“สุริยะ”เร่งหนุนเศรษฐกิจฐานราก

“สุริยะ”เร่งหนุนเศรษฐกิจฐานราก

รมว.อุตสาหกรรม จ่อคลอดมาตรการอุ้ม4 กลุ่ม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก รับ new normal

นายสุริยะ กล่าวว่า 3.กลุ่มชุมชน วิสาหกิจชุมชนมุ่งเน้นกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมให้กับชุมชนค้นหาอัตลักษณ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้วิถีชุมชนโดยการใช้การท่องเที่ยวเป็นตัวนำ เพื่อขายสินค้าและบริการในชุมชน อีกทั้งยกระดับเทคโนโลยีการผลิตด้วยเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงให้กับชุมชน พัฒนาโลจิสติกส์ เสริมศักยภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างรายได้และความเข็มแข็งให้ชุมชนเพราะหลังโควิด -19 ธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชนจะไม่เหมือนเดิมเพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปเกือบหมดจากเดิม 39 ล้านคน ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยจำนวน 11 ล้านคนที่มีกำลังซื้อสูงที่ไปเที่ยวในต่างประเทศจะไม่สามารถไปเที่ยวต่างประเทศได้เช่นกัน ทำให้ต้องหันมาเที่ยวในไทย แต่จำนวนนี้ทดแทนนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เพียง 28% ทำให้ภาพรวมการท่องเที่ยวยังคงย่ำแย่

ดังนั้น โรงแรมชั้นนำต่างๆ จะต้องแข่งขันลดราคา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ในอดีตเงิน 2 พันบาท อาจจะได้ห้องพักทั่วไป แต่หลังโควิด-19 เงิน 2 พันบาทจะใช้พักห้องหรูระดับ 5 พันบาทได้ไม่ยาก เกิดลดแลกแจกแถมดึงดูดคนไทยไปเข้าพักให้ได้มากที่สุด ทำให้กระทบต่อธุรกิจโฮมสเตย์ ซึ่งกระทรวงฯเห็นว่า จะต้องมีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชนกับผู้ประกอบการโรงแรมและการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ให้เข้ามาท่องเที่ยวชุนในลักษณะ one-day trip รวมทั้งจะรวมกลุ่มชุมชนนำเครื่องจักรพื้นฐานมาสนับสนุนชุมชนให้ผลิตสินค้า ของที่ระลึก ของกินของใช้ให้กับนักท่องเที่ยว เพื่อสร้างรายได้เข้าชุมชนให้มากที่สุด

4.เกษตร และธุรกิจการเกษตรโดยใช้วิถีแบบเกษตรอุตสาหกรรมผ่านการพัฒนานักธุรกิจเกษตรพันธุ์ใหม่ พัฒนาองค์ความรู้ให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการ การแปรรูปสินค้าชุมชนให้มีมูลค่ามากขึ้นด้วยเครื่องจักรกลางในเครือข่ายศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (ไอทีซี) ทั้งระดับภาคและจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งส่งเสริมเกษตรกรให้นำเครื่องจักรเข้ามาใช้ในการผลิตมากขึ้นยกระดับไปสู่สมาร์ทฟาร์มเมอร์

“แนวทางการฟื้นฟูดังกล่าว จะสามารถเสริมสภาพคล่องธุรกิจไปต่อได้ และช่วยสนับสนุนการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเป้าหมายจะช่วยให้คนทั้ง 4 กลุ่มอยู่ได้ในช่วงวิกฤติโควิด-19เพื่อปรับตัวสู่ new normal และสามารถต่อยอดธุรกิจได้ในอนาคต ”

นายสุริยะ กล่าวว่า  สิ่งที่น่าเป็นห่วงและอาจจะกลายเป็นปัญหาที่สำคัญในอนาคต คือ การผูกขาดของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากธุรกิจต่างๆตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่จะเข้าสู่อีคอมเมิร์ซเป็นจำนวนมาก ทำให้ธุรกิจแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ และแพลตฟอร์มออนไลน์เดลิเวอลี่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติปรับขึ้นค่าบริการสูงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพ่อค้าคนกลางที่สามารถควบคุมราคาได้ทั้งหมด ในขณะที่เอสเอ็มอีก็มีทางเลือกน้อย ดังนั้นกระทรวงฯอยู่ระหว่างหาแนวทางแก้ไขการสร้างระบบจูงใจและสนับสนุนให้แพลตฟอร์มของไทยมีการพัฒนาและมีจำนวนมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการไทย