จากกรณี 'George Floyd' ย้อนรอยความตายของคน 'ผิวสี' สู่การประท้วงใหญ่ในสหรัฐ

จากกรณี 'George Floyd' ย้อนรอยความตายของคน 'ผิวสี' สู่การประท้วงใหญ่ในสหรัฐ

กรณีการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ (“George Floyd”) ไม่ใช่ครั้งแรกของประเด็น “คนผิวสี” ที่นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ในสหรัฐ ไปย้อนดูกันว่า การประท้วงเรียกร้องความยุติธรรมให้กลุ่มคนผิวสีครั้งสำคัญว่า แต่ละครั้งมีชนวนเหตุจากอะไร

"I can't breathe." ประโยคการร้องขอระหว่างการถูกจับกุม และภาพเสียดสีการคุกเข่าของตำรวจ 4 นาย ถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่เหล่าผู้ประท้วงใช้ในการเรียกร้องต่อการจากไปของ จอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd) ชายผิวสีชาวอเมริกัน วัย 46 ปี

จอร์จ ฟลอยด์ เสียชีวิตขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองมินนีแอโปลิส รัฐมินนิโซตา 4 นายใช้กำลังควบคุมตัวเนื่องจากต้องสงสัยว่าเขาครอบครองและกำลังใช้เงินดอลลาร์ปลอม โดยดีเรค โชฟวิน ตำรวจผิวขาวใช้เข่ากดคอ จอร์จ ฟลอยด์ นานเกือบ 9 นาที จนเขาขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตในเวลาต่อมา 

การกระทำของตำรวจนายดังกล่าวซึ่งถูกไล่ออกจากราชการพร้อมกับเพื่อนตำรวจอีก 3 นายไปแล้ว กลายเป็นชนวนเหตุให้เหล่าอเมริกันชนออกมาเรียกร้องต่อต้านความอยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนผิวสีอีกครั้ง ภายใต้การเคลื่อนไหวที่เรียกว่า Black Lives Matter ที่แปลว่า ชีวิตคนผิวดำก็สำคัญ

การประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมให้แก่ จอร์จ ฟลอยด์ ขยายวงกว้างออกไปตามเมืองต่าง ๆ โดยที่เมืองมินนิแอโปลิส ผู้คนไม่สนใจคำสั่งเคอร์ฟิวของทางการและออกมาชุมนุมประท้วงเมื่อคืนวันศุกร์ (29 ..) ด้วยการเผารถยนต์หลายคัน และทุบทำลายร้านค้าก่อนเข้าไปขโมยสิ่งของ เรียกได้ว่า ขณะนี้บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะจลาจลเต็มรูปแบบ

นอกจากนี้ เหตุการณ์ประท้วงการเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ กลายเป็นการประท้วงขอความเป็นธรรมให้กับคนผิวสีครั้งใหญ่ที่สุดของสหรัฐในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา และในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา ดินแดนแห่งเสรีภาพแห่งนี้ประสบเหตุการณ์ประท้วงที่เกี่ยวข้องกับปมขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติอยู่บ่อยครั้ง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: มรณกรรม 'จอร์จ ฟลอยด์' อยุติธรรมไม่ลบเลือน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนย้อนดูชนวนการประท้วงเรียกร้องแก่กลุ่มคนผิวสีครั้งใหญ่ตลอดปีที่ผ่านมานั้น มีสาเหตุจากอะไร หรือเกิดการสูญเสียของใครบ้าง 

159100762124

 

  • 2555 Trayvon Martin

เทรย์วอน มาร์ติน (Trayvon Martin) วัยรุ่นผิวสีวัย 17 ปี ผู้ไม่มีอาวุธ ถูกยิงเสียชีวิตในปี 2555 ที่เมืองแซนฟอร์ด ในรัฐฟลอริดา โดย จอร์จ ซิมเมอร์แมน (George Zimmerman) ชายผิวขาว ท้ายที่สุด คณะลูกขุนของศาลตัดสินว่า ซิมเมอร์แมน ไม่มีความผิดเพราะเป็นการป้องกันตนเองตามกฎหมายของรัฐฟลอริดา 

ภายใน 36 ชั่วโมงหลังจากที่คำพิพากษาได้ตัดสินออกมา พลเมืองชาวสหรัฐมีการเดินขบวนตั้งแต่นิวยอร์กไปจนถึงแคลิฟอร์เนีย รวมถึงการนัดรวมตัวที่ บอสตัน ดีทรอยต์ บัลติมอร์ ซานฟรานซิสโก และเมืองอื่น ๆ อีกทั่วสหรัฐ ซึ่งมีปรากฏการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นทันทีที่ เมืองโอคแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย มีการจุดไฟเผาถังขยะ ทำลายร้านค้า

เหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมแก่ เทรย์วอน มาร์ติน ถือเป็นการจุดชนวนให้อเมริกันชนแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องการกระทำแก่คนผิวสีอย่างกว้างขวาง และ ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง Black Lives Matter องค์กรอิสระที่จัดตั้งขึ้นเพื่อยุติธรรมต่อคนผิวสีอย่างเป็นทางการ 

159100764093

159100776886

 

  • 2557 Eric Garner และ Mike Brown Jr.

การประท้วงแก่คนผิวสีปี 2557 ถูกจุดประเด็นอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่การเสียชีวิตของ "อีริค การ์เนอร์" (Eric Garner) ผู้ถูกตำรวจนิวยอร์กรัดคอจนเสียชีวิต และ "ไมเคิล บราวน์ จูเนียร์" (Michael Brown Jr.) ที่ถูกตำรวจเมืองเฟอร์กูสันยิงเสียชีวิตในเดือน .ค. ระหว่างการต่อสู้บนถนน

ผู้ประท้วงที่ไม่พอใจการตัดสินและต้องการเรียกร้องต่อเหตุการณ์ของการสูญเสียการ์เนอร์ และบราวน์ จูเนียร์ นั้นเริ่มเริ่มเดินขบวนในหลายเมืองใหญ่ รวมทั้งที่นครนิวยอร์ก กรุงวอชิงตัน นครชิคาโก นครดีทรอยต์ นครลอสแอนเจลิส และนครซีแอตเทิล ผู้ประท้วงจำนวนมากต่างนอนลงบนพื้นถนนเส้นสำคัญ ๆ เพื่อจำลองเหตุการณ์เสียชีวิตของชายผิวดำ 2 คน

159100783118

ผู้ประท้วงพากันตะโกนคำว่า "Black Lives Matter" หรือ ชีวิตคนผิวดำก็สำคัญ และการประท้วงที่รุนแรงที่สุดเกิดขึ้นที่เมืองเบิร์คลี่ย์ทางเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อผู้ประท้วงปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีการทำลายทรัพย์สิน ทำลายหน้าต่างห้างร้านและปล้นร้านค้าในบริเวณนั้น

สรุป สุดท้ายการชุมนุมจบลงด้วยการเสนอแบบร่างกฎหมายคุ้มครองคนผิวสีแก่รัฐบาลของ "บารัก โอบามา" ประธานาธิบดีในขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้นำผิวสีคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐ

159100784843

159100836441

 

  • 2561 Stephon Clark

สเตฟอน คลาร์ก (Stephon Clark) หนุ่มผิวสีวัย 22 ปี ถูกยิงที่หลังบ้านของตัวเอง จากความผิดพลาดที่ตำรวจเห็นโทรศัพท์ในมือของเขาเป็นปืนสำหรับใช้ในการต่อสู้

อัยการเขตซาคราเมนโต เคาน์ตี รัฐแคลิฟอร์เนีย มีคำสั่งไม่สั่งฟ้องเจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายที่ลั่นไก 8 ครั้ง โดยอ้างว่า "เป็นการกระทำที่ชอบธรรม" โดยใช้หลักฐานจากกล้องติดตัวตำรวจและวิดีโอจากเฮลิคอปเตอร์ของตำรวจจากที่เกิดเหตุ รวมไปถึงการให้การจากพยาน ซึ่งในบันทึกการโทรศัพท์แจ้งสายด่วน 911 ระบุว่ามีโจรขโมยรถ 

การตัดสินคดีครั้งนี้ทำให้เกิดการประท้วงขึ้นทันทีในค่ำของวันนั้น ที่สำนักงานใหญ่สถานีตำรวจในเมืองซาคราเมนโต หลังจากนั้นการประท้วงขยายวงกว้างและได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Black Lives Matter และขยายวงกว้างไปอีกหลายเมืองเช่นกัน

การประท้วงสำหรับกลุ่มคนผิวสีมีประเด็นทุก ๆ ปี แต่นั้นก็เป็นการตอกย้ำว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับคนผิวสีนั้นไม่เคยหายไป