เกษตรแปลงใหญ่สมุนไพร สร้างรายได้มากกว่ากลุ่มเกษตรกรทั่วไป

สศก. ชี้เกษตรกรแปลงใหญ่สมุนไพร ขมิ้นชัน-ไพล สร้างรายได้มากกว่ากลุ่มเกษตรกรทั่วไป
นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการศึกษาศักยภาพการผลิตและการตลาดสมุนไพรในพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ กรณี ศึกษาขมิ้นชัน และไพล โดยทำการศึกษา ต้นทุน ผลตอบแทนการผลิต ประสิทธิภาพการผลิต การตลาด เปรียบเทียบทั้งในและนอกพื้นที่โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ซึ่งผลการศึกษา พบว่า จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ณ เดือนตุลาคม 2561 มีแปลงที่ปลูกขมิ้นชันครอบคลุม 5 จังหวัด (พังงา สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) แปลงที่ปลูกไพลครอบคลุม 4 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม สระแก้ว ราชบุรี) รวมจำนวนเกษตรในโครงการแปลงใหญ่สมุนไพรที่มีการปลูกขมิ้นชันและไพลทั้งสิ้น 326 ราย
ขมิ้นชัน เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 14,931 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 1 ปี ผลผลิต 1,684 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.17 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 39,019 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 24,088 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่า มีต้นทุนการผลิตน้อยกว่าร้อยละ 8.86 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่า ร้อยละ 12
ไพล เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่ มีต้นทุนการผลิต 24,664 บาท/ไร่/รุ่นการผลิต 2 ปี ผลผลิต 3,341 กิโลกรัม/ไร่ ราคาที่เกษตรกรขายได้ 23.66 บาท/กก. ให้ผลตอบแทน 79,042 บาท/ไร่ คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 54,377 บาท/ไร่ เมื่อเทียบกับเกษตรกรนอกพื้นที่แปลงใหญ่ พบว่า มีต้นทุนการผลิตต้นทุนน้อยกว่าร้อยละ 6.28 และมีผลตอบแทนสุทธิมากกว่าร้อยละ 26.77
จากการศึกษา ยังพบว่า ปัจจุบันความต้องการใช้สมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายทั้งใช้ประกอบอาหาร ผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพ และเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอาง พืชสมุนไพรจึงเป็นโอกาสในการสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชน โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพร เป็นช่องทางการจำหน่ายหลักของขมิ้นชันและไพล รองลงมาเป็นการจำหน่ายให้พ่อค้ารวบรวม
ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนให้เป็นช่องทางในการรับซื้อผลผลิตและลดความเสี่ยงด้านราคา โดยจะต้องส่งเสริมตลอดโซ่อุปทาน เช่น มาตรฐานวัตถุดิบและการแปรรูปเป็นเวชสำอางและผลิตภัณฑ์ต่างๆ และส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาด เช่น Road show และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ให้มากขึ้น นอกจากนี้ เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพร ควรรวมตัวกันเป็นกลุ่มเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่ จะช่วยให้เกษตรกรมีช่องทางการจำหน่ายการตลาด ได้ราคา และสร้างรายได้ดียิ่งขึ้น
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?
'ทรัมป์' ร่วง รีพับลิกันล่ม ประชาธิปไตยรุ่ง
"Weekly Oil" report 18 January 2021
'ตลาดหุ้น' ที่ไหนจะรุ่ง ที่ไหนจะร่วง ในปี 2021