การบินไทยชง4เรื่องขอรัฐบาลช่วยเหลือ

การบินไทยชง4เรื่องขอรัฐบาลช่วยเหลือ

การบินไทยเสนอ 4 เรื่องให้รัฐบาลช่วยเหลือ ทั้งจัดไทม์สล็อตเที่ยวบิน ประสานต่างประเทศห้ามยึดเครื่อง ช่วยเจรจาคู่ค้าบรรเทาค่าใช้จ่ายและการเปลี่ยนแปลงสิทธิหลังเป็นบริษัทมหาชน

นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการติดตมมการดำเนินการฟื้นฟูบริษัทการบินไทย จำกัด(มหาชน)เปิดเผยถึงกรณีที่คณะกรรมการชุดดังกล่าวเชิญผู้บริหารและที่ปรึกษาการเงินและกฎหมายเข้าร่วมประชุมเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า คณะกรรมการได้เชิญผู้บริหารและทีมที่ปรึกษากฎหมายและที่ปรึกษาทางการเงินเพื่อให้คณะกรรมการฯได้รับทราบสถานะคดีปัจจุบันของการบินไทย และมีแนวทางใดที่ต้องการให้คณะกรรมการฯให้ความช่วยเหลือด้านใดบ้าง

“เราเชิญผู้บริหารการบินไทย และเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่เป็นทีมงานและทีมที่ปรึกษากฎหมายและทีมที่ปรึกษาการเงิน โดยทีมที่ปรึกษาการเงิน เช่น ฟินันซ่า และ เบเคอร์ฯ ส่วนอีวายไม่ได้เชิญมา เพราะเขาเป็นผู้ถูกเสนอให้ผู้ทำงานด้านที่ปรึกษา แต่ยังไม่มีการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ  ซึ่งต้องรอวันที่ 17 ส.ค.นี้ “

ทั้งนี้มี 4 เรื่องหลักที่ทางการบินไทยต้องการให้คณะกรรมการฯช่วยเหลือ คือ 1.การจัดไทม์สล็อตเที่ยวบินเพื่อเพิ่มศักยภาพความเป็นเน็ตเวิร์คแอร์ไลน์ ซึ่งคณะกรรมการฯก็มีตัวแทนของคมนาคมอยู่ 2 ท่านอยู่แล้ว ซึ่งจะพิจารณาในส่วนของคมนาคมว่าทำได้หรือไม่เพียงใด

2.เมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้ว จะมีสภาวะการคุ้มครองเฉพาะภายใต้อำนาจศาลไทย แต่จะมีปัญหาเรื่องเครื่องบินที่มีสัญญาเช่าหรือเช่าซื้อ ถ้าเกิดว่า จะต้องบินไทยต่างประเทศ ซึ่งการผิดนัดชำระหนี้ จะทำให้เจ้าหนี้จะยึดเครื่องบินได้ ฉะนั้น จะต้องไปยื่น เพื่อให้ประเทศนั้นรับรู้ว่า ขณะนี้ มีการยื่นคำร้องฟื้นฟูแล้ว จึงอยากให้เราประสานให้เกิดความสะดวกในส่วนนี้

3.ขอให้ทางคณะกรรมการประสานคู่ค้าการบินไทย โดยเฉพาะคู่ค้ารัฐวิสาหกิจ เชน เอโอที และ ปตท. เพื่อบรรเทาค่าใช้จ่ายในระหว่างฟื้นฟู และ 4.สัญญาต่างๆที่การบินไทยทำไว้กับภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ ซึ่งก่อนหน้าสถานะเขาเป็นรัฐวิสาหกิจ เมื่อเปลี่ยนเป็นบริษทมหาชนต้องแก้ไขสัญญาให้สอดคล้องกัน โดยดูว่าสิทธิจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไร หรือบางสัญญาเป็นเรื่องรัฐวิสาหกิจทำกับรัฐวิสาหกิจเมื่อเปลี่ยนเป็นบริษัทจะเข้ากฎหมายร่วมลงทุนหรือไม่ ซึ่งหากมีกรณีดังกล่าวจะต้องแก้ไข เพื่อจะได้ไม่เป็นประเด็นโต้แย้งในศาล

เขาย้ำว่า คณะกรรมการฯชุดดังกล่าว จะไม่มีหน้าที่ไปก้าวล่วงการเจรจาใดๆของการบินไทย แต่ถ้ามีปัญหาอะไร ติดขัดข้อกฎหมาย จะเชิญมาสอบถามว่า ติดขัดอะไร และจะให้ภาครัฐใช้นโยบายลงไป ก็ไม่สามารถทำได้เช่นกัน เพราะขณะนี้ การบินไทยถือเป็นบริษัทเอกชนแล้ว กรณีที่ต้องเข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนฯนั้น เราจะหาจุดที่เชื่อมต่อ ไม่ต้องเริ่มใหม่ โดยให้ทีมกฎหมายการบินไทยไปดูว่า จะต้องดำเนินการในสัญญาใดๆหรือไม่

สำหรับสิทธิพิเศษที่ต้องหั่นทิ้งนั้น ก็ต้องไปดู ซึ่งจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกระทรวงคมนาคม เช่น สิทธิการบิน ต้องไปดูรายละเอียดกฎหมายทำได้แค่ไหน หรือต้องเปลี่ยนแปลงไป แต่ต้องหาช่องทางที่ทำให้การบินไทยฟื้นฟูสำเร็จ อะไรที่ผ่อนผันได้ตามกฎหมาย ก็ควรทำ

“บทบาทคณะกรรมการฯชุดนี้ จะเป็นโซ่ข้อกลางไม่ใช่ฝาชีคลอบ เนื่องจาก ก่อนหน้านี้ การบินไทยมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ฉะนั้น จะมีหน่วยงานหลักในการกำกับดุแล คือ กระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม เมื่อพ้นสภาพ จะไม่มีหน่วยงานทำหน้าที่ นั่นคือปัญหาที่ตั้งคณะกรรมการเพื่อประสารหน่วยบงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการบินไทยเพื่อหนุนการฟื้นฟูให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี”