‘วิรไท’ย้ำ‘ซอฟท์โลน’ไม่ก่อหนี้สาธารณะ

‘วิรไท’ย้ำ‘ซอฟท์โลน’ไม่ก่อหนี้สาธารณะ

ธปท.ออกโรงแจง ต่อสมาชิกสภาฯ ประเด็นซอฟท์โลนธปท. 5 แสนล้านบาท ชี้ไม่ใช้เงินกู้ ไม่เป็นหนี้สาธารณะ ไม่เป็นภาระภาษีประชาชน เหตุครบ2ปี จะได้เงินกู้คืนจากแบงก์ ยันแบงก์ไม่ได้ลำเอียงปล่อยกู้ซอฟท์โลน เฉพาะลูกหนี้ความเสี่ยงต่ำ หลังพบ70% เป็นลูกหนี้เสี่ยงสูง

      นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)  ได้มีการชี้แจงต่อสมาชิกสภาฯ เกี่ยวกับสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หรือซอฟท์โลน ธปท.วงเงิน 5 แสนล้านบาท ภายใต้พรก. 1.9 ล้านล้านบาทนั้น ไม่ใช้เงินกู้ และไม่ถือว่าเป็นหนี้สาธารณะ เพราะ หลังจากธปท.ให้กู้ซอฟท์โลน กับธนาคารพาณิชย์ เมื่อครบกำหนด 2ปี ธนาคารพาณิชย์จะนำเงินกู้เหล่านี้มาคืนธปท. ดังนั้น ซอฟท์โลน จึงไม่เป็นภาระภาษีกับประชาชนในอนาคต

     ขณะเดียวกัน ซอฟท์โลนที่ปล่อยสู่ระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้มาจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะทุนสำรองมีหน้าที่หลักในการดูแลสภาพคล่องด้านต่างประเทศ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะนี้คือปัญหาขาดสภาพคล่องเอสเอ็มอีในรูปเงินบาท

    ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ และการใช้เงินซอฟท์โลนดังกล่าว มีการแยกกันโดยเด็ดขาดกับทุนสำรองระหว่างประเทศ จึงไม่ได้มีการใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศใดๆ

     ขณะเดียวกัน ซอฟท์โลนที่ปล่อยสู่ระบบเศรษฐกิจ ไม่ได้มาจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะทุนสำรองมีหน้าที่หลักในการดูแลสภาพคล่องด้านต่างประเทศ

   แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะนี้คือปัญหาขาดสภาพคล่องเอสเอ็มอีในรูปเงินบาท ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงไม่จำเป็นต้องใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศ และการใช้เงินซอฟท์โลนดังกล่าว มีการแยกกันโดยเด็ดขาดกับทุนสำรองระหว่างประเทศ จึงไม่ได้มีการใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศใดๆ

   อย่างไรก็ตาม กาปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลน หรือการให้สินเชื่อเพิ่มเติม ที่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจ ขณะนี้มีลูกหนี้ที่ได้รับสินเชื่อแล้ว  8.4 หมื่นราย คิดเป็นยอดเงินกว่า 1.48 แสนล้านบาท

    โดยซอฟท์โลนธปท. ที่ได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว กว่า 20วัน พบว่ามียอดอนุมัติแล้ว 5.8 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้  3.5 หมื่นราย ซอฟท์โลนออมสิน มีการปล่อยสู่ระบบ แล้ว 5.5 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมลูกค้า 9.1พันคน และสินเชื่อซอฟท์โลนเพิ่มเติมจากออมสินปล่อยไปแล้ว 4 พันล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 625คน นอกจากนี้ยังมีโครงการที่รัฐบาลเข้าไปค้ำประกันผ่านบสย. 3.1 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้ 3.8 หมื่นคน

   “ถามว่าตัวเลขนี้เราพอใจหรือไม่ เรายังไม่พอใจ เพราะยังมีหนี้เอสเอ็มอีอีกจำนวนมากที่รอสินเชื่อพิเศษลักษณะนี้อยู่ ซึ่งต้องเร่งให้สถาบันการเงินดำเนินการต่อไป”

    สำหรับซอฟท์โลน ของธปท. ที่ปล่อยไปแล้ว 5.8 หมื่นล้านบาทนั้น พบว่ามีวงเงินอนุมัติสินเชื่อต่อราย 1.65 ล้านบาทต่อราย โดยพบว่า 51% เป็นเอสเอ็มอีขนาดเล็ก ที่มีวงเงินเดิมไม่เกิน 5 ล้านบาทที่ได้รับซอฟท์โลน ขณะที่ 23% มีวงเงิน 5-20 ล้านบาท

    ดังนั้นจะเห็นว่าธปท.ให้ความสำคัญกับเอสเอ็สเอ็มอีขนาดเล็ก ซึ่ง 3ใน 4 ที่ได้ซอฟท์โลน เป็นเอสเอ็สเอ็มอีที่มีวงเงินเดิม ไม่ถึง 20 ล้านบาท และ 51% ของเอสเอ็มอีที่ได้รับเอสเอ็มอีธปท.อยู่ในค้าส่ง ค้าปลีก อยู่ธุรกิจพาณิชย์ ขณะที่ธุรกิจโรงแรมท่องเที่ยว ที่มีความเสี่ยงสูง จากโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ได้รับสินเชื่อแล้ว 2.6 พันราย ได้รับซอฟท์โลนไปแล้ว 5.1พันล้านบาท

    ขณะเดียวกัน ขอชี้แจงว่า จากที่มีการตั้งข้อสังเกตุว่า การปล่อยสินเชื่อส่วนใหญ่เกิดจากสำนักงานใหญ่ ทำให้ลูกหนี้ในต่างจังหวัดไม่ได้รับซอฟท์โลนนั้น พบว่า  71% ที่ได้รับซอฟท์โลน เป็นลูกหนี้ในต่างจังหวัด และมีเพียง 29%รายเท่านั้น ที่อยู่ในกรุงเทพและปริมณฑล

    ทั้งนี้ยังมีการตั้งสังเกตว่าธนาคารพาณิชย์ให้สินเชื่อ เฉพาะลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงต่ำนั้น หากดูข้อมูล พบว่าซอฟท์โลนที่ปล่อยไป 70% เป็นลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงปานกลางถึงเสี่ยงสูง และที่เหลือมีความเสี่ยงต่ำ อันนี้สะท้อนได้เป็นอย่างดีว่า ถึงการกระจายตัวของซอฟท์โลน เพื่อลดความกังวล กรณี สมาชิกสภาฯได้แสดงความกังวลไว้

    อย่างไรก็ตาม สำหรับผลกระทบโควิด-19 ทำให้ที่ผ่านมาธปท.มีการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้อย่างต่อเนื่อง ผ่าน มาตรการ 4 กลุ่มใหญ่ ทำให้ลูกหนี้ได้รับประโยชน์และได้รับการช่วยเหลือแล้ว 6.6 ล้านล้านบาท ครอบคลุมลูกหนี้15ล้านราย คิดเป็นลูกหนี้รายย่อย 3.8 ล้านล้านบาท หรือ 13.9 ล้านคน ขณะที่ธุรกิจขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี 2.8ล้านล้านบาท หรือ1.1ล้านคน

   “วิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ หรือโควิด-19  เป็นวิกฤตที่ไม่เคยประสบมาก่อน และวิกฤตครั้งนี้มีความไม่แน่นอนสูงมาก ไม่มีใครทราบว่าจะจบอย่างไร เมื่อไหร่ ความไม่แน่นอนนี้ เป็นเรื่องที่สร้างปัญหาให้ทุกคน ทั้งสถาบันการเงิน ผู้ประกอบการ หรือผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ซึ่งธปท.ตระหนักดีว่า การขาดปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะอาจนำไปสู่การมีหนี้สินล้มพ้นตัว การล้มละลาย และจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเมื่อการระบาดโควิด-19 คลี่คลายลง ดังนั้นการทำนโยบายการช่วยเหลือ บนความไม่แน่นอน อย่างต้องต้องมี4มิตที่สำคัญ”