การตลาดจานด่วน ‘New Me’ หลังโควิด-19

การตลาดจานด่วน ‘New Me’ หลังโควิด-19

กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจหรือองค์กรเวลานี้ คงหนี้ไม่พ้นทฤษฎีปลาเร็ว การปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมคนที่เปลี่ยนแปลงไป มาทำความรู้จักกับหลักการ 5 REs และ Co-Strategy รวมถึงการปรับตัวเองด้วยหลักการ SHIFT ซึ่งเป็นอย่างไรติดตามอ่านได้ที่นี่

พฤติกรรมของคนเราเกิดจากความต้องการภายใน หรือเรียกว่า Insight แต่ทุกวันนี้ ปัจจัยภายในของเราถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป นั่นคือ โควิด-19 นั่นเอง ซึ่งมันก่อให้เกิดความกลัว หรือ Fear ขึ้นมา

อย่างไรก็ดี แต่ลึกๆ แล้ว ความต้องการภายในของคนยังมีอยู่ หน้าที่ของเราก็คือ การหาทางกระตุ้นความต้องการเหล่านั้นให้เกิดขึ้นอย่างชัดเจน

ดังนั้น การวางแผนการตลาดจึงห้ามทำโดยการ “เหมากลุ่ม” ก็เพราะความต้องการหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของแต่ละกลุ่มคนจะไม่มีทางเหมือนกัน

โดยปกติ เราอาจ Segmentation ลูกค้าจากเพศหรือจากรายได้ แต่ในช่วงเวลานี้ นักการตลาดอาจต้องแบ่งโดย Perceive Risk หรือการยอมรับความเสี่ยง

ซึ่งบ่อยครั้งที่เวลาธุรกิจประสบปัญหา งบการตลาดมักจะถูกตัดออกเป็นสิ่งแรกๆ ประเด็นก็คือ เราตีความของคำว่าการตลาดไว้อย่างไร ถ้าคิดว่ามันคือการสื่อสาร งบการโฆษณาก็จะถูกตัดออกไปแน่นอน

แต่แท้จริงการตลาดก็คือ การเข้าใจ Insight เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า หรือพูดง่ายๆ ว่าเราควรทำอย่างไรให้ลูกค้าพอใจ เราได้กำไร และธุรกิจยั่งยืน

ธุรกิจจึงต้องปรับตัวด้วยหลักการ “5 REs” ประกอบด้วย 

1.Retool เปลี่ยนมาใช้เครื่องมือ digital ให้มากขึ้น 

2.Re-target ปรับเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย

3.Re-business เปลี่ยนวิธีหารายได้จากธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ 

4.Re-Process เปลี่ยนกระบวนท่าเป็นฝ่ายเข้าหาลูกค้า

5.Reunite เปลี่ยนใจให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน เพราะถ้าไม่เปลี่ยน ระวังจะ REBORN ไปเกิดใหม่

ทั้งยังต้องปรับเปลี่ยนมาใช้กลยุทธการร่วมมือกัน หรือ Co-Strategy ได้แก่

1.Co-Product นำเสนอสินค้าสู่ลูกค้าร่วมกัน

2.Co-Price ร่วมกันเพื่อให้ต้นทุนลดลง และลดราคาให้ลูกค้าได้

3.Co-Place (Channel) ใช้ช่องทางจัดจำหน่ายร่วมกัน 

4.Co-Promotion จัดโปรโมชั่นร่วมกัน

5.Co-Process รวมตัวกันเพื่อแบ่งปัน ทรัพยากรในการบริการลูกค้า

6.Co-People ใช้พนักงานร่วมกัน

เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ให้ถามตัวเองก่อนว่า เราปรับตัวแล้วหรือยังเมื่อเกิด New Normal เราเองก็จะต้องเป็น New Me เพื่ออยู่รอดให้ได้ โดยใช้หลักการปรับตัว SHIFT ดังนี้

  • Segmentation by insight คือจัดกลุ่มลูกค้าตาม insight ไม่ใช่ตาม Demographic อีกต่อไป 
  • Holistic Marketing ใช้การตลาดแบบองค์รวม มองให้รอบด้าน รวมไปถึงนอกอุตสาหกรรม
  • Identity สร้างเอกลักษณ์ อัตตลักษณ์ของเรา
  • Flick Strategy ปรับเปลี่ยนกลยุทธอย่างรวดเร็ว
  • Turning Point หาจุดเปลี่ยนของธุรกิจเราให้ได้ 
  • Only time will tell เวลาเท่านั้นที่จะบอกเราได้ อย่าเพิ่งคาดเดาอะไรจนเกินกว่าเหตุ

โลกการตลาดไม่ใช่โลกของการทำกำไร แต่เป็นโลกของการเข้าใจความต้องการของลูกค้า เพราะรายได้ของกิจการจะแปรตามความสุขที่ลูกค้าได้รับ ถ้าอยากได้เงินจากลูกค้า จงลงทุนโดยการให้ความรักและความสุขกับลูกค้าก่อน ตามประโยคที่ว่า Invest first, Harvest later. Every business is people business. เพราะฉะนั้นการตลาดถึงเกี่ยวกับความรู้สึก และประสบการณ์ที่นำเสนอให้กับลูกค้า

ภายในงานสัมมนามีคำถามว่า หากลูกค้าติดกับแผนลด แลก แจก ฟรี ของคู่แข่งเสียแล้ว เราควรทำอย่างไร?

คำตอบก็คือ เราต้องเลิกเป็นคู่แข่งกับคนกลุ่มนั้น โดยสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นให้ได้ เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องโดนจับไปเปรียบเทียบราคา ส่วนวิธีในการสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจนั้น อาจทำได้ 4 แบบ ก็คือ 

1.แตกต่างที่สินค้า แต่เป็นวิธีที่ลอกเลียนได้ง่าย

2.แตกต่างที่การบริการ

3.แตกต่างที่คน

4.แตกต่างด้วยภาพลักษณ์และอารมณ์ ซึ่งลอกเลียนแบบได้ยากที่สุด

ต้องกลับมาถามตัวเองก่อนว่า กลุ่มเป้าหมายของเราคือใคร แล้วค่อยกลับมาคิดอีกทีว่า เป้าหมายกลุ่มนั้นต้องการ “ความแตกต่าง” ด้านไหนกันแน่ แล้วจึงค่อยสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นตามความต้องการนั้นๆ อย่าคิดเอาเอง

ณ ตอนนี้ Mass Maketing is a Mass Mistake. ดังนั้นเราจงเลือกกลุ่มลูกค้าของตัวเองให้ชัดเจน อย่าทำ Story Telling ที่เกิดจาก Product แต่จงทำ Story Telling ที่เกิดจากประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับ และเมื่อทำได้ มันจะกลายเป็น “เรื่องราวของเรา”

ยอดขายเป็นภาพสะท้อนของความสุขของลูกค้า ถ้าอยากได้ยอดขายเพิ่ม จงเพิ่มความสุขให้กับลูกค้า เหล่านี้คือเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ การเก็บตกงานสัมมนาจุฬาธุรกิจพิชิตโควิด-19 ครับ