กังวลสงครามสหรัฐ-จีนรอบใหม่

กังวลสงครามสหรัฐ-จีนรอบใหม่

สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวขึ้นกว่า 17.44 จุด โดยดัชนีปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในช่วงต้นสัปดาห์ โดยมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ในช่วงท้ายสัปดาห์ดัชนีถูกกดดันจากแนวโน้มสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่อาจกลับมาตึงเครียดอีกครั้ง โดยวันศุกร์ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,303.97 จุด (-16.72 จุด) Volume 6.4 หมื่นลบ. ต่างชาติ -1,999.74 ลบ. TFEX Net -7,296 สัญญา ตราสารหนี้ -791 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 8.96 จุด -0.04% กังวลความตึงเครียดสหรัฐ-จีน และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอัตราการฟื้นตัวทางศก.ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั้งสัปดาห์ดาวโจนส์ +3.3%

-ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิดลดลง 67 เซนต์ -2% ปิดที่ 33.25  ดอลลาร์/บาร์เรล วิตกอัตราการขยายตัวทางศก.ของจีน และความขัดแย้งครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐ-จีน แม้มีรายงานว่าแท่นขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในสหรัฐมีการใช้งานมีจำนวนลดลง สัปดาห์ที่ผ่านมา WTI +12.6%

+/-ทั่วโลกติดเชื้อโควิด-19 ทะลุ 5,400,000 ราย ตายกว่า 343,000 ราย สหรัฐยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อมากที่สุด 1.67 ล้านราย เสียชีวิต 9.9 แสนราย หลายประเทศคลาย lockdown ในไทยวันหยุดที่ผ่านมาศบค.เผยพบผู้ติดเชื้อรวม 3 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

+ผลทดลองชี้วัคซีนโควิด-19 ของจีนปลอดภัย-กระตุ้นภูมิคุ้มกันมนุษย์ได้

+เมื่อวานนี้ ศบค.เผยไม่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 และไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

+/-ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่เคาะต่ออายุพ.ร.ก.ฉุกเฉินอีก 1 เดือนตามข้อเสนอสมช.

+พาณิชย์ เผยส่งออก เม.ย.ขยายตัวต่อเนื่อง 2.12% สวนทางตลาดคาด

-4.6% ถึง -3% 4M62 ส่งออกขยายตัว 1.19%

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตร่วง 54.15 จุด -1.89% เช้านี้เปิด +2.47 จุด

-ดัชนีนิกเกอิปิดลบ 164.15 จุด -0.80% เช้าเปิด +265.25 จุด

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.95 แสนลบ. ค่าเงินบาท 31.87 บาท/US

*จับตาญี่ปุ่นเผยดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมี.ค. เยอรมนีเปิดเผย GDP 1Q63 และความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนพ.ค.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวผันผวน  โดยมีแรงกดดันจากแผนการของจีนที่จะบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งชาติในฮ่องกง ซึ่งส่งผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นที่ฮ่องกง และสร้างความไม่พอใจให้กับสหรัฐ ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังมีแรงหนุนจากคาดหวังการคลายล็อกดาวน์ เฟส 3 คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,290-1,315 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

JKN (Bloomberg Consensus 5.44 บาท)รายงานกำไรงวด 1Q63 เท่ากับ 95 ลบ. +18%YoY +86%QoQ โดยมีรายได้เท่ากับ 461 ลบ. +9%YoY +9%QoQ แบ่งเป็นรายได้จากขายสิทธิ 417 ลบ. (สัดส่วน 90%) +1.3%YoY +11%QoQ ส่วนธุรกิจโฆษณามีรายได้เท่ากับ 3.7 ลบ. (สัดส่วน 1%) +358%YoY ขณะที่ %GPM ปรับลงมาที่ 40.4% จากปีก่อนอยู่ที่ 43.3%

(+) เมื่อช่วงเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทจัดตั้งบริษัทย่อย JKN Global Content (Singapore) เพื่อช่วยสนับสนุนการซื้อและขายลิขสิทธิ์ Contents ไปยังต่างประเทศ โดยคาดว่าจะช่วยลด Transaction Cost ลงรวมอีกราว 5%

(-) ช่อง JKN CNBC ยังคงได้รับผลกระทบจาก Fixed Cost ราว 12 ลบ. ต่อไตรมาส ขณะที่ ผบห.วางเป้าถึงจุดคุ้มทุนภายใน 2 ปี

(+) แนวโน้ม 2Q63 ยังได้ Sentiment เชิงบวกจากสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลให้บริษัทขาย Contents ได้หลายช่องมากขึ้น และคาดในไตรมาสนี้จะเซ็นต์สัญญากับช่อง Workpoint และอีก 1 ช่องทีวีใหม่ ขณะที่ ผบห.ยังคงเป้ารายได้ทั้งปีเติบโตราว 10-15% ซึ่ง ณ ปลาย 1Q63 มี Backlog แล้วราว 213 ลบ. ส่วนงาน Mega Showcase ยังคงจัดเหมือนเดิมในช่วงเดือน ต.ค.

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่จะเข้าคำนวณ MSCI Global Standard (AWC BAM KTC) มีผล 29 พ.ค. 
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 2 (HMPRO DOHOME COM7 AU M)
  • หุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ดี (WICE TASCO CPF)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก กนง. ลดดอกเบี้ย (BAM MTC SAWAD SINGER)

ส่องหุ้น

            KASET    แนวรับ 1.43-1.42 บาท            แนวต้าน 1.48 บาท

            CKP        แนวรับ 4.38 , 4.20 บาท          แนวต้าน 4.54 , 4.84 บาท

            NER        แนวรับ 2.52 บาท                   แนวต้าน 2.64 , 2.74-2.86 บาท

หุ้นมีข่าว   

·         KTB (Bloomberg consensus 12.63 บาท)

1Q63 มีกำไรสุทธิ 6,082 ล้านบาท ลดลง 18.5%qoq และ 16.7%yoy เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจากการลดดอกเบี้ยส่งผลให้ NIM ลดเหลือ 3.14% จาก 3.71% ใน 1 Q62 %NPL เพิ่มขึ้นสู่ 4.36% จาก 4.33% จากปลายปี 62 และ Coverage Ratio ลดเหลือ 126.5% จาก 131.8% ณ ปลายปี 62 เนื่องจากภาวะศก.อ่อนแอและการเริ่มใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 63 โดยมีขาดทุนด้านเครดิตที่คาดจะเกิดขึ้นจำนวน 8.5 พันล้านบาทเทียบกับสำรองหนี้สูญฯ 4.8 พันล้านบาทใน 1Q63 ส่วน Coverage ratio ลดลงเหลือ 126.5% จาก 131.8% ณปลายปี 62

สินเชื่อปลายมี.ค.63 เพิ่มขึ้น 2% YTD จากลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ แนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากนโยบายสนับสนุนสินเชื่อช่วยเหลือลูกค้า ทำให้ฝ่ายวิจัยคาดว่าทั้งปีสินเชื่อมีแนวโน้มเติบโตดีจากการเป็นแบงก์รัฐ  อย่างไรก็ดี การลดดอกเบี้ยเงินกู้ 2 ครั้งในเดือนเม.ย. และ พ.ค. กดดันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการยังลดลง รวมทั้งผลขาดทุนเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ถูกกดดัน ทำให้คาดว่าผลการดำเนินงานมีแนวโน้มลดลงทั้ง yoy และ qoq 

ผู้บริหารไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับลูกหนี้ “THAI” ทั้งนี้ จาก 56-1 เปิดเผยว่า KTB ให้เงินกู้ระยะสั้น 3.5 พันล้านบาท มีวงเงินกู้เพิ่มเติม 3 พันล้านบาท และถือหุ้นกู้ 750 ล้านบาท ราคาหุ้นที่ลดลง 40%YTD ส่งผลให้มี PBV 0.41 เท่าซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ระดับ 0.52 เท่า และมี Yield 7.8%  แนะนำ ถือ รับเงินปันผล

·         (+/-) THAI (Bloomberg Consensus 3.99 บาท)   บินไทยพ้นสภาพรัฐวิสาหกิจแล้ว หลังคลังโอนหุ้น THAI กว่า 69 ล้านหุ้น คิดเป็น 3.17% ที่ราคา 4.03 บาทต่อหุ้นให้วายุภักษ์ถือ วันนี้บินไทยเตรียมยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางพิจารณาตั้ง เบเคอร์ แม็คเคนซี่” เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมาย ล้มแผนยื่นตามchapter 11 เปลี่ยนเป็นยื่นคุ้มครองทรัพย์สินในแต่ละประเทศแทน คลังอำนาจล้นในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ขณะที่คมนาคมหลุดจากการกำกับดูแลทันที (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         (+) “กรมทางหลวงมั่นใจเซ็นสัญญากับกลุ่ม BGSR (BTS-GULF-STEC-RATCH) มิ.ย.นี้ รับงาน O&M มอเตอร์เวย์ 2 สายทาง อธิบดีเผยล่าสุดอัยการสูงสุด-สคร.ไฟเขียวร่างสัญญาร่วมทุนแล้ว พร้อมส่งถึงกระทรวงคมนาคมวันนี้ เพื่อชง ครม.เห็นชอบ (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         (+) ITEL (Bloomberg Consensus 2.96 บาท) คว้างานจัดหาชุดวิทยุไมโครเวฟของกรมการสื่อสารทหาร จำนวน 2 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 135 ล้านบาท ดันแบ็กล็อกพุ่ง 4,378.23 ล้านบาท มั่นใจรายได้ปี 63 เป็นไปตามเป้า 2,400 ล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         (+) STARK (Bloomberg Consensus - บาท)   กรุยทางเข้าสู่ SET50-MSCI เผยมาร์เก็ตแคปสูง 5 หมื่นล้านบาท มีสิทธิเข้าเกณฑ์ แต่ติดปัญหาฟรีโฟลตต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เร่งเดินหน้าแก้ปัญหาดึงสถาบันใน-นอก เข้ามาถือหุ้นตามเกณฑ์ 15% ตั้งเป้าแก้ปัญหาเสร็จกรกฎาคมนี้ แย้มมีสถาบันไทย-เทศสนใจ เหตุเป็นธุรกิจอนาคตทั้งพลังงานและโลจิสติกส์ ที่มีฐานลูกค้าทั่วโลกและมีแนวทางการเติบโตก้าวกระโดด (ที่มา ทันหุ้น)

·         (+) WICE (Bloomberg Consensus - บาท)  ส่งซิกไตรมาส 2/2563 เข้าไฮซีซัน หนุนความต้องการขนส่งสินค้าพุ่ง ดันผลงานเติบโตต่อเนื่อง มองภาพรวมผลงานครึ่งปีแรกยังมีการเติบโตที่ดี และต่อเนื่องไปในช่วงครึ่งปีหลัง ปูพรมบุ๊กกำไร "WICE SG" เต็มสูบ เดินหน้าขยายฐานลูกค้าใหม่ หวังผลักรายได้เข้าเป้า 2.7 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

  • (+) BPP (Bloomberg Consensus 27 บาท) กางแผน COD โรงไฟฟ้าแห่งใหม่ 4 โครงการ กำลังการผลิต 453 เมกะวัตต์ ดันผลงานครึ่งปีหลังสดใส คาดสิ้นปีกำลังผลิตเพิ่มเป็น 2901 เมกะวัตต์ ตามเป้า โบรกชี้ปัจจุบัน BPP ถูกซื้อขาย Valuation ที่ต่ำ และเงินปันผลสูงสุดในกลุ่มโรงไฟฟ้า แนะซื้อเคาะเป้า 21 บาท (ที่มา ทันหุ้น)
  • (+) BJCHI (Bloomberg Consensus 76 บาท) ลุยประมูลงานใหม่ทั้งในประเทศ-ต่างประเทศ 5 โครงการ มูลค่ากว่า 16,000 ล้านบาท โชว์งานในมือรอรับรู้รายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 4,200 ล้านบาท ทยอยรับรู้รายได้ถึงปลายปี 2564 และมีโอกาสรับงานเพิ่มจากโครงการเดิมต่อเนื่อง ด้านรายได้ปีนี้ คาดเติบโตเป็นนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มา ทันหุ้น)
  • PTTGC (Bloomberg Consensus 40.65) ยันไม่ล้มลงทุนโครงการพลาสติกชีวภาพ PLA ในไทย แต่ขอเลื่อน FID ออกไปเป็นปี 64 หลังสถานการณ์โควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจซบ พร้อมเดินเครื่องโรงงานเม็ดพลาสติกรีไซเคิลต้นปีหน้า (ที่มาข่าวหุ้น)
  • BGRIM (Bloomberg Consensus 52.08) ลุ้นต่อพุธนี้ (27 พ.ค. 63) นั่งแท่น Shipper LNG รายใหม่ เตรียมแผนนำเข้า 6.5 แสนตัน เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้า SPP Replacement จำนวน 5 โรง มั่นใจ กกพ.พิจารณารอบสองผ่านฉลุย! (ที่มาข่าวหุ้น)