'เมเจอร์-เอสเอฟ' ฮึดเปิดโรงหนัง ฟื้นรายได้ ขายตั๋วราคาเดิม

'เมเจอร์-เอสเอฟ' ฮึดเปิดโรงหนัง ฟื้นรายได้ ขายตั๋วราคาเดิม

เมื่อต้องเปิดโรงหนัง และขายที่นั่งได้แค่ 25% แต่แบกต้นทุนค่าเช่าพื้นที่ ค่าจ้างพนักงน ค่าดำเนินการต่างๆเต็มที่ กลายเป็นการ "ควักเนื้อ" หนักกว่าเดิม แต่เมื่อ "ทางเลือก" ฟื้นธุรกิจจำกัด ค่ายหนังจึงงัดทุกกลยุทธ์ ทำทุกทาง สร้างรายได้

ปี 2562 อุตสาหกรรมโรงภาพยนตร์มีมูลค่าตลาดราว 9,000 ล้านบาท และยังมีอัตราเติบโตที่ดี ทว่าปี 2563 สถานการณ์ตลาดไม่สวยหรู เพราะโรคโควิด-19 กลายเป็นปัจจัยช็อก!โลก ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คน ธุรกิจหลายเซ็กเตอร์สาหัสจากการปิดกิจการในช่วงล็อกดาวน์หนึ่งในนั้นคือธุรกิจโรงภาพยนตร์ ตั้งแต่ 18 มี..ที่ผ่านมา ต้องปิดให้บริการจนถึง 31 ..รวม 75 วัน ที่รายได้เป็นศูนย์

ล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.ประกาศผ่อนคลายล็อกดาวน์ระยะที่ 3 โรงภาพยนตร์กลับมาเปิดให้บริการได้ตั้งแต่ 1 มิ..2563 โดยยังคงมีมาตรการรักษาระยะห่าง ทำความสะอาดเข้มข้น ที่นั่งให้บริการได้แค่ 25% เท่านั้น หมายถึงยังคงเสียรายได้ 75% ผู้ประกอบการใน 2 รายใหญ่ ค่ายเมเจอร์ และเอสเอฟ จะปรับตัวทำธุรกิจอย่างไร !

159106576874

เป็นผู้นำตลาดที่รายได้ทะลุหมื่นล้านบาทแต่ไตรมาสแรก เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ประสบภาวะขาดทุนกว่า 250 ล้านบาท ดังนั้นภารกิจจากนี้คือกอบกู้รายได้ หาทางเติบโต โดย นรุตม์    เจียรสนอง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) เล่าแผน งัดอาวุธการตลาดทุกรูปแบบมาดึงผู้บริโภคให้มาเสพความบันเทิงนอกบ้านด้วยการดูภาพยนตร์

หมัดเด็ดสุดคือ คอนเทนท์หรือภาพยนตร์ไทย-เทศ ฟอร์มเล็กใหญ่ ต้องเร่งโปรโมท และผสานค่ายภาพยนตร์เพื่อนำออกมาฉายดึงคนดู โดยระยะแรกภาพยนตร์เก่าๆราว 50% ถูกนำมาฉายอีกครั้ง และภาพยนตร์ไทยอย่าง พจมานสว่างคาตา ภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์เสริมทัพ เช่น TENET หนังสายลับ ของผู้กำกับ “คริสโตเฟอร์ โนแลน” จากค่ายวอร์เนอร์ ที่ยืนยันไม่เลื่อนฉายมู่หลานจากวอลท์ ดีสนีย์

หนังไม่มีวันหมดอายุ ไม่ใช่ของเสีย ที่เคยฉายแล้วนำมาฉายได้ และไตรมาส 4 จะมีหนังใหญ่ฉายทุกสัปดาห์ต่อเนื่อง

เมเจอร์ ไม่รอแค่ภาพยนตร์จากค่ายอื่น เพราะบริษัทมีสตูดิโอและผนึกพันธมิตรสร้างภาพยนตร์สู่ตลาด โดยเฉพาะภาพยนตร์ไทย ปี 2563 มี 20 เรื่อง เมื่อฉายจอเงิน ยังหารายได้จากจออื่นทั้งต่างประเทศ สตรีมมิ่งค่ายต่างๆ

 การดึงคนยังงัดโปรโมชั่นเต็มที่ เมื่อซื้อบัตรชมภาพยนตร์ผ่านแอพพลิเคชั่น Major Cineplex รับส่วนลด 30 บาทต่อที่นั่ง สมาชิกบัตร M Gen Regular รับส่วนลด 50 บาทต่อที่นั่ง สมาชิก M Gen ทุกประเภท เมื่อซื้อผ่าน App Major Cineplex รับคะแนนเพิ่ม 5 เท่า เป็นต้น ซึ่งสมาชิกบัตรมีมากกว่า 1.5 แสนราย และยังเป็นการกระตุ้นยอดขายออนไลน์ให้แตะ 50% และ 80% เหมือนในจีน จากปัจจุบัน 15%

159106579072

กลยุทธ์เหล่านี้ นรุตม์ ต้องการสร้างยอดขายตั๋วให้ได้กว่า 90% จากสัดส่วนที่ให้บริการได้ 25% หวังฟื้นยอดขายทั้งปีให้ทรงตัวเท่าปีก่อน ที่ขายตั๋วราว 35.5 ล้านใบ รายได้ทั้งปี 62 กว่า 1.1 หมื่นล้านบาท กำไรกว่า 1,100 ล้านบาท

 

จะต้องการเปิดให้บริการหรือปิดต่อแต่นาทีนี้ต้องเดินหน้าเมื่อรัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์ ห้างกลับมาเปิดต้นทุนการดำเนินงานวิ่งแล้ว เมื่อทางเลือก!ไม่มี พิมสิริ     ทองร่มโพธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จึงงัดแผนงานทุกอย่างมาใช้ เริ่มจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด สร้างความมั่นใจให้ลูกค้ามาใช้บริการ และออนไลน์ถูกนำมาตอบสนองพฤติกรรมการซื้อตั๋วและดูภาพยนตร์ของผู้บริโภค

159106541332

พิมสิริ    ทองร่มโพธิ์

การกลับมาขายที่นั่งได้เพียง 25% นาทีนี้จึงเร่งโปรโมทหน้าหนังให้แฟนๆรับรู้ ภาพยนตร์ดีเด็ดมีเท่าไหร่ จะอัดเข้าโรงเต็มที่ เมื่อเข้าฉายจะยืนระยะให้นานเป็นเดือน จากเดิมฉายราว 2 สัปดาห์

ทั้งนี้ มาตรการเคอร์ฟิว การตั้งการ์ดป้องกันโรคยังเข้มข้น ทำให้จำนวนรอบฉายลด 2 รอบต่อวัน จาก 4-5 รอบต่อวัน แต่ภาพรวมของต้นทุนการบริหารจัดการมหาศาล เฉลี่ยต่อเดือนหลักร้อยล้านทำให้บริษัทต้องหาทางลดต้นทุนรอบด้าน

นอกจากนี้ เปิดโรงภาพยนตร์แบบปัจจุบัน ทั้งที่ควรมีเวลาเตรียมตัว 3 สัปดาห์โปรโมท ทำให้เดินหน้าเจรจากับพันธมิตร รัฐเพื่อหาทางช่วยเหลือลดผลกระทบ ประคองกิจการกันไป

ปีนี้ครบ 20 ปี ของเอสเอฟ เดิมบริษัทมีโปรเจคมากมาย เพื่อสร้างปรากฏการณ์ทั้งการขายตั๋วเพิ่มขึ้น จากปีก่อน 20 ล้านบาท ปี 2563 พลาดเป้าแน่ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ระดมทุนไตรมาส 3 ต้องนับหนึ่งอีกครั้งเพราะตามเกณฑ์ตลาดฯต้องทำกำไร 3 ปีติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีการเงินแกร่ง และเดินหน้าลงทุนขยายโรงภาพยนตร์ 4 แห่งปีนี้ งบลงทุนราว 70 ล้านบาทต่อโรง

ช่วงธุรกิจปิดให้บริการทุกคนคงทำเหมือนกันคือดูต้นทุน ลดรายจ่ายในรายละเอียดมากขึ้น เมื่อกลับมาเราจัดรอบฉายให้ดีที่สุด เพราะการกลับมาโอกาสขายที่นั่งมีเพียง 25% แต่ต้นทุนเรากลับมาปกติ

อย่างไรก็ตาม ต้นทุนผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ค่ายยังคงจำหน่ายตั๋วหนังในราคาเดิม เอสเอฟ เฉลี่ย 160 บาทต่อที่นั่ง ส่วนเฟิร์สคลาสราว 900 บาทต่อที่นั่ง

159106546822