Sideways

Sideways

Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยวันนี้ :

คาดดัชนีฯ Sideways แนวรับ 1270 / 1265 จุด แนวต้าน 1293 / 1300 จุด ปัจจัยลบ คือ ความตึงเครียดระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากประเด็นหัวเหว่ย และความเสี่ยงที่รายงาน 1Q20E GDP ของไทยและญี่ปุ่นแย่กว่าคาดการณ์ โดยเช้านี้ญี่ปุ่นรายงาน GDP ใน 1Q20 หดตัวลง 3.4% จาก 4Q19 จากผลกระทบของ COVID-19 ส่วนปัจจัยบวก คือ ตลาดหุ้นโลกฟื้นตัวเมื่อวันศุกร์ นำโดยกลุ่มอิงราคาน้ำมันดิบ และเศรษฐกิจโลกคาดฟื้นตัว หลังการผ่อนคลาย lockdown

ประเด็นที่มีผลต่อตลาดวันนี้ ได้แก่

       1) จับตา รายงาน 1Q20E GDP ไทย/ญี่ปุ่น อาจเพิ่มความเสี่ยงของการปรับลดประมาณการปีนี้เพิ่มเติม

       2) ความเสี่ยงโลกเพิ่มขึ้น จากข่าวจีนอาจตอบโต้สหรัฐฯ ที่สั่งห้ามขายชิปให้บริษัท หัวเหว่ย

       3) ทางเทคนิค อยู่ในกรอบ Sideways เพื่อรอสัญญาณ Break Up/Down จับตาแรงซื้อ/ขาย ของกองทุนไทยและรายย่อยในประเทศ

ตัวเลขเศรษฐกิจวันนี้: 1Q20 GDP ของญี่ปุ่นหดตัวลง 3.4% (Consensus คาดเติบโต -1.1% QoQ คิดเป็น -4.4% annualized Vs 4Q19 -1.8% QoQ คิดเป็น annualized -7.1%) / 1Q20E GDP ไทย Bloomberg Consensus สารวจจาก 11 ราย คาดเฉลี่ย -3.8% YoY (กรอบ -2.1% ถึง -6.7%) Vs 4Q19 +1.6% YoY, Earnings: SoftBank

สรุปภาวะตลาดหุ้น ทองคำ น้ำมัน วันทำการที่ผ่านมา

+ ตลาดหุ้นไทย: ดัชนีฯแกว่งตัวในกรอบ 1278-1289 จุด ก่อนมาปิดตลาดที่ 1280.76 จุด +0.03 จุด วอลุ่ม 5.07 หมื่นล้านบาท กลุ่มนำลง คือ อสังหาฯ -1.23% ขนส่งและพาณิชย์ -0.65% กลุ่มนำขึ้น คือ เกษตรฯ +6.29% ชิ้นส่วนฯ +2.95% ปิโตรฯ +1.82% หลักทรัพย์ที่ขึ้นแรง >4% ได้แก่ CBG STA TOP SPRC PTG TKN TOA ICHI JMART ESSO MEGA LPN JKN DELTA ALL ASIMAR CRANE TRUBB ส่วนหลักทรัพย์ที่ร่วงแรง CRC RBF THANI BEAUTY RS

+/- ตลาดหุ้นโลกปิดบวก: ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ขึ้นต่อเนื่อง DJ +0.25% Nasdaq +0.79% S&P500 +0.39% (ทั้งสัปดาห์ DJ -2.7% WoW S&P500 -2.3% WoW Nasdaq -1.2% WoW) จากคาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น หลังการผ่อนคลาย lockdown แต่การปรับขึ้นจำกัด เพราะวิตกความตึงเครียดสหรัฐฯ กับจีน และตัวเลขค้าปลีกที่แย่กว่าคาด ส่วนตลาดหุ้นยุโรปกลับมาปิดบวก หลังจีนรายงานการผลิตภาคอุตฯ เดือน เม.ย. เริ่มฟื้นตัวขึ้น DAX +1.24% CAC40 +0.11% FTSE +1.01% (ทั้งสัปดาห์ ตลาดหุ้นยุโรปร่วง 3.8% WoW)

+ น้ำมันดิบพุ่งต่อ: WTI +USD1.87 +6.8% ปิด USD29.43/บาร์เรล สูงสุดรอบ 2 เดือน Brent +USD1.37 +4.4% ปิดที่ USD32.50/บาร์เรล (ทั้งสัปดาห์ WTI +19% WoW Brent +4.9% WoW) หลังจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันที่มีการใช้งานลดลง 35 แท่น เป็น 339 แท่น ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

+ ทองคำบวกต่อเนื่อง: ปิดที่ USD1756.30/ออนซ์ +USD15.4 +0.88% (ทั้งสัปดาห์ +2.5% WoW) จากแรงซื้อสินทรัพย์ปลอดภัย

ประเด็นสำคัญ

- Foreign net buy/sell (วันที่ 11-15 พ.ค.): สัปดาห์ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 6 ชาติในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ต่อเนื่องอีก USD4,553mn (สัปดาห์ก่อนหน้าขายสุทธิ –USD951mn) จากแรงขายทุกตลาด โดยตลาดหุ้นไทยถูกขายต่อเป็นสัปดาห์ที่ 18 ด้วยปริมาณสูงขึ้น –USD411mn (Vs สัปดาห์ก่อน –USD276mn) ทำให้ 2020E YTD มีแรงขายสะสม –USD5,766mn

- USA-China Tensions: รัฐบาลสหรัฐฯ ดำเนินการสกัดกั้นการส่งออกชิปทั่วโลกให้กับบริษัท หัวเหว่ย เทคโนโลยีของจีน ซึ่งเพิ่มการวิตกต่อปัญหาสงครามการค้า หลังจีนประกาศดำเนินมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ โดยจีนระบุว่าจะขึ้นบัญชีดำบริษัทของสหรัฐฯว่าเป็นบริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือ

- US Market: Bank of America มีมุมมอง Bearish ในเชิง Investment Tactic หลังจากการแรลลี่ของตลาดหุ้นสหรัฐฯ S&P500

- 2020 Earnings Revision: แนวโน้มผลกำไรบจ.ไทย ปี 2020E ล่าสุด พบว่า ประมาณการกำไรต่อหุ้นปี 2020-21E โดย BB Consensus ปรับลงมาอยู่ที่ 70.29 บาท และ 80.62 บาทต่อหุ้น (Vs สัปดาห์ก่อนอยู่ที่ 73.06 บาท และ 88.32 บาทต่อหุ้น) ส่งผลให้ประมาณการกำไรปีนี้จะเติบโต -20% ก่อนฟื้นตัว +22% ในปี 2021E และ Forward PER ปีนี้ ณ ดัชนีปัจจุบัน 1280.76 จุด อยู่ที่ระดับสูงถึง 17.53 เท่า แพงกว่าเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของ MSCI Asia Ex-Japan ที่ 14.2 เท่า

- THAI: ทริสเรตติ้ง ลดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ์ ไม่มีหลักประกันเป็น BBB จากเดิม A แต่หากรัฐบาลมีมติชัดเจนที่จะดำเนินการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยผ่านกระบวนการล้มละลายอันดับเครดิตจะปรับลดลงสู่ระดับ Default

แนะนำ Trading Buy (โดยมีจุดขายตัดขาดทุน 3%)

หุ้นแนะนำรายสัปดาห์: INTUCH BAM JMT

หุ้นแนะนำ Trading Buy: BAM BANPU CPF BTS PTTEP GUNKUL JMT

Derivatives: ชะลอเก็งกำไร รอดัชนีเลือกทาง (อ่านเพิ่มใน KTZ-D)