บทเรียนสู้โควิดของ ‘ธนินท์ เจียรวนนท์’

บทเรียนสู้โควิดของ ‘ธนินท์ เจียรวนนท์’

เปิดมุมมอง "ธนินท์ เจียรวนนท์" ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ กับแนวคิด "3 ประโยชน์ 4 ประสาน" ที่จะมาช่วยขับเคลื่อนธุรกิจหลังวิกฤติโควิด-19 ในวันที่โลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

“เปิดมุมคิดธุรกิจ พิชิตโควิด-19” โชว์แนวคิด “3 ประโยชน์ 4 ประสาน” ขับเคลื่อน ธุรกิจ ชี้หลังโควิด-19 จะเกิดโอกาสที่ยิ่งใหญ่ โลกจะเปลี่ยนแปลงอย่าง ใหญ่หลวง คือหัวข้อที่ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ “ธนินท์ เจียรวนนท์” มาถ่ายทอดในฐานะอาจารย์พิเศษของโครงการ “CBS Dean’s Distinguished Lecture Series : The Master Class” จัดโดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ ความคิด เป็นบทเรียนสอนนักศึกษา นักธุรกิจ และบุคคลทั่วไป

สำหรับบทสรุปที่คุณธนินท์เสนอแนะก็คือ การเตรียมพร้อมหลังโควิด-19 คือ โอกาสที่ยิ่งใหญ่ โลกจะเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง ซึ่งแนวคิด 3 ประโยชน์ของเครือซีพีนั้น (ประโยชน์แก่ประเทศชาติ ประโยชน์แก่ประชาชน สุดท้ายจึงเป็นประโยชน์แก่บริษัท) “ถ้าเราทำอะไร ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์ก่อน ถ้าประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์ หรือ ประเทศไหนก็ตามที่เราไปลงทุน ถ้าประเทศเขาไม่ได้ประโยชน์ เขาจะ สนับสนุนเราได้ยังไง และสินค้าของเรา ถ้าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ เขาก็ไม่ซื้อสินค้าของเรา” ที่สามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ใหญ่-กลาง-จิ๋ว

“ถ้าเราทำอะไร ประเทศชาติต้องได้ประโยชน์ก่อน ถ้าประเทศชาติไม่ได้ประโยชน์ หรือ ประเทศไหนก็ตามที่เราไปลงทุน ถ้าประเทศเขาไม่ได้ประโยชน์ เขาจะ สนับสนุนเราได้ยังไง และสินค้าของเรา ถ้าประชาชนไม่ได้ประโยชน์ เขาก็ไม่ซื้อสินค้าของเรา” ที่สามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกขนาดตั้งแต่ใหญ่-กลาง-จิ๋ว

“เปรียบเทียบได้กับธุรกิจทั่วไป ถ้าเราเป็นผู้นำ หรือซีอีโอของบริษัท เราทำอะไรก็ต้องคิดถึงบริษัทก่อน คิดถึงพนักงานก่อน แล้วตัวเองคิดถึงทีหลัง หรือถ้าเราเป็นผู้จัดการฝ่าย เราต้องคิดถึงฝ่ายนี้ ทำแล้วฝ่ายนี้ได้ประโยชน์อะไร พนักงานในฝ่ายนี้ได้ประโยชน์อะไร แล้วเราถึงจะเป็นทีหลัง”

นักธุรกิจที่ดี ต้องคิดกว้าง มองให้รอบ ลงทุนอย่างฉลาด หาวิธีทำางานที่มี ประสิทธิภาพ

“4 ประสาน” ความร่วมมือ 4 ฝ่าย ต่อยอดธุรกิจ

ยังมีแนวคิด 4 ประสาน หมายถึง ความร่วมมือ 4 ฝ่าย ระหว่างรัฐบาล เกษตรกร บริษัทเอกชน สถาบัน การเงิน ซึ่งประธานอาวุโสเครือซีพีมีความเห็นว่า ต่อไปในอนาคตทุกอย่างต้องบูรณาการ จึงมีความจำเป็นต้อง 4 ประสาน

เรื่องแรก รัฐบาลต้องเห็นด้วยว่าเราทำอย่างนี้ประเทศเขาได้ประโยชน์ เกษตรกรได้ประโยชน์ แล้วเราถึงจะได้ประโยชน์ ทั้งนี้เกษตรกรทั่วโลกเหมือนกันหมด โดยเฉพาะประเทศยังไม่พัฒนา

กล่าวคือ เกษตรกรก็มีฐานะยากจน ประเทศก็ยากจน แม้เมืองไทยวันนี้เราพัฒนาไปแล้ว แต่เกษตรกรยังยากจน เพราะเขาขาดความรู้ เขาขาด เงินทุน ขาดตลาด ฉะนั้นจะต้องช่วยเกษตรกร ต้องไปช่วยเงินเขา ต้องไปช่วยเทคโนโลยี ไปสอนเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้สินค้ามีคุณภาพ ซึ่งก็ยังไม่พอ ต้องไปช่วยเขาขาย ขายในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจที่ดีจะต้องมองไกล มองกว้าง มองลึก มองทุกภาคส่วน คือ บทเรียนที่นำไปใช้ต่อและนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจได้

ตีโจทย์ธุรกิจ ต้อง “คิด-ต่างกว้าง-ลงทุน”

นักธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จ ต้องเป็นนักคิด ต้องคิดให้เยอะ คิดดี ต้องนึกลูกค้าว่าอยากได้อะไรมากกว่า ที่เราอยากผลิต รายได้ของธุรกิจไม่ได้ เกิดจากเงินที่ลูกค้าจ่ายเท่านั้น แต่รายได้แปรตามความสุขที่ลูกค้าจะได้รับ หากทำให้ลูกค้ามีความสุขมากเท่าไหร่ ก็จะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้นักธุรกิจต้องคิดต่าง นอกจากเป็นนักคิดแล้ว ต้องคิดให้แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ เช่น ถ้าผลิตข้าวไม่ได้ ต้องหาทางผลิตอย่างอื่น ต้องคิดอย่างแตกต่าง และมีความคิดสร้างสรรค์ และต้องรู้จักเปลี่ยนคือเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ เมื่อโลกเปลี่ยนหรือเจอวิกฤติ เราต้องปรับตัวตามให้ทัน นักธุรกิจที่ดีจะต้องคิดกว้าง มองให้รอบ และต้องลงทุนอย่างฉลาด ต้องมอง รอบด้าน หาวิธีทำงานที่มีประสิทธิภาพ และวางแผนให้กว้าง ลึก และระยะยาว

ประธานอาวุโสซีพีกล่าวปิดท้าย โดยแสดงความมั่นใจว่า ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกได้อย่างแน่นอน ซึ่งจะนำมาด้วยการเป็นศูนย์กลางแพทย์ของโลก ศูนย์กลางท่องเที่ยวของโลก เมืองไทยยังเต็มไปด้วยโอกาส

สำหรับตัวผมเองในฐานะคณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ขอสรุปปิดท้ายว่า แม้วันนี้ยังต้องเผชิญกับสถานการณ์วิกฤติ แต่กำลังใจเกิดได้จากการมองเห็นโอกาส เห็นในสิ่งที่คนอื่นยังมองไม่เห็น หากเราเห็นได้เร็วกว่าและทำได้เร็วกว่า ก็จะไปได้ไกลกว่า เพราะโลกวันนี้ไม่ได้แย่ตลอดไป แต่ยังมีอนาคตรอคนที่เห็นโอกาสอยู่ข้างหน้า