ครม.เดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

ครม.เดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

ครม.เดินหน้าโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2563 ว่า ครม.รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2563 เรื่องโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1.รับทราบผลการคัดเลือกบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิสัมปานและเป็นผู้ร่วมลงทุน คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ซึ่งเป็นบริษัทที่เสนอเงินประกันผลตอบแทนค่าเช่าและส่วนแบ่งรายได้ขั้นต่ำให้แก่รัฐได้สูงที่สุด

2.อนุมัติให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ลงนามในสัญญาร่วมทุนกับนิติบุคลลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยเอกชนที่ได้รับคัดเลือกโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

3.อนุมัติให้กองทัพเรือดำเนินกระบวนการหรือขั้นตอนเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกชนที่จะเป็นผู้รับงานโครงการก่อสร้างทางวางวิ่งที่2 และทางขับไปพลางก่อน ระหว่างรอผลการพิจารณารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แต่จะยังลงนามในสัญญาว่าจ้างกับผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกไม่ได้จนกว่ารายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

4.เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณ กรอบวงเงิน 390 ล้านบาท สำหรับโครงการพัฒนาการให้บริการอุตุนิยมวิทยาการบิน ดำเนินการปี พ.ศ.2564-2566

5.เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณ จากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ.2563 กรอบวงเงิน 31.2 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการรื้อย้ายระบบสายไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

6.เห็นชอบให้กองทัพเรือขอรับการจัดสรรงบประมาณ กรอบวงเงินไม่เกิน 468 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการนำสายไฟลงใต้ดินเพื่อเส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองงการบินภาคตะวันออก

นางสาวรัชดา กล่าวว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 6,500 ไร่ มีทั้งศูนย์ธุรกิจการค้าและการขนส่งสินค้า ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน เขตประกอบการค้าเสรี ศูนย์ฝึกอบรมการบิน โดยมีผลตอบแทนด้านการเงิน มูลค่าปัจจุบัน 3.05 แสนล้านบาท (เป็นเงินรวม 1.326 ล้านบาท ใน 50 ปี) เมื่อสิ้นสุดสัญญา ทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐ ซึ่งโครงการนี้จะเป็นโยชน์ในการสร้างรายได้จากภาษี ประมาณ 6.2 หมื่นล้านบาท มีการจ้างงานเพิ่ม 15,600 ตำแหน่งต่อปี ภายใน 5 ปีแรก