ขึ้นในกรอบจำกัด

ขึ้นในกรอบจำกัด

สัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีปรับตัวลงเล็กน้อยราว 6.5 จุด โดยในระหว่างสัปดาห์ดัชนีแกว่งตัวบวกและลบเฉลี่ยกว่า 14 จุด

แม้จะมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงการปลดล็อกดาวน์เฟส 2 อย่างไรก็ดี ดัชนีถูกกดดันจากแรง Sell on fact หลังหลายบริษัทเปิดเผยผลประกอบการ ขณะที่วันศุกร์ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,280.76 จุด (+0.36 จุด) Volume 5.1 หมื่นลบ. ต่างชาติ -2,651.02 ลบ. TFEX Net -6,790 สัญญา ตราสารหนี้ -1,606 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 60.08 จุด +0.25% ตลาดถูกกดดันจากความตีงเครียดการค้าสหรัฐ-จีน และการเปิดเผยข้อมูลศก.สหรัฐที่อ่อนแอเกินคาด  ในรอบสัปดาห์ดาวโจนส์ -2.7% เช้านี้ดาวโจนส์ฟิวเจอร์พุ่งขึ้นขานรับ "พาวเวล" ให้คำมั่นหนุนศก.สหรัฐรอดพ้นวิกฤตโควิด-19

+ราคาน้ำมันดิบ WTI +1.87 ดอลลาร์ +6.8% ปิดที่ 29.43 ดอลลาร์/บาร์เรล รอบสัปดาห์ +19% ได้แรงหนุนจากหลายประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ประกาศปรับลดการผลิตน้ำมัน การผลิตในสหรัฐลดลง และคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันเพิ่มขึ้นหลังหลายประเทศทั่วโลกผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

+พาวเวลประธาน FED ยืนยัน FEDไม่ละความพยายามหนุนศก.สหรัฐรอดพ้นวิกฤตโควิด-19

+แบงก์ชาติจีนยืนยันใช้นโยบายการเงินสนับสนุนเศรษฐกิจฟื้นตัวจากพิษโควิด-19

+/- ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกทะลุ 4.6 ล้านราย เสียชีวิตเกิน 3.1 แสนราย ในไทยช่วงวันหยุดศบค.เผยมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3 รายไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

-เฟดเตือนภาคการเงินสหรัฐเปราะบางในระยะใกล้ ขณะโควิด-19 ยังระบาดไม่หยุด

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตขยับลง 1.88 จุด -0.07%

+ดัชนีนิกเกอิปรับตัวขึ้น 122.69 จุด +0.62% เช้าเปิด +60.15 จุด

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.84 แสนลบ. ค่าเงินบาท 32.08 บาท/US

*จับตาสภาพัฒน์และสศค.แถลงตัวเลข GDP ไตรมาส 1/63 คนร.นัดประชุมหารือแนวทางฟื้นฟูกิจการ THAI ญี่ปุ่นเปิดเผย GDP สหรัฐเปิดเผยดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนพ.ค.

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสปรับตัวขึ้นในกรอบจำกัด โดยมีแรงหนุนจาการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ที่จะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยนักลงทุนยังคงติดตามจำนวนตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ หลังคลายล็อกดาวน์เฟส 2 อย่างใกล้ชิด คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,270-1,290 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

TRUE (Bloomberg Consensus 3.80 บาท) “Trading Buy”

รายงานงบ 1Q20 ขาดทุนสุทธิ 161.2 ล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบเชิงลบจากการปรับมาใช้มาตรฐานบัญชี TFRS 16 ราว 200 ล้านบาท เทียบกับกำไรสุทธิกำไรสุทธิ 211 ล้านบาทใน 4Q19 และกำไรสุทธิ 1,509 ล้านบาทใน 1Q19 เนื่องจากทั้งสองไตรมาสมีกำไรพิเศษจากจากการเพิ่มมูลค่าของ DIF และการขายเงินลงทุนใน DIF ซึ่งหากไม่รวมผลกระทบจากมาตรฐานบัญชีดังกล่าว TRUE จะมีกำไรงวด 1Q20 เท่ากับ 48 ล้านบาท

ความเห็น เรามีมุมมองเป็นบวก เนื่องจากผลประกอบการออกมีดีกว่าที่ตลาดคาด โดย Consensus คาดว่า TRUE จะขาดทุนสุทธิราว  -424.29 ล้านบาท อย่างไรก็ตามการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ประกอบกับผลประกอบการใน 2Q20 จะมีการรับรู้ค่าเสื่อมคลื่น 2600HMz เข้ามาเต็มไตมาสราว 300 ล้านบาท เราจึงแนะนำเพียง “Trading Buy”

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่จะเข้าคำนวณ MSCI Global Standard (AWC BAM KTC) มีผล 29 พ.ค. 
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการปลดล็อกดาวน์เฟส 2 ได้แก่ หุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรด (CRC MBK CPN SF HMPRO DOHOME MC RSP COM7 JMART) หุ้นกลุ่มร้านอาหาร (AU M ZEN MINT) และหุ้นในกลุ่มบริการสปา (SPA)

 

ส่องหุ้น

          BEAUTY  แนวรับ 1.70-1.68 บาท                แนวต้าน 1.76-1.77 , 1.83-1.84 บาท

          SPA        แนวรับ 5.90-5.85 , 5.70 บาท      แนวต้าน 6.10-6.15 , 6.35-6.45 บาท

          SEAOIL   แนวรับ 2.40 , 2.28 บาท              แนวต้าน 2.54-2.60 , 2.68 บาท

หุ้นมีข่าว   

 (+/-) LH Conference Call (“ถือรับเงินปันผล” IAA Consensus 8.50 )

1Q63 มีกำไรสุทธิ 1,344 ล้านบาท -26%yoy -68%QoQ ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้รายได้จากการโอนลดลง  รายได้ค่าเช่าและบริการลดลงเนื่องจากอัตราเข้าพักโรงแรมลดลงมากจากปกติ 80% เหลือ 30% ในเดือนมี.ค.และการลดค่าเช่าในเดือนก.พและยกเว้นค่าเช่าในเดือนมี.ค.  อัตรากำไรขั้นต้นลดลง รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมลดลงโดยเฉพาะจาก HMPRO และ QH ขณะที่คชจ.ในการขายและคชจ.ทางการเงินเพิ่มขึ้น  ทั้งนี้การเริ่มใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ทำให้มีการบันทึกขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนของตราสารอนุพันธ์จำนวน 188.84 ล้านบาทจากค่าเงินบาทลดลง 

ปลายงวดมี backlog 8,613 ล้านบาทเกือบ 5 พันล้านบาทหรือคิดเป็น 56%จะโอนภายในปีนี้ แผนเปิดโครงการใหม่ใน Q2 ยังเดินหน้าตามเดิมโดยจะปรับเป็นขายออนไลน์ ส่วนแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วง Q2 อาจขาดทุนจากธุรกิจโรงแรมและศูนย์การค้า จากผลกระทบของมาตรการ lockdown  แต่ผู้บริหารชี้แจงว่าไม่มีปัญหาสภาพคล่องมีไถ่ถอนหุ้นกู้ 7,000 ล้านบาทในเดือนเม.ย. และต้นเดือนพ.ค.ได้ออกหุ้นกู้ 2 ชุดวงเงินรวม 5,400 ล้านบาทเรียบร้อยแล้ว

ความเห็น คาดแนวโน้มผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกจะแย่และจะทยอยฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังจากการทยอยเปิดเศรษฐกิจ โดยธุรกิจให้เช่าและบริการมีจุด break-even ที่ระดับ occupancy rate ราว 50%  ทั้งนี้การที่บริษัทจ่ายเงินปันผลปีละ 2 ครั้ง yield อยู่ในระดับดีที่ 10.85% เหมาะถือรอรับเงินปันผล

(+/-) THAI (Bloomberg Consensus 3.99 บาท)   บิ๊กตู่นั่งหัวโต๊ะถกคนร.นัดชี้ชะตาการบินไทยวันนี้ (18 พ.ค.) คลัง-คมนาคมหารือเครียดหนักปม ยื่นศาลล้มละลาย-หลุดพ้นรัฐวิสาหกิจด้าน อนุทินย้ำนายกฯ เห็นด้วยแนวทางยื่นศาลล้มละลายกลางแล้ว ขณะที่ คลังห่วงมีข้อเสียหลายประการหากยื่นศาลฯอาจเกิดแพนิกทั้งตลาดหุ้น-ตราสารหนี้ ระบุชัดต้องกู้ 50,000 ล้านบาทแก้วิกฤติสภาพคล่องภายใน มิ.ย.นี้ ล่าสุด ทริสลดเครดิตหุ้นกู้เหลือ BBB ส่งซิกหั่นเป็น D หากเข้าศาลล้มละลาย (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) ACE (Bloomberg Consensus - บาท)  ผลงานเยี่ยม! โชว์ไตรมาส 1/63 มีกำไรสุทธิ 593.55 ล้านบาท โตอลังการ 347.6% หลังโกยรายได้รวม 1,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% บอร์ดใจป้ำจ่ายปันผลระหว่างกาลหุ้นละ 3 สตางค์ ขึ้น XD วันที่ 1 มิ.ย.นี้ พร้อมรุกขยายพอร์ตไฟฟ้าเต็มสูบอ(ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) JWD (Bloomberg Consensus - บาท) อวด Q1 มีกำไร 93.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8% ส่วนแนวโน้ม Q2 คาดลดลงรับผลกระทบโควิด และมั่นใจจะกลับมาเติบโตช่วงครึ่งปีหลังรับไฮซีซั่น-โควิดเริ่มคลี่คลายหนุนขนส่งฟื้น แต่ทั้งปีประเมินรายได้-กำไรปีนี้ลดลง 10% พร้อมย้ำปี 67 ก้าวสู่ผู้นำด้านโลจิสติกส์ครบวงจรฯในอาเซียน (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) EA (Bloomberg Consensus 59.50 บาท) ทุ่ม 1.5 พันล้านบาท ซื้อหุ้น NEX สัดส่วน 40.013% เสริมแกร่งธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า (EV) พร้อมยื่นขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ (Whitewash) เหตุการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่ออกใหม่ไม่ได้ซื้อจากผู้ถือหุ้นเดิม ด้านผลงานไตรมาส 1/2563 รายได้พุ่ง 54% ที่ 4,761 ล้านบาท จากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TFG (Bloomberg Consensus 4.76 บาท)  ผู้บริหาร TFG "วินัย เตียวสมบูรณ์กิจ" มั่นใจรายได้ปี 2563 โตต่อเนื่อง หลังอวดงบไตรมาส 1/2563 มีกำไร 641.43 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 214.16% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยราคาขายไก่และสุกรพุ่ง อีกทั้งสามารถบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CPF (Bloomberg Consensus 35.08 บาท)   สัญญาณปี 2563 โดดเด่น ซุ่มดีลสิงคโปร์-จีนส่งออกสินค้าไก่ เล็งเปิดตลาดส่งออกสินค้าไก่-อาหารแปรรูปทดแทนกำลังผลิตที่หายไปจากสหรัฐ-บราซิล จากโรงงานปิดตัวชั่วคราวจากผลกระทบโควิด-19 ย้ำชัดกระแสเงินสดสูงต้นทุนอัตราดอกเบี้ยจ่ายต่ำ (ที่มา ทันหุ้น)

CRC Conference Call (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus – บาท) รายงานว่าในช่วง 1Q63 มีกำไรสุทธิ 743 ล้านบาท -61%YoY เนื่องจากมาตรการ lockdown ในประเทศไทย อิตาลี และเวียดนามส่งผลให้รายได้จากการขายลดลงโดยเฉพาะธุรกิจแฟชั่นลดลงถึง 22% อัตรากำไรขั้นต้นจากการขายลดเหลือ 23.6% จาก 27.3% ใน 1Q62 และอัตรากำไรขั้นต้นจากการให้เช่าและบริการลดเหลือ 77% จาก 75% ใน 1Q62 การใช้มาตรฐานบัญชี TFRS16 เรื่องสัญญาเช่า และ TFRS 9 เครื่องมือการเงินส่งผลให้ค่าเช่าลดลง ค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้น และคชจ.ในการบริหารลดลงสุทธิรวม 134 ล้านบาท บริษัทได้ปรับกลยุทธ์มาขายออนไลน์ ส่งผลให้ยอดขายออนไลน์ซึ่งมีสัดส่วน 4.9% เติบโตเกือบ 2 เท่า บริษัทบริหารจัดการสภาพคล่องในการบริหารหนี้และเงินสดในการขอ credit line เพิ่มเติม

ความเห็น แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดีเรามีมุมมองบวกจากการเป็นหุ้นขนาดใหญ่ (market cap. 2.06 แสนล้านบาท) ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคต แนะนำทยอยสะสม