เช็คที่นี่! ‘สินเชื่อ’ ดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารไหนยังกู้ได้บ้าง

เช็คที่นี่! ‘สินเชื่อ’ ดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารไหนยังกู้ได้บ้าง

เปิดลิสต์โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่ยังเปิดให้ขอวงเงินกู้ได้

หลังจากที่ธนาคารต่างๆ ออกสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบช่วงโควิด-19 แต่ละโครงการได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

'ลงทะเบียนสินเชื่อธนาคารออมสิน' 10,000 บาท ยังเหลือสิทธิ์! เช็ควิธีลงทะเบียนที่นี่

เช็คด่วน! 'ธ.ก.ส' เปิดลงทะเบียน 'สินเชื่อฉุกเฉิน'

แบงก์ชาติ เปิด 10 ข้อเท็จจริง soft loan

  

"กรุงเทพธุรกิจ" รวบรวมข้อมูลสินเชื่อจากธนาคารต่างๆ พร้อมความคืบหน้าของแต่ละโครงการ ว่าสินเชื่อโครงการใดบ้างที่ยังสามารถขอกู้ได้ อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 20 พ.ค. 63 

   

โครงการสินเชื่อของธนาคารออมสินที่ยังสามารถขอสินเชื่อได้ คือ "สินเชื่อฉุกเฉิน สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ วงเงินกู้ 10,000 บาท" 

คุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ 

- สัญชาติไทย และอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ทั้งนี้เมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลากู้แล้วอายุต้องไม่เกิน 70 ปี
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระนอกภาคการเกษตร (เช่น พ่อค้าแม่ค้า ลูกจ้าง/รับจ้างทั่วไป ขับแท็กซี่ มัคคุเทศก์ เป็นต้น)
- มีรายได้ไม่เกินเดือนละ 30,000 บาท
- มีที่อยู่อาศัยแน่นอนที่ติดต่อได้
- ผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19

เงื่อนไขสินเชื่อ 

- วงเงิน 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) 0.10% ต่อเดือน
- ไม่ต้องมีหลักประกัน
- ระยะเวลาให้กู้ไม่เกิน 2 ปี ปลอดการผ่อนชำระหนี้ใน 6 งวดแรก เริ่มชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในงวดที่ 7 โดยหักเงินชำระจากบัญชีเงินฝากของผู้กู้
- ระยะเวลาอนุมัติเงินกู้และจัดทำสัญญา สิ้นสุดวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการจำนวน 20,000 ล้านบาท 

158995441848

อีกหนึ่งโครงการสินเชื่อที่ยังสามารถขอกู้ยืมได้ คือสินเชื่อในโครงการ "สินเชื่อฉุกเฉิน ธ.ก.ส." ซึ่งเปิดให้ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 63 เป็นต้นมา และยังสามารถขอกู้ยืมได้ไปจนถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่ายอดสินเชื่อเต็มวงเงิน

ความคืบหน้าของโครงการล่าสุด กษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดให้เริ่มลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2563 นั้น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีเกษตรกรและครอบครัวเกษตรกรเข้าลงทะเบียนผ่าน LINE Official BAAC Family ณ วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 จำนวน 1,862,710 ราย รวมจำนวนสินเชื่อ 18,545 ล้านบาท

ทั้งนี้ ธ.ก.ส.ได้เริ่มทยอยนัดหมายลูกค้ามานัดสัญญาพร้อมกันทั่วประเทศ ตามสาขาที่ลูกค้าเลือกไว้ในขั้นตอนลงทะเบียน และหลังจากทำสัญญาแล้วจะมี SMS แจ้งผล หากสินเชื่อได้รับการอนุมัติระบบจะทำการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากโดยตรงภายใน 1 วัน จากนั้นสามารถถอนเงินสดผ่านตู้ ATM โดยใช้บัตร ATM บัตรเดบิตหรือบริการกดเงินไม่ใช้บัตรผ่านแอพพลิเคชั่น ธ.ก.ส. A-Mobile สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการฯ ติดต่อได้ที่ Call Center 02 555 0555

รายละเอียด สินเชื่อฉุกเฉิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) 

- วงเงินกู้ไม่เกิน 10,000 บาท
- อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน
- ไม่ต้องใช้หลักประกัน
- ระยะเวลาจ่ายสินเชื่อ ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 15 เม.ย. 63 นัดทำสัญญาวันที่ 7 พ.ค. 63 ถึง 30 ธ.ค. 63
- ระยะเวลาชำระ ปลอดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 เดือนแรกนับจากวันกู้, กำหนดชำระคืนแล้วเสร็จภายใน 2 ปี 6 เดือนนับจากวันกู้ และสามารถแบ่งงวดชำระได้ตามความสามารถในการชำระคืน เช่น งวดชำระรายเดือน (24 งวด) ส่งชำระต่องวดประมาณ 429.17 บาท ราย 3 เดือน (8 งวด) 1,287.50 บาท ราย 6 เดือน (4 งวด) 2,575.00 บาท 

คุณสมบัติผู้กู้ เป็นเกษตรกรและครอบครัวของเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ

ขั้นตอนการขอสินเชื่อสำหรับผู้ที่เป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.อยู่แล้ว

158995560432

ขั้นตอนการขอสินเชื่อสำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นลูกค้าเงินกู้ ธ.ก.ส.

158995561046

รายละเอียดสินเชื่อ

วงเงิน: ​สถาบันการเงินสามารถอนุมัติวงเงินกู้ เพื่อยื่นขอกู้ soft loan ได้ ไม่เกิน 20% ของยอดหนี้คงค้างสินเชื่อ ณ 31 ธันวาคม 2562 ของลูกหนี้แต่ละรายของสถาบันการเงิน (ไม่รวมบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน)

โดย ธปท. จะจัดสรรวงเงินให้แต่ละสถาบันการเงินตามลำดับที่ยื่นคำขอ (first come, first served) ทั้งนี้ การพิจารณาวงเงินให้เน้นธุรกิจที่สถาบันการเงินพิจารณาแล้วว่าได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยไม่จำกัดวัตถุประสงค์ และส่งเสริมการจ้างงาน

ระยะเวลาขอกู้ยืมเงิน soft loan: ภายในระยะเวลา 6 เดือน นับจากวันที่ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้ หรือเต็มวงเงิน soft loan 500,000 ล้านบาท แต่ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องให้เงินช่วยเหลือต่อไปและยังมีวงเงินเหลืออยู่ ธปท. จะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกได้คราวละไม่เกิน 6 เดือนก็ได้

ทั้งนี้ การยื่นกู้แต่ละครั้ง ในช่วงแรกกำหนดสัปดาห์ละครั้ง ทุกวันจันทร์ ไม่เกิน 11.00 น. หรือวันทำการวันแรกของสัปดาห์ และจะได้รับเงินจาก ธปท. ภายใน 3 วันทำการผ่านระบบ BAHTNET ไม่เกิน 11.00 น. (อาจกำหนดวันให้สถาบันการเงินยื่นกู้เพิ่มเติม) เช่น ครั้งแรกกำหนดยื่นวันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2563 เวลา 11.00 น. ธปท. จะโอนเงินให้สถาบันการเงินในวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน 2563 (T+3) เวลา 11.00 น.

อัตราดอกเบี้ย: ในช่วง 2 ปีแรก ธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนพิเศษร้อยละ 2 ต่อปี โดยในช่วง 6 เดือนแรกรัฐบาลจะรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกหนี้ ส่งผลให้ลูกหนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านดอกเบี้ย และเพื่อสนับสนุนให้ธนาคารเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่ในภาวะที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังจะชดเชยความเสียหายบางส่วนให้แก่ธนาคารในส่วนที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมด้วย กรณีที่หนี้กลายเป็นหนี้เสียเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา 2 ปี โดยรัฐบาลจะชดเชยความเสียหายให้ไม่เกินร้อยละ 70 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50 ล้านบาท และชดเชยให้ไม่เกินร้อยละ 60 ของสินเชื่อที่ปล่อยเพิ่มสำหรับลูกหนี้ที่มีวงเงินสินเชื่อ 50-500 ล้านบาท

คุณสมบัติผู้กู้

​1. เป็นบุคคลที่มีสถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย (บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย) ที่มีวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมเพื่อเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน โดยจะต้องมีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มธุรกิจของผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีกับสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ไม่เกิน 500ล้านบาท และไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน (การนับกลุ่มลูกหนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit))

2. ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET และ MAI)

3. ไม่เป็น NPL ของสถาบันการเงินเอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 (การจัดชั้นพิจารณาเป็นรายลูกหนี้ ลูกหนี้ที่เป็น NPL หลัง 31ธันวาคม 2562 สามารถยื่นขอสินเชื่อตามโครงการนี้ได้ ทั้งนี้ ขึ้นกับการพิจารณาของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง)

ทั้งนี้ วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจ รวมถึงวงเงินสินเชื่อเช่าซื้อเฉพาะประเภท fleet เพื่อประกอบธุรกิจ แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กำกับ วงเงินสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต

สินเชื่อตามมาตรการนี้ ครอบคลุมนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศและประกอบธุรกิจในประเทศไทย โดยไม่ต้องพิจารณาสัดส่วนการถือหุ้น

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมมาตรการ Soft loan และการพักชำระหนี้ สำหรับ SMEs สอบถามรายละเอียดได้ทางโทรศัพท์ : 0 2283 6112  E-mail : [email protected]    

158995808089

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ iBank (ไอแบงก์) ออกโครงการสินเชื่อเพื่อสนับสนุนมาตรการ Soft Loan 2% ต่อปี 

วงเงิน: วงเงินเพิ่มเป็นบัญชีใหม่สูงสุดไม่เกิน 20% ของภาระหนี้คงค้าง ณ 31 ธันวาคม 2562 โดยให้นับรวมสินเชื่อธุรกิจทุกประเภทรวมสินเชื่อเช่าซื้อ Fleet เพื่อการประกอบธุรกิจ ยกเว้นวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ

อัตรากำไรผ่อนชำระ: 2% ต่อปี (ยกเว้นการเรียกเก็บกำไรในช่วง 6 เดือนแรก)

คุณสมบัติผู้กู้: 

- บุคคลธรรมดา/ นิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- เป็นลูกค้าสินเชื่อธุรกิจของธนาคารที่มีวงเงินรวมของกลุ่มไม่เกิน 200 ล้านบาท ทั้งนี้ วงเงินรวมของสินเชื่อธุรกิจ รวมสินเชื่อเช่าซื้อ Fleet เพื่อการประกอบธุรกิจ  แต่ไม่นับรวมวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคล วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กำกับ
- ไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ SET และ MAI
- ไม่เป็น NPF ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
- เป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ

สำหรับลูกค้าและผู้ประกอบการที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่สินเชื่อที่ดูแลบัญชีของท่าน ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ibank Call Center 1302