พักตัว รอปัจจัยใหม่

พักตัว รอปัจจัยใหม่

การทดลองวัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna ที่ยังไม่ชัดเจนพอจะประเมินประสิทธิภาพการต้านไวรัส Covid-19 นั้นจะเป็นแรงกดดันให้ภาวะตลาดพักตัว

ตลาดหุ้นวานนี้

SET วานนี้พุ่งขึ้นแรงปิดที่ 1,309 จุด (+23.42 จุด) หรือ +1.82% ด้วย Volume ซื้อขาย 7.9 หมื่นล้านบาท ตอบรับความคืบหน้าการผลิตวัคซีนต่อต้านไวรัส Covid-19 รวมถึง FED พร้อมจะอัดฉีดเม็ดเงินแบบไม่จำกัดเพื่อพยุงเศรษฐกิจจากผลกระทบไวรัส Covid-19 ส่งผลให้มีแรงซื้อในกลุ่มหลัก ได้แก่ Tourism Petro Bank และ Energ หนุนดัชนีพุ่งผ่าน 1,300 จุดได้สำเร็จ ส่วนนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 892 ล้านบาท  และขายสุทธิในตลาดพันธบัตร 1,707 ล้านบาท แต่ Net Short TFEX SET50  6,649 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้     

เรามีมุมมองเป็นกลางคาด SET พักตัวในกรอบ 1,300 – 1,320 จุด โดยแม้ว่าภาวะตลาดจะได้แรงหนุนภายในจากการปลด Lockdown เฟส 2 รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นยืนเหนือ 30 US/Barrel จากคาดการณ์ว่า Demand การใช้น้ำมันดิบจะฟื้นตัวหลังการผ่อนคลาย Lockdown ในหลายประเทศได้หนุนต่อความมั่นใจของนักลงทุน อย่างไรก็ตามข่าวผลการทดลองวัคซีน mRNA-1273 ของบริษัท Moderna ที่ยังไม่ชัดเจนพอจะประเมินประสิทธิภาพการต้านไวรัส Covid-19 นั้นจะเป็นแรงกดดันให้ภาวะตลาดพักตัว นอกจากนี้ Valuation ที่ค่อนข้างตึงตัวของ SET หลัง FW P/E พุ่งขึ้นกว่า 17 เท่า (สูงกว่ากลุ่ม TIP) จะเป็นตัวฉุดให้ดัชนีถูกแรงขายด้วยเช่นกัน

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มพลังงาน (PTT, PTTEP, TOP, PTTGC, SPRC) อานิสงส์ราคาน้ำมันดิบฟื้นตัวขึ้นหลังซาอุฯลดกำลังการผลิตเพิ่มเติม
  • กลุ่มค้าปลีก (CRC, CPN, HMPRO, GLOBAL, COM7, DOHOME) อานิสงส์ศบค.เตรียมผ่อนปรนมาตรการ Lockdown เฟส 2
  • กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q20 จะเติบโตขึ้น  (CKP, TASCO, EPG)

หุ้นแนะนำวันนี้

  • BTS (ปิด 12 ซื้อ /เป้า 13.5) จำนวนผู้โดยสารทยอยเพิ่มขึ้นหลังจากที่ภาครัฐผ่อนคลายกิจกรรมเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 และคาดว่าจำนวนผู้โดยสารจะเร่งตัวขึ้นอีกในช่วงปีหลังเนื่องจาก BTS จะเปิดเส้นทางเดินรถสายสีเขียวเพิ่มอีก 4 สถานีในช่วงเดือน มิ.ย. (สถานี ม.เกษตร ถึง สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ)
  • KTC (ปิด 37.75 ซื้อ/เป้าสูงสุด IAA Consensus 45) เก็งกำไร กนง. ลดดอกเบี้ยส่งผลบวกโดยตรงกับกลุ่มไฟแนนซ์ นอกจากนี้ KTC ยังมีปัจจัยบวกจากที่ภาครัฐอนุญาติให้ห้างฯและศูนย์การค้ากลับมาเปิดดำเนินการคาดหนุนยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเร่งตัวขึ้น ขณะเดียวกันยังมีแรงซื้อหนุนจากที่ KTC ได้ปรับเข้าคำนวณในดัชนี MSCI รอบใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ 29 พ.ค. 

บทวิเคราะห์วันนี้

ANAN (ปิด 1.4 ขาย/เป้า 1.2), CENTEL (ปิด 20.4 อัพเกรดเป็นซื้อ/เป้าใหม่ 24.8 เดิม 20), IRPC (ปิด 2.9 ซื้อ/เป้า 3.2), TRUE (ปิด 3.32 ซื้อ/เป้าใหม่ 3.9 เดิม 4.2)

ประเด็นสำคัญวันนี้

  • (-) ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุผลทดลองวัคซีนของ Moderna ยังไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาในระยะถัดไป: Stat News ซึ่งเป็นเว็บไซต์ข่าวด้านสุขภาพของสหรัฐ อ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพว่าระบุว่าการทดลองวัคซีน mRNA-1273 ยังให้ข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพพอสำหรับการพัฒนาในลำดับถัดไป เนื่องจาก 1) Moderna ไม่ได้รายงานผลการวิเคราะห์แอนติบอดีของอาสาสมัครครบทั้งหมด 45 ราย โดยรายงานผลเพียง 8 รายเท่านั้น 2)ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอายุของอาสาสมัครว่าช่วงอายุเท่าไหร่ที่มีการตอบสนองกับวัคซีนได้ดี และ 3)การทดลองดังกล่าวใช้เวลาสั้นเกินไปทำให้ขาดข้อมูลที่ระบุได้ว่าวัคซีนตัวนี้จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้นานเพียงใด
  • (+) ประธานเฟดกล่าวแถลงการณ์ต่อสภาคองเกรส ยืนยัน เฟดพร้อมใช้ทุกเครื่องมือเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ: วานนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด และนาย นายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ เข้าให้การต่อสภาคองเกรส เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับมาตรการของเฟดและของรัฐบาลในการรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งทั้ง พาวเวลและมนูชิน ยืนยันที่จะเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับมาฟื้นตัว โดยจะทยอยระบายเม็ดเงินเข้าสู่ระบบอย่างต่อเนื่องต่อจากนี้ และยังให้คำมั่นว่าเฟดและรัฐบาลยังมีเครื่องมือเพียงพอ หากเศรษฐกิจสหรัฐมีความเสียหายในระยะยาว หรือมีภาคเศรษฐกิจล้มละลายจำนวนมาก
  • (+) คาด กนง. ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 0.5% ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ เป็นลบกับกลุ่มธนาคารแต่เป็นบวกกับกลุ่มไฟแนนซ์: วันที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะจัดประชุมเพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เบื้องต้นเราคาดว่า กนง.มีโอกาสที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จาก 0.75% เป็น 0.5% โดยมีปัจจัยสนับสนุนการปรับลดคือ 1)เพื่อพยุงและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจหลังจากที่เศรษฐกิจมีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะถดถอย (Recession) โดย GDP ไทยหดตัว 1.8% ใน 1Q20 และมีแนวโน้มจะหดตัวอีก 8-10% ใน 1Q20 และ 2) ไม่มีแรงกดดันจากอัตราเงินเฟ้อเพราะปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำมาก โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเดือน เม.ย.ติดลบ 2.99% ติดลบมากสุดในรอบ 11 ปี ซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของแบงก์ชาติที่ 1-4%