"Bank" Sector (25 พ.ค.63)

"Bank" Sector (25 พ.ค.63)

งบดุลเดือนเมษายน 2563: ดูดีกว่าเดือนที่แล้ว

Event

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากงบดุลธนาคารเดือนเมษายน 2563

lmpact

อุปสงค์สินเชื่อฟื้นตัวขึ้น

เนื่องจากตลาดพันธบัตร ผันผวนในเดือนมีนาคม 2563 และมีแรงเทขายหุ้นกู้ภาคเอกชนออกมาอย่างหนัก ทำให้บริษัทส่วนใหญ่ไม่สามารถ re-finance หุ้นกู้ได้เหมือนในภาวะปกติ ดังนั้นจึงทำให้อุปสงค์สินเชื่อเร่งตัวขึ้นในเดือนเมษายน 2563 โดยสินเชื่อขยายตัว 2% MoM, +3.5% YTD และ +4.2% YoY
โดยสินเชื่อของ KTB เพิ่มขึ้นสูงที่สุดที่ +6% MoM และ +8% YTD ซึ่งเราคิดว่าอาจจะสะท้อนถึงอุปสงค์สินเชื่อจากรัฐวิสาหกิจและภาครัฐในช่วงที่สถานการณ์ไม่ปกติเนื่องจากมีการใช้มาตรการ lockdown และเป็นช่วงที่สถานการณ์โรคระบาดหนักสุดในเดือนเมษายน 2563 ทั้งนี้ สินเชื่อของ SCB ขยายตัว 2% MoM ในขณะที่สินเชื่อของ KBANK และ BBL ขยายตัว 1% MoM เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตาม สินเชื่อของ TMB หดตัว 2% MoM และ -1% YTD ในขณะที่ของ TISCO หดตัว 2% MoM และ -4% YTD

เงินฝากโตมากกว่าสินเชื่อ

เนื่องจากมีการไถ่ถอนกองทุนตราสารหนี้ และรับทราบถึงความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงนักลงทุนจึงนำสภาพคล่องมาใส่ในบัญชีเงินฝากธนาคาร ส่งผลให้ฐานเงินฝากพุ่งสูงขึ้นอย่างมากต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง (มีนาคม-เมษายน) และเร่งตัวขึ้นเร็วกว่าอัตราการขยายตัวของสินเชื่อโดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ฐานเงินฝากของ BBL เพิ่มขึ้น 3% MoM และ10% YTD ในขณะที่ของ KBANK เพิ่มขึ้น 2% MoM และ +9% YTD ส่วนของ KTB เพิ่มขึ้น 1% MoM และ +10% YTD แต่อย่างไรก็ตาม ฐานเงินฝากที่เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งของ TMB ก็สะท้อนถึงนโยบายของธนาคารที่จะเพิ่มเงินฝากเพื่อมาทดแทนเงินฝากของ Tbank

KBANK และ BBL เพิ่มสถานะการลงทุน

ในภาวะที่ตลาดพันธบัตรผันผวน และมีการไถ่ถอนพันธบัตรจำนวนมาก BBL และ KBANK ได้เพิ่มสถานการลงทุนในตราสารหนี้ ในขณะที่ธนาคารอื่น ๆ ลดสถานะการลงทุนลง โดยเฉพาะ KTB ที่ -16% MoM และ -23% YTD กับ SCB ที่ -5% MoM และ -31% YTD

BBL พลิกจากที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนก้อนใหญ่มาเป็นกำไร

เนื่องจากตลาดทุนวิ่งขึ้นมาแรง ดังนั้น สถานะการลงทุนของ BBL จึงพลิกจากที่มีผลขาดทุนจากการลงทุนก้อนใหญ่มาเป็นกำไรประมาณ 2 พันล้านบาทในเดือนเมษายน ในขณะที่ KBANK มีกำไรจากการลงทุนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เรามองว่าสถานการณ์ลงทุนที่พลิกมาเป็นกำไรจะช่วยลดแรงกดดันเกี่ยวกับ
สถานะเงินทุนของ BBL ลง

Risks

NPL เกิดใหม่เพิ่มขึ้น >40% หุ้นกู้ภาคเอกชน default และเกิดปัญหาขาดสภาพคล่อง GDP ->0.5