'สงครามข่าว' สหรัฐ-จีน : คำเตือนก่อนศึกการค้าปะทุ

'สงครามข่าว' สหรัฐ-จีน :  คำเตือนก่อนศึกการค้าปะทุ

หากใครก็ตามถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของความเสียหายระดับโลก คงไม่มีใครอยู่นิ่งได้ เรากำลังพูดถึง สหรัฐ-จีนที่กำลังทำสงครามการค้า สงครามข้อมูลข่าวสาร ว่าด้วยการ “เช็คบิล” หาต้นตอวิกฤติโควิดที่ร้ายแรงระดับโลกนี้

หากใครก็ตามถูกกล่าวหาว่า เป็นต้นเหตุของความเสียหายระดับโลก คงไม่มีใครอยู่นิ่งได้ แม้ข้อมูลและความเป็นไปได้ ค่อนข้างจะชี้ไปในทางที่สอดคล้องกับข้อกล่าวหา หลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ เกิดกระแส “เช็คบิล” ต้นตอวิกฤติร้ายแรงระดับโลกนี้

เรากำลังพูดถึงสถานการณ์ที่จีนกำลังเผชิญหน้ากับสหรัฐ ที่กำลังเรียกร้องหาสาเหตุของโรคโควิด-19 ที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมไปทั่่วโลก

แน่นอนใครเป็นจีนก็ไม่สามารถนิ่งเฉยอยู่ได้ จึงต้องส่งกลับข้อมูลว่า"จีนไม่ใช่ต้นเหตุแห่งปัญหาแม้จีนอาจอยู่ในฐานะฟังไม่ขึ้นเพราะ พฤติกรรมปกปิด บิดเบือนข้อมูลก่อนหน้านี้ แต่พูดมากดีกว่าพูดน้อย พูดบ่อยดีกว่านิ่งเฉย น่าจะเป็นยุทธศาสตร์ของจีนที่จะนำมาใช้ ซึ่งจะได้ผลหรือไม่อย่างไรเป็นเรื่องที่ต้องดูกันต่อไป แต่สงครามข่าวสารกำลังตอบโต้กันไปมาอย่างน่าจับตามอง

ผลกระทบจากความกินแหนง แคลงใจกันระหว่างสหรัฐและจีน กำลังนำไปสู่ความกังวลที่ว่า “สงครามการค้า” กำลังจะปะทุขึ้นมาอีกระลอก และแน่นอน ผลพวงจากสองยักษ์ปะทะกัน ย่อมสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม

สถานการณ์ที่ย้ำแย่อยู่แล้วอาจยิ่งต่ำลงไปอีก แต่ประเทศต้องการศัตรูเพื่อรวมใจเป็นหนึ่ง สหรัฐกำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งทั่วประเทศเพื่อสรรหาประธานาธิบดีหลังผู้นำคนปัจจุบันกำลังจะหมดวาระ ในพ.ย.นี้

ทรัมป์ สมัยสอง ยังมีลุ้นเพราะท่ามกลางความหงุ่นง่านการแก้ปัญหาโรคระบาด การสร้างศัตรูของชาติเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่า Work ที่เดียว ขณะที่เหตุผลที่ไม่ใช่การเมือง กำลังทำให้การขยับขับเคลื่อนทางการค้าและการลงทุนถึงจุด Turning point อีกครั้ง

การลงทุนจะไปต่อ คือลุยลงทุนในจีนต่อไปอีก หรือทบทวนเพื่อถอดบทเรียนหลังอู่ฮั่น ปิดเมืองหลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก แม้เงื่อนไขนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้วแต่ก็ไม่มีใครรับประกันได้ว่าจะไม่เกิดอีก และยังมีความท้าทายจากศึกการค้าที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกระลอก ทุนสหรัฐ หรือแม้แต่ชาติอื่นๆ ทั้งญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ต้องถามตัวเองว่า

“จีนยังหอมหวนสำหรับการลงทุนหรือไม่ ตลาดขนาดใหญ่ของจีน น่าสนใจก็จริง แต่การถูกล้อมด้วยเงื่อนไขกีดกันทางการค้าต่างๆ มันคุ้มค่ากันหรือไม่”

จบจากศึกไวรัสตัวร้าย แล้ว ก็เป็นศึกการค้า ที่ต้องสู้กันอีกยก แต่ไม่ว่าจะเพื่อเหตุผลป้องกันคนในชาติพ้นจากโรคร้าย หรือเหตุผลเคลือบแฝงอะไรก็ตาม ขอให้ตั้งสติ พิจารณาจากรายงานของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติUNDP เผยแพร่รายงานThe Social and Economic Impact of COVID-19 in the Asia-Pacific Region สาระส่วนหนึ่งเผยถึงสมมติฐานเศรษฐกิจหลังโควิดว่าจะมีแนวโน้มอย่างไร บางสมมติฐานดีและบางสมมติฐานแย่ ซึ่งข้อมูลนี้อาจช่วยให้คาดการณ์ทิศทางการลงทุนในอนาคตได้

โดยสมมติฐานที่ 1 : ฟื้นเร็วแบบวีเชฟ  จะต้องมีลักษณะ : จีนและเอเชียคุมได้เต็มรูปแบบ ส่วนประเทศอื่นๆยุติแค่ระบาดขั้นสูงสุด(peak)ได้มีกำหนดเวลาสิ้นสุด : ต้นพ.ค.  นี้โดยมีวัคซีน กลางปี 2564 ส่วนผลต่อการลงทุน : เคลื่อนย้ายสินค้าและบริการครึ่งหลังปี2563 ได้แก่ การค้าและการลงทุนมีความยืดหยุ่น,เงื่อนไขทางการค้าเช่น greener supply chains,วิจัยและพัฒนาทางการแพทย์และวัคซีน,มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น

สมมติฐานที่ 2 : การฟื้นตัวแบบมีเงื่อนไข จะมีลักษณะ : จีนและเอเชียคุมได้ต้นพ.ค. มีติดเชื้อข้ามประเทศ ทำให้สถานการณ์จะสิ้นสุด ส.ค. 2563มีวัคซีนกลางปี2564 ส่วนผลต่อการลงทุนคือ มีการใช้ระบบดิจิทัลมากขึ้น,การว่างงาน-ยากจน,ต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์เพิ่มขึ้น

สมมติฐานที่ 3 : ความล่มสลายของโลกาภิวัฒน์ และdeglobalization ประกอบด้วยลักษณะหลายประเทศไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ สถานการณ์ยังไม่จบและอาจมีการระบาดระลอก 2 จะมีวัคซีนและค่ารักษามีราคาสูง ส่วนผลต่อการลทุน คือผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ล่มสลาย

การเข้าสู่เข้าสู่deglobalization,กำแพงภาษีและค่าใช้จ่ายทางการค้าสูงขึ้น,ห่วงโซ่อุปทานโลกฝืด,ผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ล่มสลาย

จากคาดการณ์เศรษฐกิจโลกหลังโควิด แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจจากนี้จะรอดหรือจะร่วง แต่มากกว่าโรคระบาดคือ ความร่วมมือกัน ไม่สร้างความชัดเย้งทางการค้า เศรษฐกิจและสังคมเพิ่มก็จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญทีทำให้เศรษฐกิจจากนี้ฟื้นตัว หายจากอาการป่วยได้  159085375062