ธปท. ขู่ ลงโทษแบงก์-ริบ ‘ซอฟท์โลน” หากพบ เอื้อนำสินเชื่อ ไปปล่อยต่อ กินส่วนต่างดอกเบี้ย!

ธปท. ขู่ ลงโทษแบงก์-ริบ ‘ซอฟท์โลน” หากพบ เอื้อนำสินเชื่อ ไปปล่อยต่อ กินส่วนต่างดอกเบี้ย!

ผู้ว่าธปท. ขึ้นชี้แจง ต่อสภาฯ กรณีซอฟท์โลน 5 แสนล้าน ชี้กรณีมีการแสดงความกังวล ว่าอาจมีผู้กู้รายใหญ่ ได้ซอฟท์โลนนำไปปล่อยต่อกินหัวคิวเอสเอ็มอี รีบแจ้งธปท.ทันที พร้อมดำเนินการลงโทษแบงก์ ริบคืนซอฟท์โลน เหตุผิดเจตนารมณ์พรก. และโทษฐานไม่ระมัดระวัง

    นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึง กรณีที่ มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร์ ได้มีการแสดงความกังวล เกี่ยวกับ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟท์โลน 5 แสนล้านบาท ว่า อาจมีผู้ประกอบการรายใหญ่ ได้รับอนุมัติซอฟท์โลน แล้วนำไปปล่อยต่อให้กับเอสเอ็มอีรายอื่นๆ เพื่อกินส่วนต่างดอกเบี้ยนั้น ธปท.ขอย้ำว่า หากมีหลักฐาน หรือข้อมูล ขอให้แจ้งให้กับธปท.รับทราบ และธปท.จะรีบดำเนินการ สอบสวน

    ซึ่งหากพบว่ามีความผิดเหล่านั้นจริง จะมีการลงโทษกับสถาบันการเงินและเรียกคืนเงินซอฟท์โลนที่ปล่อยไปด้วย เพราะถือว่า เป็นการดำเนินการที่คัดกับเจตนารมย์ ของพรก.และเป็นการดำเนินการที่ไม่ระมัดระวัง

    ขณะเดียวกันขอย้ำว่า สินเชื่อซอฟท์โลน ถือเป็นหนึ่ง ในหลายมาตรการของธปท. ที่ได้ออกไปช่วยเหลือเอสเอ็มอีเท่านั้น

    ซึ่ง ในส่วนของซอฟท์โลน ถือเป็นหนึ่งมาตรการ ในหลายมาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนิน โดยกลไกของซอทฟ์โลน คือเน้นการปล่อยสินเชื่อใหม่ผ่านลูกค้าที่มีสินเชื่อเดิมกับสถาบันการเงิน หากดูในระบบธนาคารพาณิชย์ รวมถึงการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจด้วย มีลูกค้าเอสเอ็มอีที่มีวงเงินสินเชื่อน้อยกว่า 500 ล้านบาท รวมกันถึง 1.7ล้านราย

   ดังนั้นกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่ได้รับอานิสงค์จากมาตรการนี้ ซึ่งมียอดสินเชื่อรวมกันราว 4 ล้านล้านบาท ซึ่งสถาบันการเงินที่สามารถนำซอทฟ์โลนไปปล่อยสินเชื่อภายใต้พรก.นี้  ไม่ได้จำกัดเฉพาะธนาคารพาณิชย์เท่านั้น รวมไปถึงธนาคารรัฐด้วย

    ด้านกลไก ของซอฟท์โลน กรณีมีการตั้งข้อสังเกต จากสมาชิกสภาฯ ด้านกลไกการปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลน  ด้านแรกพรก. ฉบับนี้ ไม่ควรเรียกว่า การกู้เงิน เพราะซอฟท์โลนเป็นการใช้สภาพคล่องของธปท.ที่ปล่อยให้สถาบันการ เมื่อครบกำหนด2ปี สถาบันการเงินจะนำเงินส่วนนี้มาคืนธปท. ทำให้ไม่เป็นหนี้สาธารณะ ไม่สร้างภาระ ให้กับคนรุ่นต่อไปๆ

    กลไกซอฟท์โลน มีส่วนต่างอัตรา2% จากธปท.ที่ปล่อยสินเชื่อ 0.01% กรณีปกติ สถาบันการเงินเป็นคนรับความเสี่ยงด้านเครดิต ว่าหากเกิดเป็นหนี้เสียขึ้น สถาบันการเงินจะต้องรับผิดชอบ แต่รอบนี้ เนื่องจากมีความไม่แน่นอนสูง จากาภาวะเศษบกิจ และจากโควิด-19 รัฐบาลก็จสามารถเข้ามาชดเชยคามเสียหายได้บ้างส่วน ทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อได้เร็วขึ้น

    แต่ส่วนใหญ่การปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่มีหลักประกัน ดังนั้นหากดูหลักการชดเชย หากลูกหนี้มีหลักประกันกับสถาบันการเงิน อัตราการชดเชยจะต่ำกว่านั้นมาก เพราะต้องไปหักหลักประกัน ถึงไปคำนวนเงินชดเชย

.  ซึ่งเน้นผู้ประกอบการรายเดิม แต่หากเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ ที่ไม่เคยกู้เงินกับสถาบันการเงินมาก่อน สถาบันการเงินก็จะไม่สามารถทราบความเสี่ยง และไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้รวดเร็ว และการกำหนดความเสี่ยง ก็จะไม่ครอบคลุมความเสี่ยงกับลูกหนี้

   อีกประเด็นที่สำคัญ ว่ามีการปล่อยสินเชื่อค่อนข้างช้าในช่วงที่ผ่านมา โดยในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซอทฟ์โลนปล่อยออกไปแล้ว 5.8 หมื่นล้านบาท โดยซอฟท์โลนในพรก.ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเยียวยาเอสเอ็มอีขนาดเล็กและขนาดย่อม และมีวัตถุประสงค์ที่จะฟื้นฟูด้วย เมื่อระบบเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะการฟื้นฟู เมื่อโควิด-19 คลี่คลายลง

    ดังนั้นในระยะเวลาพรก.นี้จะมีการกำหนดระยะเวลาขอกู้ใน 6 เดือนแรก และสามารถขยายต่อรอบละ 6 เดือน ธปท.ไม่ได้คาดหวังว่าซอฟท์โลนจะออกทั้งหมดในทันที เพราะซอฟท์โลนมีบทบาทสำคัญในการช่วยเยียวและฟื้นฟูเอสเอ็มอีให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจด้วย

    "เรายอมรับว่า ถึงแม้ว่าเราไม่ได้คาดหวังว่าซอทฟ์โลนจะออกหมด แต่การปล่อยสินเชื่อที่ผ่านมาของธนาคารพาณิชย์ และแบงก์รัฐก็ช้ากว่าที่เราอยากเห็น เพราะว่าแต่ละสถาบันการเงินมีนิยามเอสเอ็มอีต่างประเภทกัน มีการพิจารณา และกระบวนการพิจารณาสินเชื่อที่ต่างกัน ดังนั้นการหยุดอยู่บ้านเพื่อชาติก็มีผลต่อการค้ำประกัน การจดจำนองหลักประกันใหม่ ลูกหนี้บางส่วนก็ไม่อยากขอกู้หนี้เพิ่มเติม ในช่วงโควิด-19ยังไม่ชัดเจน"

      ส่วนกรณีที่มีการตั้งคำถาม จากสมาชิกสภาฯว่า การที่ปล่อยสินเชื่อออกไปช่วง 6 เดือนที่ไม่เรียกเก็บดอกเบี้ย นับจาก 31ธ.ค. 62 แปลว่าเดือนหน้าครบ 6 เดือนแล้ว ดังนั้นหากดูข้อเท็จจริง ตามมาตร 9 จะเขียนไว้ชัดเจนว่าไม่เก็บดอกเบี้ยจากผู้กู้เป็นระยะเวลา 6 เดือนแรก นับจากที่ได้สินเชื่อเพิ่มเติม นับจากลูกหนี้ได้เงิน ไม่ใช่ 31ธ.ค. 62

    ส่วนการกระจายตัว ที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการปล่อยให้ลูกหนี้รายใหญ่ และกลุ่มนายทุนเท่านั้นหรือไม่ ในซอฟท์โลน ที่ธปท.อนุมัติไปรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา 5.8 หมื่นล้านบาท รวมลูกหนี้ 3.5 หมื่นราย เฉลี่ยรายละ 1.65 ล้านบาท 51% ของลูกหนี้ที่ได้รับเป้นธุรกิจขนาดเล็ก ที่มีวงเงินเดิมไม่เกิน 5 ล้านบาท และอีก 23% เป็นธุรกิจที่มีวงเงินเดิม อยู่ 5-20 ล้านล้านบาท ดังนั้น 74% ที่อนุมัติไปทั้งหมด เป็นลูกหนี้ที่มีวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท

    ขณะที่ 71% เป็นลูกหนี้ที่อยู่ในต่างจังหวัด และธุรกิจท่องเที่ยวที่มีความเสียงสูง ก็ได้รับการจัดสรรซอฟท์โลนไปแล้ว 5.1 พันล้านบาท

    ซึ่ง ในหนังสือเวียนของธปท. ที่ได้ส่งถึงสถาบันการเงินทุกแห่งเขียนชัดเจนว่า ให้สถาบันการเงินให้ความสำคัญกับรัฐวิสาหกิจขนาดย่อม และผู้ประกอบการในภูมิภาคที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนใดมาก่อน

   ดังนั้นเป็นหัวใจสำคัญ และไม่มีลักษณะให้สินเชื่อเพิ่มเติมกับธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีศักยภาพและมีความสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้หลายช่องทางอยู่แล้ว อันนี้เราตระหนักดีว่า นิยามเอสเอ็มอีเฉพาะเรื่องนี้ คือ เอสเอ็มอีต้องไม่มีวงเงินกับสถาบันแห่งใดแห่งหนึ่งไม่เกิน 500 ล้านบาท เพื่อให้มีการดำเนินการได้รวดเร็ว เพราะหากต้องไปพิสูจน์การจ้างงาน พิสูจน์ยอดสินเชื่อรวมก็จะใช้เวลาค่อนข้างนาน ในภาวะที่การเดินทางต่างๆยากลำบาก แต่ธปท.ก็ได้มีการติดตามใกล้ชิด และมีหนังสือเวียนกำชับสถาบันการเงินให้ปฏิบัติตามเจตนารมย์ของพรก.