‘สถานที่ชุมชน’ ปัจจัยเสี่ยง ‘โควิด-19’ เตือนประชาชนดูแลตัวเอง

‘สถานที่ชุมชน’ ปัจจัยเสี่ยง ‘โควิด-19’ เตือนประชาชนดูแลตัวเอง

ศบค.เผยพบผู้ป่วยรายใหม่โควิด-19 เพิ่ม 1ราย ใน State Quarantine ย้ำสถานที่ชุมชนยังเป็นปัจจัยเสี่ยง ฝากประชาชน สวมใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ดูแลตัวเอง

สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันนี้ ว่า ประเทศไทยพบจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 1  ราย รวมยอดสะสม 3,084  ราย ไม่พบผู้เสียชีวิตรายใหม่ เสียชีวิตรวม 58 ราย รักษาหายกลับบ้าน 2,968 ราย หรือ 96.24% ยังรักษาตัวในโรงพยาบาล58 ราย

วันนี้ ( 3มิ.ย. 2563) ที่กระทรวงสาธารณสุข แพทย์หญิงพรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กล่าวว่าผู้ป่วยยืนยันจำแนกตามพื้นที่รักษา แบ่งเป็นกรุงเทพฯและนนทบุรี 1,723ราย ภาคเหนือ 95 ราย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 111 ราย ภาคกลาง 414 ราย  และภาคใต้ 741 ราย อายุน้อยสุด 1 เดือน อายุเฉลี่ย 39 ปี และอายุสูงสุ 97 ปี อัตราส่วนหญิง:ชาย เท่ากับ 1:1.21 สูงสุดในกลุ่มอายุ 20-29 ปี  จำนวนผู้ป่วยสูงสุดในกลุ่มอายุ 20-20 ปี  796 ราย

สำหรับผู้ป่วยรายใหม่ วันที่ 3 มิ.ย.จำนวน 1  ราย เป็นผู้ป่วยเพศชาย อายุ26 ปี อาชีพนักศึกษา เดินทางมาจากกรุงริยาด ประเทศซาอุดิอาระเบีย มากัวลาลัมเปอร์ เดินทางเข้าประเทศไทยทางด่านปาดังเบซาร์ โดนรถบัสมาถึงไทย วันที่ 25 พ.ค.2563 ผลตรวจครั้งที่ 1 ไม่พบเชื้อ เข้าพบState Quarantine จ.ปัตตานี ผลตรวจครั้งที่ 2 วันที่ 31 พ.ค.2563 พบเชื้อ ไม่มีอาการป่วย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในจ.ปัตตานี

ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยเข้ารับการรักษาจำนวน 3,084 ราย ใน 68 จังหวัด อัตราป่วย 4.64 ต่อแสนประชากร ไม่รวม Start Q 4.32 ต่อแสนประชากร โดยจังหวัดที่มีผู้ป่วยสะสมใน 3 จังหวัดแรก ไม่ร่วมStart Q ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 1,535 คน หรือ 27.07 อัตราป่วยต่อแสนประชากร ภูเก็ต 227 คน หรือ 54.91 อัตราป่วยต่อแสนประชากร และนนทบุรี 158 คน หรือ 12.58 อัตราป่วยต่อแสนประชากร

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวต่อว่าส่วนของสถานการณ์โรคโควิด-19 ในสถานกักกันโรคของรัฐที่ส่วนกลางและภูมิภาค ตั้งก.พ.-3 มิ.ย.2563 พบผู้ป่วยในสถานกักกันโรคฯ จำนวนผู้ป่วย 147 ราย เพศชาย:หญิง เท่ากับ 6.35: 1 (127:20) ค่าเฉลี่ยอายุ 39 ปี (ต่ำสุด 15 ปี สูงสุด 77 ปี) โดยประเทศต้นทาง 5 อันดับแรก ได้แก่ อินโดนีเซีย ซาอุดิอาระเบีย คูเวต ปากีสาน และคาซัตสถาน

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยง 5 อันดับแรก ข้อมูล ณ วันที่ 3 มิ.ย. จากจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสม ได้แก่ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ 1,191 ราย ร้อยละ 39.75 อาชีพเสี่ยง เช่น ทำงานในสถานที่แออัด 284 ราย ร้อยละ 9.48สนามมวย 274 ราย ร้อยละ 9.15 คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 269 ราย ร้อยละ 8.98 และสถานบันเทิง  227  ราย ร้อยละ7.58

จำนวนผู้ป่วยยืนยัน 2 สัปดาห์ล่าสุด ได้แก่ ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและเข้าสถานกักกันของรัฐ 46 ราย ไปสถานที่ชุมชน เช่น ตลาดนัด สถานที่ท่องเที่ยว 3 ราย  และสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า 1 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังมีการแพร่กระจายในสถานที่ชุมชนอยู่ ดังนั้น อยากให้ประชาชนดูแลตัวเอง 

สำหรับ สถานการณ์ทั่วโลก 211 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 2 เรือสำราญ มีผู้ติดเชื้อรวม 6,485,571  ราย อาการหนัก 54,528 ราย รักษาหาย 3,010,695ราย เสียชีวิต 382,412 ราย โดย 10 อันดับ ผู้ป่วยสูงที่สุด อันดับที่ 1 ยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา ถัดมา ได้แก่ บราซิล รัสเซีย สเปน อังกฤษ อิตาลี อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี และเปรู ขณะที่ ประเทศในเอเชียพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 79 ของโลก

“ขณะนี้มีมาตรการผ่อนปรนในระยะที่ 3 ซึ่งทำให้พี่น้องประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้น แต่การใช้ชีวิตปกตินี้จะต้องเป็นความปกติใหม่ หรือวิถีชีวิตใหม่ และอาจทำให้หลายคนไม่คุ้นชิน จึงอยากขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนทุกคนให้ดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่ได้ออกมา โดยเฉพาะการดูแลปฎิบัติตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น การสวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และเว้นระยะห่างทางบุคคล  ไปสถานที่ต่างๆก็ดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด”แพทย์หญิงพรรณประภา กล่าว