Sideway Down

Sideway Down

ดัชนีวานนี้ปิดลดลงเล็กน้อย อย่างไรก็ดี ในระหว่างวันดัชนีแกว่งตัวผันผวนในแดนบวกสลับลบ คล้ายกับตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่

ขณะที่ ดัชนีภายในประเทศถูกแรงขายทำกำไรหลังจากปรับตัวขึ้นต่อเนื่องหลายวัน ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,320.69 จุด (-1.51 จุด) Volume 7.0 หมื่นลบ. ต่างชาติ -3,349.65 ลบ. TFEX Net -896 สัญญา ตราสารหนี้ -231 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 101.78 จุด -0.41% กังวลว่าความตึงเครียดสหรัฐ-จีนอาจจะนำไปสู่สงครามการค้ารอบใหม่และข้อมูลศก.ที่ซบเซาของสหรัฐโดยเฉพาะตัวเลขผู้ยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานสูงกว่าคาด

+ราคาน้ำมันดิบ WTI บวก 43 เซนต์ +1.3% ปิดที่ 33.92 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง การปรับลดกำลังการผลิตของกลุ่มโอเปก และความหวังว่าอุปสงค์น้ำมันจะฟื้นตัวหลังคลายล็อกดาวน์

+ดัชนี PMI ภาคผลิต-บริการสหรัฐดีดตัวทำนิวไฮ 2 เดือนในพ.ค.

-สหรัฐเปิดเผยตัวเลขศก.อ่อนแอ ได้แก่ ผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกจำนวน 2.44 ล้านรายสูงกว่าคาดที่ระดับ 2.40 ล้านราย ยอดขายบ้านมือสองต่ำสุดในรอบ 9 ปี ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจร่วงลง 4.4% ในเดือนเม.ย.

+/- BOJ มีมติคงดอกเบี้ย -0.1% ในการประชุมฉุกเฉินพร้อมจัดหาเงินกู้ 30 ล้านล้านเยนให้ SMEเพิ่มเติม

+/-ตลท.-TFEX เล็งขยายเกณฑ์ชั่วคราว Short Sell, Ceiling & Floor ออกไปเป็น 30 ก.ย.63 เปิดรับฟังความเห็นถึง 25 พ.ค.

+/-รมว.คลังคาด GDP จุดต่ำสุดใน Q2 ก่อนฟื้นตัวใน Q3 และพุ่งแรงใน Q4

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับตัวลง 15.82 จุด -0.55%

-ดัชนีนิกเกอิปิดลบ 42.84 จุด -0.21% เช้านี้เปิดลบ

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.93 แสนลบ. ค่าเงินบาท 31.84 บาท/US

*จับตาจีนจัดประชุมสภาประชาชนแห่งชาติประจำปี BOJ ประชุมฉุกเฉินนโยบายการเงิน

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทย Sideway Down จากความวิตกกังวลหลังจากวุฒิสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายที่อาจทำให้บริษัทสัญชาติจีนที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้นสหรัฐถูกถอดออกจากตลาด ซึ่งอาจทำให้เกิดสงครามการค้ารอบใหม่ตามมา ประกอบกับแรงกดดันจากการที่ สมช. เสนอให้ต่อพรก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,305-1,330 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

CKP Analyst meeting (ซื้อลงทุน Bloomberg Consensus 4.91)

-รายงานขาดทุน 1Q63 ที่ -340 ลบ. -166%QoQ และ -345%YoY เนื่องจากผลกระทบของภาวะภัยแล้งส่งผลให้ผลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าน้ำงึม 2 ผลิตไฟฟ้าได้ลดลง ด้านเขื่อนไซยะบรุรีบริษัทรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุน 341 ล้านบาท อย่างไรก็ตามโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ บางเขนชัย สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นจากจากการดำเนินการเชิงพาณิชย์รวม 4.1 MW ตั้งแต่ปี 62 และโรงไฟฟ้าบางประอินผลิตไฟฟ้าได้ลดลงเนื่องจากมีหยุดซ่อมบำรุงในเดือนมกราคม ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าจากลูกค้าอุตสาหกรรมยังทรงตัวเนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

-คาดผลประกอบการ 2Q63 ปรับตัวดีขึ้นจาก 1Q63 เนื่องจากปริมาณน้ำทั้งเขื่อนน้ำงึม 2 และไซยะบุรีปรับตัวดีขึ้น ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บางเขนชัยได้รับผลบวกจากภาวะอากาศร้อนทำให้ผลิตไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามยอดขายไฟฟ้าบางประอินมีแนวโน้มอ่อนตัวจากการปิดภาคธุรกิจในเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา ด้านต้นทุนทางการเงินของบริษัทมีแนวโน้มปรับตัวลงตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยคาดว่าจะได้รับผลบวกในครึ่งปีหลัง

-ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลประกอบการในช่วงที่เหลือของปีนี้เนื่องจากจะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้โรงไฟฟ้าพลังงานทั้ง 2 แห่งซึ่งสร้างกำไรหลักให้บริษัทผลประกอบการปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวลงจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มเติมในช่วงครึ่งปีหลังหนุนผลประกอบการเพิ่มเติม เราจึงแนะนำ ซื้อลงทุน

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่จะเข้าคำนวณ MSCI Global Standard (AWC BAM KTC) มีผล 29 พ.ค. 
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากมาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 2 (HMPRO DOHOME COM7 AU M)
  • หุ้นที่มีแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ดี (WICE TASCO CPF)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จาก กนง. ลดดอกเบี้ย (BAM MTC SAWAD SINGER)

หุ้นมีข่าว   

·         (+) BGRIM (Bloomberg Consensus 50.85 บาท) มั่นใจ BGRIM จะได้ใบอนุญาตจัดหาและค้าส่ง LNG ประมาณ 5-6 แสนตันต่อปี จากการประชุมกกพ.ในวันนี้ หลังวานนี้ กลุ่ม GULF ผ่านฉลุยคว้า 2 ใบอนุญาตนำเข้า LNG รวม 1.7 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้ในโรงไฟฟ้า SPP 19 แห่ง จำนวน 3 แสนตัน และที่ร่วมกับ RATCH ใช้เป็นเชื้อเพลิงโรงไฟฟ้าหินกอง 1.4 ล้านตันต่อปี (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         ความเห็น หาก BGRIM ได้รับใบอนุญาตจัดหา LNG จะเป็นประเด็นบวกต่อผลประกอบการ เนื่องจากช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงลง

·          (-) MGT (ราคาเหมาะสม 2.66 บาท) เตรียมทบทวนเป้ารายได้ปีนี้ จากเดิมคาดมีรายได้ 950 ล้านบาท หลังปิดงบไตรมาส 2/63 เหตุพ.ค.เริ่มเห็นผลกระทบโควิด-19 พร้อมลุยลงทุน 2 โครงการ โครงการโรงไฟฟ้าที่ลงทุนกับกฟภ.-โครงการผลิตกราไฟต์กับพันธมิตรญี่ปุ่นคาดจัดตั้งบริษัทเสร็จไตรมาส 4/63 และสร้างโรงงานเร็วสุดไตรมาส 1/64  (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         (+) GULF (Bloomberg Consensus 34.60 บาท)   โบรกประเมินมี Upside จากการคว้าใบอนุญาตจัดหา-ค้าส่ง LNG 3 แสนตันต่อปี ประเมินทุกๆ GPM ที่สูงกว่าคาด 100 Basis Point (bps) จะเป็น Upside ต่อราคาเป้าหมาย 0.10 บาทต่อหุ้น ขณะที่อยู่ระหว่างทบทวนราคาเป้าหมาย ด้านผู้บริหารชี้ช่วยลดต้นทุนผลิตค่าไฟฟ้าของ SPP ในกลุ่ม หนุนต้นทุนค่าไฟฟ้าลูกค้านิคมลดลง (ที่มา ทันหุ้น)

·         (+) CCET (Bloomberg Consensus - บาท) เผยนำบริษัทลูก "CCPT-KY" เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน รองรับการขยายธุรกิจในอนาคตทั้งในและต่างประเทศ-เสริมแกร่งการเงิน คาดแล้วเสร็จไตรมาส 4/2564 ด้านผลงานไตรมาส 1/2563 มีกำไรสุทธิ 127.69 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.95% มีรายได้ 2.2 หมื่นล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)

·         (+) DELTA (Bloomberg Consensus 40.32 บาท)  ผู้บริหาร DELTA "อนุสรณ์ มุทราอิศ" ส่งซิกครึ่งแรกปี 2563 ฟอร์มดีต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อานิสงส์ดีมานด์หนุน พร้อมยิ้มรับสหรัฐอเมริกา-ยุโรปคลายล็อกดาวน์ เดินหน้ารุกขยายฐานกลุ่มลูกค้าใหม่ดันยอดคำสั่งซื้อตลาดส่งออกเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

·         (-) JUBILE (ถือ ราคาเหมาะสม 13.80) เล็งปรับเป้ารายได้ปี 63 จากคาดโต 8-10% พร้อมทบทวนแผนขยายสาขา 3-5 แห่ง รับผลกระทบโควิด (ที่มาอินโฟเควสท์)

·         ความเห็น เราได้ปรับประมาณการกำไรปี 63 ลงจาก 280 ลบ.เหลือ 160 ลบ. เนื่องจากคาดว่าผลประกอบการ 2Q63 จะอ่อนตัวเนื่องจากร้านค้าของบริษัทถูกปิดตั้งแต่ 22 มีนาคม 15 พฤษภาคมตามคำสั่งของภาครัฐ โดยผลประกอบการมีโอกาสฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปใน 2H63 เพราะสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

·         SC Conference Call (Bloomberg Consensus 2.09)

·         1Q63 มีกำไรสุทธิ 301 ล้านบาท -4%YoY โดยมีรายได้จากการดำเนินงาน 3,292 ล้านบาท +3%YoY อัตรากำไรขั้นต้น 34.3% ใกล้เคียง 1Q62 ที่ระดับ 34.1% อัตราส่วนคชจ.ขายและบริหารเพิ่มขึ้นเป็น 21.6% จาก 20.6% ใน 1Q62 อัตรากำไรสุทธิลดเหลือ 9.1% จาก 9.9% ใน 1Q62 ปลายมี.ค.63 มี backlog 6,274 ล้านบาทราว 60% จะโอนในปีนี้ ยอดขาย presale 5M63 4,909 ล้านบาท +7%YoY หลังผ่อนคลาย lockdown ยอดขายโครงการแนวราบดีขึ้นมากชดเชยยอดขายคอนโดฯที่ลดลง ผู้บริหารเปิดเผยแนวทางบริหารสภาพคล่องในช่วงวิกฤตโควิด-19 ด้วยการเลื่อนแผนซื้อที่ดินใหม่ไปในปีหน้า ชะลอแผนเปิดดำเนินงานธุรกิจโรงแรมไปปีหน้าและลดจำนวนจาก 5 แห่งเหลือ 3 แห่ง ใช้วงเงินกู้จากธนาคารแทนการออกหุ้นกู้ทดแทนหุ้นกู้ที่จะครบกำหนด เร่งระบายสต๊อกคอนโดฯ ในการปรับลดมาร์จิ้น

·         ความเห็น Bloomberg Consensus คาดกำไรปี 63 เฉลี่ย 1.2 พันล้านบาท -42% จากปัจจัยกดดันหลักในการเร่งระบายสต๊อกคอนโด อย่างไรก็ดี แนะนำถือยาวรอรับปันผล จาก yield สูง 9.6%

CPN Conference Call (“ทยอยสะสม” Bloomberg Consensus 58.23)

  • แนวโน้มกำไร 2Q63 คาดลดลงเมื่อเปรียบเทียบทั้ง QoQ และ YoY เนื่องจาก 1Q63 มีรายการพิเศษที่ไม่เกิดขึ้นประจำจากการเลิกกองทรัสต์ GLANDRT และผลจากการใช้มาตรฐานบัญชี TFRS16 เรื่องสัญญาเช่า ทำให้กำไรสุทธิที่รายงาน 4,592 ล้านบาทมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 2,557 ล้านบาท -7%YoY %GP ลดเหลือ 48% จาก 51% ในปี 62 EBITDA margin 53% ใกล้เคียงระดับ 54% ในปี 62 SSSG -2.9% ขณะที่มาตรการ lockdown ยังดำเนินต่ออีกราวครึ่งหนึ่งของช่วง 2Q63 ผู้บริหารได้ชี้แจงถึงการบริหารสภาพคล่องทางการเงินด้วยการลดการจ่ายเงินปันผลปี 62 จากเดิมหุ้นละ 1.30 บาทเหลือ 0.80 บาท XD 28 พ.ค. วันจ่าย 12 มิ.ย. การทบทวนแผนการลงทุนทั้งหมดโดยชะลอการลงทุนในโครงการใหม่ที่ยังไม่ประกาศ ปรับเลื่อนเวลาปิดซ่อมบำรุงธุรกิจโรงแรมให้เร็วขึ้นโดยปิดบริการโรงแรมฮิลตันพัทยาระหว่างพ.ค. พ.ย.
  • ความเห็น ปัจจัยพื้นฐานในระยะยาวยังมีศักยภาพในการเติบโตจากธุรกิจศูนย์การค้าและสำนักงานให้เช่า ธุรกิจศูนย์อาหาร ธุรกิจโรงแรม และธุรกิจที่พักอาศัยที่คาดจะเห็นผลการดำเนินงานฟื้นตัวในช่วงปลายปีเมื่อดำเนินธุรกิจเต็มที่ ขณะที่ในระยะสั้นยังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ราคาหุ้นลดลง 20%YTD ซื้อขายที่ PE 16.5 เท่าสูงกว่า PE กลุ่มที่ 5 เท่า เป็นโอกาสทยอยสะสม
  • ประเด็นลบกลุ่มธนาคาร : ธนาคารพาณิชย์ต่างทยอยปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 25-0.35% เพื่อตอบรับมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% เหลือ 0.50% ต่อปี เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา
  • ความเห็น คาดการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจะกดดันรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและผลการดำเนินการของหุ้นกลุ่มธนาคารในปีนี้ .ให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารเป็น Underweight