นผู้ประกันตนของตัวเอง โดยการตรวจสอบข้อมูล และสิทธิ์ประกันสังคมต่างๆ สามารถทำได้ด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ของ "สำนักงานประกันสังคม" 2 ช่องทางหลัก ได้แก่

- เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th โดยจะต้องสมัครสมาชิกก่อนเข้าระบบเพื่อตรวจสอบข้อมูลต่อไป

159229541349


- แอพพลิเคชั่น "SSO Connect mobile" ที่สามาร
ถตรวจสอบเงินชราภาพ ตรวจสอบสถานพยาบาลตามสิทธิ ทำการเปลี่ยนสถานพยาบาล เช็คยอดเงินทันตกรรม การส่งเงินสมทบ ฯลฯ ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน Google Play และ App Store 

159229558060

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวันทุกเวลา สามารถโทรตรวจสอบสิทธิประกันสังคม หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม รวมทั้งสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน สามารถโทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกันสังคมมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการ

ที่มา: คู่มือผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคม