คนไทย 5 ล้านคน แห่เช็คอิน ระบบไทยชนะ

คนไทย 5 ล้านคน แห่เช็คอิน ระบบไทยชนะ

กระทรวงดิจิทัล เผย ยอดใช้ "ไทยชนะ" กว่า 5 ล้านคน ขอประชาชนประเมินสถานประกอบการหลังใช้บริการ เป็นฐานข้อมูลผ่อนปรนระยะต่อไป ขณะที่สาธารณสุข เตรียมรวบรวมข้อมูลการรักษาด้วยพลาสม่าจากทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและพัฒนาต่อในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19

ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข แถลงถึงความก้าวหน้า แพลตฟอร์มดิจิทัลรองรับสถานการณ์โรคโควิด 19 นาย พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการ กระทรวงดิจิทัล เปิดเผยว่า การทำงานของแพลตฟอร์ม ไทยชนะ วันนี้ มีคนไทยใช้ มากกว่า5 ล้านคน แต่ละวัน มีคนใช้บริการ ประมาณ 2ล้านคน แต่ละวันมีการเชคอินเช็คเอาท์ มากกว่า 4 ล้านครั้ง มีร้านค้าลงทะเบียน ประมาณ 68,000 ร้านค้า มีประชาชนร้อยละ70 ทำการเช็คอินเช็คเอาท์ โดยมีร้อยละ20 ที่ลืมเช็คเอาท์

ร้านค้าจะต้องลงทะเบียนเข้าสู่ระบบไทยชนะ ร้านค้าจะต้องมีการลงทะเบียนยืนยันตัวตน จากกรมการปกครอง ตัวระบบจะอนุญาตให้ร้านค้าพิมพ์คิวอาร์โค้ดให้ผู้ใช้บริการแสกนเข้า-ออก ส่วนประชาชน ใช้เพียงเบอร์โทรศัพท์ ลงทะเบียนในครั้งแรก ที่เช็คอิน

ผู้ตรวจราชการ กระทรวงดิจิทัล ยืนยัน ข้อมูลประชาชนเป็นความลับ โดยขอให้ประชาชนประเมินสถานประกอบการในช่วงแรก เพื่อเป็นข้อมูล ในการประเมินการผ่อนปรนระยะต่อไป ในกลุ่มกิจการสีเหลือ และสีแดง โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.3 โดยคะแนนจะช่วยประเมิน หากการ์ดตก พบว่า ในส่วนการทำความสะอาดพื้นผิว ที่มีคะแนนต่ำ ในกลุ่มร้านทำผม ร้านตัดขนสัตว์

ขณะที่ นพ.เฉวตสรร นามวาท กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ระบุถึง ช่องทาง แอบพลิเคชั่น หมอชนะ มีการดาวน์โหลด กว่า 1แสนครั้ง สอดรับกับฐานกลางข้อมูล ของศบค. ซึ่งเป็นการร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน และ ภาครัฐ โดยมีกระทรวงดิจิตอลฯ เข้ามาดูเรื่องความปลอดภัยของฐานข้อมูล

ลักษณะเด่น ของแอพพลิเคชั่น หมอชนะ ประชาชน สามารถสแกนนข้อมูลของร้าน หรือ ข้อมูลการเดินทางของแต่ละบุคคล เพื่อเก็บไว้เป็นฐานข้อมูลในการเตือนพื้นที่เสี่ยง และนำมาใช้ในการสอบสวนโรค มีการประเมินอาการตนเอง แบ่งตามสีต่างๆ โดยได้มีการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูล ของ แอพลิเคชั่นไทยชนะ ที่ถูกนำมาใช้ในปัจจุบัน

ด้าน นายแพทย์อนันต์ กนกศิลป์ ผอ.ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สป.สธ. ระบุว่า ทางกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่เก็บฐานข้อมูล ดูแลการจัดการสถานพยาบาล 1,400 แห่ง เพื่อเป็นระบบการดูแลสุขภาพแห่งชาติ ในการตรวจสอบ ควบคุมป้องกันโรค ยืนยันผู้ป่วย และวิธีการรักษา ทั้งหมดต้องใช้ฐานข้อมูลเชื่อมโยงกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินทรัพยากรทางสาธารณสุข เพื่อให้เพียงพอ ทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ การดูแลผู้ป่วย รองรับ การระบาดรอบ2

นพ.บัญชา ค้าของ รองอธิบดีกรมอนามัย ระบุว่า ตอนนี้กรมอนามัย จัดทำคู่มือ สุขอนามัยสถานประกอบการ พื้นที่สาธารณะต่างๆ เพื่อให้ประชาชน สถานประกอบการได้ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตัว เช่น ที่ผ่านมา ที่ได้มีการเปิดใช้ ในแอพพชิเคชั่น Thaistopcovid อนาคต อาจจะมีการรวมกันของ3แพลตฟอร์ม เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลกลางในการควบคุมโรค

ขณะที่ นายแพทย์ อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า วันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่1 ราย กลับมาจากประเทศบาเรน มีอาชีพทำอาหาร ทำให้ ยอดผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,034 ราย โดยมีข่าวดี ผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้ายได้ 31 ราย ทำให้คงเหลือ อยู่ในโรงพยาบาล 90 ราย ทั้งนี้ จะมีประชาชนคนไทย ทยอย เดินทางกลับประเทศไทย โดยมาจาก ประเทศ บราซิล และ ประเทศรัสเซีย 400 ราย ซึ่งทั้งหมดจะต้องเข้าสู่ กระบวนการเฝ้าระวังโรค สถานกักกันโรคของรัฐที่จัดเตรียมไว้ให้

ส่วนการรักผู้ป่วยโควิด19 ด้วยพลาสม่า หลังจากมีการขอให้คนที่หายดี จากโควิด-19 มาบริจาคภายใน60 วัน โดยภูมิคุ้มกันของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ซึ่งแพทย์ก็ต้องนำไปตรวจสอบ วินิจฉัยก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลจากโรงพยายาลแต่ละแห่ง ถึงการใช้พลาสม่าในการรักษาผู้ป่วยว่ามีประสิทธิภาพดีหรือไม่