ร้านค้าทองหั่นค่าต๋งเหลือ 100 บาท หลังวิกฤติโควิดคลี่คลายส่งออกได้

ร้านค้าทองหั่นค่าต๋งเหลือ 100 บาท หลังวิกฤติโควิดคลี่คลายส่งออกได้

สมาคมค้าทองคำ ลดส่วนต่างขายออก รับซื้อคืน "ทองคำแท่ง" เหลือ 100 บาท ตามปกติ หลังโควิดคลี่คลาย หนุนราคาทองคำในตลาดโลกเริ่มใกล้เคียงภาวะปกติ มองราคาทองในประเทศยังเป็นขาขึ้น สิ้นปีนี้มีโอกาสทำจุดสูงสุดใหม่ทะลุ27,000บาท

เมื่อวันที่1 มิ..ที่ผ่านมานี้สมาคมค้าทองคำได้ออกประกาศให้ปรับมาใช้ส่วนต่างระหว่าง ราคาทองคำแท่งขายออกและรับซื้อคืนตามปกติ คือ บาทละ 100 บาท  เนื่องจากปัจจุบันปัญหาราคาทองคำในตลาดโลกใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ

จากก่อนหน้านี้วงจรการค้าทองคำในตลาดโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  สมาคมค้าทองคำจึงได้ออกประกาศปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาทไปเมื่อวันที่25-27มี.. และปรับลดลงเหลือ200 บาทเมื่อวันที่ 28 มี..ที่ผ่านมานี้

นายจิตติ ตั้งสิทธิภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า การที่สมาคมค้าทองคำ ได้กลับมาประกาศใช้ส่วนต่างราคาซื้อขายในอัตราเดิม เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกเริ่มใกล้เคียงภาวะปกติ ซึ่งการปรับขึ้นส่วนต่างราคาที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ ได้อ้างอิงราคาในตลาดโลก บวกกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่เกิดขึ้นจริง หรือที่เรียกว่าค่าพรีเมี่ยม ซึ่งขณะนี้ ส่วนต่างราคาซื้อขายในตลาดโลกเริ่มใกล้เคียงปกติแล้ว แต่เรื่องการนำเข้า-ส่งออกยังมีปัญหารวมถึงโรงงานรีไฟน์ทองในต่างประเทศเปิดทำการเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่สมาคมฯ เห็นว่าราคาส่วนต่างซื้อ-ขายสามารถกลับมาใช้ราคาปกติได้ จึงประกาศใช้ไปก่อน หากในอนาคต ราคาส่วนต่างการซื้อขายในตลาดโลกกลับมาผันผวนหนัก ก็อาจจะต้องกลับมาพิจารณากันอีกครั้ง

ทางด้านสถานการณ์ราคาทองคำในขณะนี้ มองว่า ในภาพรวมค่อนข้างจะได้รับปัจจัยบวกหลายเรื่อง โดยเฉพาะจากทางฝั่งสหรัฐ  ทั้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการประกาศใช้คิวอีแบบไม่จำกัด ปัญหาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับ จีน ที่ดูเหมือนจะเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น และล่าสุด ก็คือ เรื่องของการจลาจลในหลายพื้นที่ของสหรัฐ จึงทำให้มีความมั่นใจว่า ราคาทองคำจะสามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้อีกครั้งในปีนี้และราคาทองคำมีโอกาสจะทะลุบาทละ 27,000 บาทอีกครั้ง

นายณัฐพงศ์ หิรัณยศิริ ประธานฝ่ายบริหาร บริษัท MTS GOLD GROUP หรือ MTS (แม่ทองสุก) เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาทองคำในตลาดโลกและการนำเข้าส่งออกทองคำเริ่มกลับมาทำได้ใกล้เคียงภาวะปกติแล้ว อาจจะเป็นNew Normalใหม่เหมือนตลาดอื่นๆ

ขณะเดียวกันความผันผวนของตลาดทองคำก็น้อยลงแล้ว ดังนั้นสถานการณ์ราคาทองคำแนวโน้มในระยะสั้น มองว่ายังเป็นไซด์เวย์ มีพักฐานในระยะสั้นๆ อาจจะมีแรงขายออกมาบ้างที่ระดับแนวรับ1,680 -1,700 ดอลลาร์ต่อออนซ์ และเมื่อราคาเริ่มทรงตัวอาจมีแรงดีดกลับเป็นขึ้นไปต่อได้ในระยะยาวถึงสิ้นปีนี้ จากนอกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แล้วยังมีปัจจัยสำคัญ คือ ปัญหาการจลาจลของสหรัฐในหลายพื้นที่ อาจกระทบต่อการขยายตัวเศรษฐกิจสหรัฐในครึ่งหลังของปี ยังต้องลุ้นว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นกลับมาเป็นตัววีหรือยู ดูเหมือนว่าถ้าเป็นตัวยู จะกลายเป็นปัจจัยหลักที่สนับสนุนตลาดทองคำขยับขึ้นได้  ส่วนปัจจัยเดียวที่ยังกดดันราคาทอง คือวัคซีน หากเริ่มมีข่าวดีเรื่องวัคซีน แม้จะเป็นผลดีต่อตลาดทั่วโลกแต่จะเป็นผลลบต่อตลาดทองคำ

ทางด้านราคาทองคำในประเทศเราคาดการณ์ในระยะสั้นสิ้นปีนี้ น่าจะเคลื่อนไว้ในกรอบที่ 25,300 -26,000 บาท และในระยะยาวหลังปีนี้ยังเป็นขาขึ้นขยับไปที่27,000 บาทหรือทะลุระดับนี้ได้  จากในขณะนี้จะเห็นราคาทองปรับตัวลงบ้างจากบาทแข็ง ทำให้เริ่มมีแรงซื้อทองกลับมา แต่การซื้อขายหน้าร้านยังเป็นภาวะปกติ หากราคายังปรับตัวลงที่ระดับ25,100บาท มองว่ายังเป็นจุดที่กลับเข้ามาทยอยซื้อได้อีกรอบหากมองในระยะยาวยังเป็นขาขึ้น

นอกจากนี้กรณีที่ธปท. ออกมาระบุจะติดตามผู้ค้าทองคำเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน หลังจากเงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคในช่วง 2สัปดาห์ที่ผ่านมานั้น นายณัฐพงศ์ กล่าวว่า อาจเป็นความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน โดยต้องเข้าใจก่อนว่าในเดือนเม..ของทุกปี ยอดส่งออกทองคำน้อยอยู่แล้วเพราะเป็นช่วงสงกรานต์ แต่ช่วงโควิด-19 ทำให้อาจจะเห็นยอดส่งออกทองคำผ่านมาถึงเดือนเม..นี้ค่อนข้างมากกว่าช่วงปกติ เพราะเป็นยอดที่ข้ามมาของเดือนมี..ที่บางช่วงส่งออกไม่ได้ก็ต้องเลื่อนมาเป็นยอดแทนกัน

ตลาดทองคำบ้านเราแข็งแรงมากอยู่แล้ว  หากมีเรามาตรการมาควบคุม แต่ประเทศอื่นๆไม่คุมก็ต้องมีเงินจากไหลออกมาเข้ามาบ้านเราอยู่ดี ด้วยพื้นฐานเราดียิ่งรัฐบาลจัดการควบคุมโควิดได้ดี ทำให้ตลาดเชื่อมั่นมากขึ้น  ตอนนี้ก็เริ่มมีเม็ดเงินไหลเข้ามาในตลาดอื่นด้วย บาทแข็งคงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องทองคำทั้งหมด   จริงแล้วๆ อยากให้มองว่าตลาดทองคำ สามารถเป็นตัวช่วยค่าเงินและเอาเม็ดเงินมาช่วยเศรษฐกิจ หากเราศูนย์ซื้อรับทองคำ ซึ่งการหารือกับผู้ประกอบการ การวางโครงสร้างให้สมดุลกันน่าจะเป็นจุดที่สำคัญมากกว่า