จี้ตลท.ไขปม‘ต่างชาติ’ทิ้งหุ้น เผย 5 เดือน ‘ขายสุทธิ’ เฉียด 2 แสนล้าน

จี้ตลท.ไขปม‘ต่างชาติ’ทิ้งหุ้น เผย 5 เดือน ‘ขายสุทธิ’ เฉียด 2 แสนล้าน

“ต่างชาติ” ถล่มหุ้นไทยไม่เลิก เผย 5 เดือนเทขายเฉียด 2 แสนล้าน ทั้งยังเป็นการขายต่อเนื่อง 4 ปีซ้อนรวมกว่า 5.5 แสนล้าน “บอร์ดตลท.” จี้ฝ่ายปฎิบัติการเร่งหาสาเหตุ “ภัทธีรา” ประเมินแนวโน้มยังขายต่อเนื่อง ด้าน “ไพบูลย์” เชื่อแรงขายจากกลุ่มโรบอทเทรด

นักลงทุนต่างชาติยังคงเทขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน พบว่า มียอดขายสุทธิรวม 195,423.49  ล้านบาท และถือเป็นการเทขายสุทธิต่อเนื่องปีที่ 4 ติดต่อกัน ทำให้ยอดขายสะสมของนักลงทุนกลุ่มนี้มีรวมทั้งสิ้น 553,505.60.ล้านบาท (ปี60-22.พ.ค.63) 

สำหรับหุ้นที่ไทยเอ็นวีดีอาร์(NVDR)ขายมากสุด 5 อันดับแรกตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน ( 22 พ.ค.) คือ 1. บมจ.ธนาคารกรุงเทพ(BBL)มูลค่า 8,359.70 ล้านบาท 2.บมจ.ปตท.(PTT)มูลค่า7,819.90 ล้านบาท 3.บมจ.ธนาคารกสิกรไทย(KBANK)มูลค่า 7,194.40 ล้านบาท 4.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส(ADVANC ) มูลค่า 3,339.50 ล้านบาท และ5.บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC)มูลค่า 3,136.50 ล้านบาท

ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ระบุ ณ เดือนก.พ.2563 นักลงทุนต่างชาติที่เป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Partner) ถือครองหุ้นไทยอยู่ที่ 27.6% ลดลงจากอดีตที่เฉลี่ยอยู่ประมาณ 29-30 %

การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ สร้างความไม่สบายใจให้กับกลุ่มผู้ลงทุน  ขณะที่คณะกรรมการตลท.ได้ขอให้ฝ่ายปฎิบัติการของ ตลท. ไปศึกษาถึงสาเหตุที่นักลงทุนกลุ่มนี้ขายหุ้นไทยต่อเนื่องติดกันหลายปีว่า เกิดจากสาเหตุใด

ยหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องหลายปี ซึ่งเรื่องนี้ต้องศึกษาข้อมูลเชิงลึก โดยนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในหุ้นไทยปัจจุบันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้โปรแกรมเทรด ซึ่งกลุุ่มนี้มักส่งคำสั่งซื้อในลักษณะเก็งกำไร

ส่วนอีกกลุ่ม คือ กองทุนที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุน (ฟันด์แมเนเจอร์) ที่ผ่านมาได้ขอให้ ตลท. ลองศึกษาเรื่องดังกลาว เพื่อดูว่ากลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่เทขายหุ้นไทยเป็นกลุ่มนักลงทุนระยะยาวหรือไม่

สำหรับปีนี้ที่นักลงทุนต่างชาติขายหุ้นไทยออกมา เนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19 ทำให้นักลงทุนอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง(Risk off) จึงขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมา เพื่อถือเงินสด และหันไปลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย เช่น ทองคำ ซึ่งเห็นได้จากราคาทองคำที่ปรับตัวสูงขึ้น

นางภัทธีรา กล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติยังมีแนวโน้มขายหุ้นไทยต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามาหนุนดัชนี เนื่องจากปัจจัยโควิด-19 ยังคงกดดัน แต่เชื่อว่าแรงขายของต่างชาติลดลง เพราะที่ผ่านมาขายออกมาจำนวนมากแล้ว ส่วนจะกลับมาซื้อเมื่อไหร่นั้น คงต้องรอให้มีปัจจัยบวกเข้ามาหนุน เช่น การผลิตวัคซีนได้สำเร็จ  หรือเศรษฐกิจไทยทิศทางดีขึ้น  ดังนั้นดัชนีตลาดหุ้นไทยจากนี้จะยังคงผันผวน โอกาสขึ้นต่อจะจำกัด

159015793384

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าวว่า การขายหุ้นอย่างต่อเนื่องของนักลงทุนต่างชาติ สะท้อนภาพการถอนเงินออกจากตลาดหุ้นในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 ประกอบกับหุ้น 3 กลุ่มขนาดใหญ่ของไทย คือ กลุ่มพลังงาน กลุ่มธนาคาร และ กลุ่มท่องเที่ยว ไม่น่าสนใจลงทุน

ทั้งนี้กลุ่มพลังงาน ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลงจากความต้องการใช้ที่ลดลง กลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบจากดอกเบี้ยขาลง และต้องช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและเล็ง(เอสเอ็มอี) ทำให้มีโอกาสหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL)เพิ่มขึ้น ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวรับผลกระทบหนักจากการแพร่ระบาดโควิด-19 

ขณะกลุ่มหุ้นที่พอจะลงทุนได้ คือ กลุ่มค้าปลีก แต่ปัจจุบันต่างชาติถืออยู่จำนวนมากแล้ว จึงทำให้ต่างชาติยังคงขายหุ้นไทยแต่อาจไม่มากแล้วหลังขายหุ้นออกมามากพอสมควร

สำหรับสาเหตุที่นักลงทุนต่างชาติเทขายหุ้นไทยติดต่อกันมา 3-4 ปีนี้ นั้น ส่วนตัวไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจุบันการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติเปลี่ยนไป โดยปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ คือ นักลงทุนสถาบันที่ลงทุนระยะยาว และ นักลงทุนต่างชาติที่ส่งคำสั่งซื้อขายระยะสั้นโดยใช้โปรแกรมเทรด ซึ่งการซื้อขายของต่างชาติในปัจจุบันประมาณ 60-70%มาจากนักลงทุนระยะสั้น ส่วนนักลงทุนระยะยาวคาดมีการขายสัดส่วนเพียง 20-30%

นางสาวนันทนา ทวีรัตนศิลป์ กรรมการและผู้จัดการ บล.ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า แรงขายของนักลงทุนต่างชาติมีมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี โดยเฉพาะช่วงแรกของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดว่าไทยจะแย่ (กว่า

ปัจจุบัน) แต่ด้วยสถานการณ์ที่ดีขึ้น ทำให้นักลงทุนต่างชาติเริ่มหันกลับมาสนใจตลาดหุ้นไทย แต่ด้วยการฟื้นตัวที่ค่อนข้างรวดเร็วทำให้นักลงทุนต่างชาติส่วนหนึ่งซื้อไม่ทัน ขณะที่ตลาดหุ้นไทยก็เริ่มกลับมาแพงอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ เริ่มมีความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติจากฝั่งยุโรปและสหรัฐ ซึ่งเป็นกลุ่มที่โดยปกติแล้วจะไม่ได้สนใจตลาดหุ้นไทย เพราะสถานการณ์โควิด-19 ที่ไม่ได้เลวร้ายนักเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เพียงแต่ยังต้องรอจังหวะ เพราะดัชนีที่สูงกว่า 1,300 จุด เป็นจุดที่แพงเกินไป และเมื่อดูจากตัวเลข GDP ของไทยไตรมาสแรก ซึ่งติดลบเกือบ 2% จากที่คาดการณ์ว่าทั้งปีจะติดลบ5% ทำให้ยังมีช่องว่างให้ปรับตัวลงได้อีกครั้ง แต่ความเสี่ยงขาลงอาจจะไม่ลึกเท่ากับรอบที่ผ่านมา