ตรวจสอบสิทธิ 'เยียวยาเกษตรกร' สุดงง ตกลง ข้าราชการ-ทายาทผู้เสียชีวิต รอก่อน!

ตรวจสอบสิทธิ 'เยียวยาเกษตรกร' สุดงง ตกลง ข้าราชการ-ทายาทผู้เสียชีวิต รอก่อน!

อัพเดทความคืบหน้า มาตรการ "เยียวยาเกษตรกร" ที่แม้เกษตรกรจะได้รับเงินกันไปหลายกลุ่มแล้ว แต่สำหรับ "เข้าราชการ" และ "ทายาทผู้เสียชีวิต" ยังคงต้องรอต่อไป

ความคืบหน้ามาตรการ "เยียวยาเกษตรกร" แจกเงิน 5,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือนล่าสุด ที่ได้รับไปแล้วส่วนหนึ่ง โดย เมื่อวันศุกร์ที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)​ ได้สรุปข้อมูลการจ่ายเงินเยียวยาเกษตรกร จำนวน 5,000 บาท 3 เดือนว่า

หลังจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจความซ้ำซ้อนในมาตรการเราไม่ทิ้งกันกับกระทรวงการคลัง ระบบประกันสังคม และข้าราชการบำนาญ มีผู้มีได้สิทธิ์ตามเงื่อนไขจำนวน จำนวน 6.77 ล้านราย โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งข้อมูลมาให้ธ.ก.ส.โอนเงินรอบแรกแล้ว จำนวน 3.35 ล้านราย และเมื่อตรวจความซ้ำซ้อนกับกระทรวงมหาดไทย พบว่า มีเสียชีวิต 527 ราย จึงเหลือจำนวนที่ธ.ก.ส.โอนเงิน 3.3 ล้านราย และธ.ก.ส.ดำเนินการจ่ายเงินไปหมดแล้วในวันที่ 15-21 พ.ค.ที่ผ่านมา

ถัดมาในวันที่ 20 พ.ค. ธ.ก.ส ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมอีกในการโอนเงินรอบที่ 2 จำนวน 3.5 ล้านราย โดยในจำนวนนี้ เป็นรายชื่อเกษตรกรที่เสียชีวิตแล้ว 109,120 ราย คงเหลือจำนวนที่ต้องโอนเงิน 3.4 ล้านราย ซึ่งจะดำเนินการจ่ายในวันที่ 22-29 พ.ค.63 และธ.ก.ส.จะได้ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรอีกครั้งในวันที่ 27พ.ค.นี้

ทั้งนี้ ในส่วนของรายชื่อจำนวนแสนเศษๆ ที่เป็นเกษตรกรที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น ทาง ธ.ก.ส.ได้เตรียมหารือกับ "กระทรวงเกษตรและสหกรณ์" ถึงแนวทางว่า จะโอนสิทธิ์การรับเงินต่อให้ทายาทได้หรือไม่ 

  

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  

อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า กระทรวงเกษตรฯทำหน้าที่รับผิดชอบการรับลงทะเบียน รวบรวมรายชื่อ และตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่ได้มีอำนาจพิจารณาผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว

แต่เมื่อข้ามไปทางฝั่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยถึงกรณีความไม่ชัดเจนเรื่องผู้มีสิทธิ์ในการได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท 3 เดือนตามมาตรการเยียวยาเกษตรกร ว่า อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า กระทรวงเกษตรฯทำหน้าที่รับผิดชอบการรับลงทะเบียน รวบรวมรายชื่อ และตรวจสอบเบื้องต้นเท่านั้น แต่ไม่ได้มีอำนาจพิจารณาผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยาดังกล่าว

ทั้งกรณี "ข้าราชการ" ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรเป็นอาชีพที่สอง รวมถึงกรณี "เกษตรกรที่เสียชีวิตแล้ว" ทายาทจะมีสิทธิ์ได้รับเงินแทนหรือไม่นั้น นายเฉลิมชัย ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งรายชื่อให้กับกระทรวงการคลังเพื่อดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชน และตรวจสอบกับผู้ที่ได้รับสวัสดิการผ่านระบบข้าราชการบำนาญ และระบบประกันสังคม ตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 เมษายน ก่อนส่งกลับมาที่กระทรวงเกษตรฯ เพื่อส่งมอบข้อมูลรายชื่อต่อให้กับทาง ... ดำเนินการจ่ายเงิน

ขอชี้แจงว่า หน่วยงานที่กำหนดเกณฑ์และทำหน้าคัดกรองไม่ให้สิทธิ์ซ้ำซ้อน คือ กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ ดังนั้น การจะจ่ายเงินเยียวยาให้ข้าราชการที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรหรือไม่นั้น การตัดสินใจเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ และต้องเป็นมติของคณะรัฐมนตรี หากทางคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นสมควรให้ได้รับสิทธิ์เยียวยา และเสนอให้ ครม. ให้มีมติออกมา กระทรวงเกษตรฯ พร้อมดำเนินการทันที เพราะมีฐานข้อมูลรายชื่อทั้งหมดแล้ว สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และไม่มีตกหล่นนายเฉลิมชัย กล่าว

การจะจ่ายเงินเยียวยาให้ข้าราชการที่อยู่ในทะเบียนเกษตรกรหรือไม่นั้น การตัดสินใจเป็นหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ และต้องเป็นมติของคณะรัฐมนตรี

ส่วนกรณีที่ นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงข่าวว่า การตัดสินใจจ่ายเยียวยาให้ข้าราชการ เป็นอำนาจของกระทรวงเกษตรฯ นั้น เรื่องนี้ สศค.คงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะข้อเท็จจริง กระทรวงเกษตรฯ เป็นผู้รวบรวมและส่งรายชื่อเกษตรกรให้กระทรวงการคลัง และคณะกรรมการกลั่นกรองฯ เพื่อพิจารณากลั่นกรองและตรวจความซ้ำซ้อน

ดังนั้นการตัดสินใจว่า จะมีการจ่ายให้ข้าราชการและอื่นๆ หรือไม่นั้น ในทางปฏิบัติแล้วเป็นเรื่องของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ และที่สำคัญต้องมีการวางแนวปฏิบัติที่ชัดเจนออกมา กระทรวงเกษตรฯรอเพียงการพิจารณาและการตัดสินใจของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร

ความคืบหน้าของการพิจารณา กรณีข้าราชการว่า มีสิทธิ์รับเงินเยียวยาหรือไม่นั้น นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯได้หารือกับคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้ แล้วเห็นว่า ข้าราชการกลุ่มนี้ “ไม่สมควรได้รับ” เพราะมีเงินเดือนประจำอยู่แล้ว โดยหลังจากนี้จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบต่อไป

ในขณะที่ทะเบียนเกษตรกรมีรายชื่อของ “ผู้เสียชีวิต” อยู่ในบัญชีผู้รับเงินเยียวยา 1.01 แสนคนนั้น กระทรวงเกษตรฯ ขอดูข้อมูลให้ชัดเจนก่อนเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯพิจารณาอีกครั้ง ว่าควรจะตัดรายชื่อออก หรือ โอนให้ทายาทรับแทน

ซึ่งโดยส่วนตัวเห็นว่า ไม่ควรจ่ายแล้ว แต่เนื่องจากเงิน เยียวทั้งหมดนี้เป็นเงินกู้ของรัฐบาล ดังนั้นการดำเนินการใดๆ จึงต้องขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองฯก่อน

แต่ล่าสุด วันนี้ (24 พ.ค.) นายธนกร วังบุญคงชนะ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและโฆษกพรรคพลังประชารัฐ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Dr Thanakorn Wangboonkongchana ดร.ธนกร วังบุญคงชนะ ชี้แจงกรณี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พาดพิงกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการพิจารณารายชื่อข้าราชการประจำที่เป็นเกษตรกร ให้ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท

โดยอ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2563 ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อแจ้งผลการดำเนินงานของกระทรวงการคลัง โดยส่วนหนึ่งของใจความในนั้น ได้ระบุว่า การตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลเกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับเงินเยียวยาตามโครงการของกระทรวงเกษตรฯ เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยตรงของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2563

และยังระบุอีกด้วยว่า การโอนเงินของ ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้กับเกษตรกรตามข้อมูลที่ "สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร" ได้ตรวจสอบยืนยันตัวตนของเกษตรที่จะได้รับความช่วยเหลืออย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้วเท่านั้น.