คลาย Lockdown เฟส 2

คลาย Lockdown เฟส 2

ดัชนีวานนี้ปิดร่วงแรงกว่า 14 จุด คล้ายกับตลาดหุ้นภูมิภาคส่วนใหญ่และดัชนีดาวโจนส์ เนื่องจากความกังวลของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบสอง

ประกอบกับเฟดมีแนวโน้มจะไม่ใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบทำให้เกิด Sentiment เชิงลบกับตลาดหุ้นทั่วโลก นอกจากนี้ หุ้นหลายตัวเกิด Sell on fact ภายหลังเปิดเผยผลประกอบการ ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดที่ 1,280.40 จุด (-14.15 จุด) Volume 4.7 หมื่นลบ. ต่างชาติ -1,947.80 ลบ. TFEX Net +925 สัญญา ตราสารหนี้ -1,554 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

+ดัชนีดาวโจนส์ปิดบวก 377.37 จุด +1.62%  ได้แรงหนุนจากกลุ่มธนาคาร และกลุ่มพลังงานดีดตัวขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบ WTI

+ราคาน้ำมันดิบ WTI ปิด +2.27 ดอลลาร์ +9% ปิดที่ 27.56 ดอลลาร์/บาร์เรล ขานรับสต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐที่ลดลง และรายงาน IEA ระบุว่าสต็อกน้ำมันดิบทั่วโลกจะลดลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

+ประธานเฟดดัลลัสหนุนสหรัฐเปิดเศรษฐกิจและต้องตรวจโควิดต่อเนื่องและเพียงพอ

-ทองปรับตัวขึ้นจากแรงซื้อกองทุน SPDR

-WHO เตือนโควิด-19 อาจระบาดต่อไปอีก 5 ปี ก่อนจะถูกควบคุมได้

-สหรัฐรายงานตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสหรัฐ 2.981 ล้านรายสูงเกินคาดที่ 2.5 ล้านราย

-ก.คลังยอมรับเศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ แม้รัฐอัดหลายมาตรการช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบโควิด

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับตัวลง 27.71 จุด -0.96%

+/-ดัชนีนิกเกอิปิดร่วงลง 352.27 จุด -1.74% เช้าเปิด -235.01 จุด

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.82 แสนลบ. ค่าเงินบาท 32.09 บาท/US

*จับตาการแถลงคลายล็อกเฟส ยูโรโซนรายงาน GDP 1Q63 ส่วนสหรัฐเผยยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. ดัชนีภาคการผลิตเดือนพ.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย. สต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจเดือนมี.ค. และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ค.

 

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้น โดยมีแรงหนุนจากประชุม ศบค. เพื่อสรุปการผ่อนคลาย Lockdown เฟส 2 วันนี้  ประกอบกับหุ้นกลุ่มพลังงานได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นแรง 9% คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,270-1,295 จุด

 

หุ้นรายงานพิเศษ

(+) TNP (“ซื้อ ราคาเหมาะสม 2.84 บาท) รายงานกำไร 1Q63 เท่ากับ 31.56 ลบ. +15.6%YoY -0.8%QoQ โดยมีปัจจัยเติบโต YoY จากการเติบโตของยอดขายสาขาเดิม (SSSG) โต 12.5% ซึ่งส่วนหนึ่งได้อานิสงส์จากสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้ผู้บริโภคกักตุนสินค้าอุปโภคและบริโภคมากขึ้น นอกจากนี้ ยอดขายยังเติบโตตามการขยายสาขาที่เปิดเพิ่มขึ้น 4 สาขา อย่างไรก็ดี กำไรหดตัวเล็กน้อย QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล ส่วน %GPM ปรับดีขึ้นมาที่ระดับ 16% จากงวดเดียวกันอยู่ที่ระดับ 14%

ปรับคาดการณ์กำไรปี 63 เพิ่มขึ้น 6.6% +16.5%YoY: ผลประกอบการงวด 1Q63 คิดเป็น 33% ของประมาณการกำไรเดิมที่ 97 ลบ. ประกอบกับผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปีจะได้ปัจจัยสนับสนุนจากแผนการขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 4-5 สาขา เราจึงปรับเพิ่มประมาณการรายได้ปี 63 สู่ 2.24 พันลบ. จากเดิม 2.19 พันลบ. (ปรับเพิ่มขึ้น 2%)  +15%YoY และปรับกำไรปี 63 เพิ่มขึ้นสู่ 103 ลบ. จากเดิม 97 ลบ. (ปรับเพิ่มขึ้น 6.7%) +16.5%YoY และปรับสมมติฐาน %GPM เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 14.6% มาที่ระดับ 14.7% พร้อมกับปรับราคาเหมาะสมขึ้นสู่ 2.84 บาท จากเดิม 2.66 บาท ขณะที่ คาดแนวโน้ม 2Q63 ยังคงเติบโต YoY แต่หดตัว QoQ ตามปัจจัยฤดูกาล

 

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นที่จะเข้าคำนวณ MSCI Global Standard (AWC BAM KTC) มีผล 29 พ.ค. 
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์หากมีการเปิดปลดล็อกดาวน์เฟส 2 ได้แก่ หุ้นกลุ่มห้างสรรพสินค้าและโมเดิร์นเทรด (CRC MBK CPN SF HMPRO DOHOME MC RSP COM7 JMART) หุ้นกลุ่มร้านอาหาร (AU M ZEN MINT) และหุ้นในกลุ่มบริการสปา (SPA)

 

หุ้นมีข่าว   

CPF Conference Call (“มุมมองบวกราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 35.23 บาท)

1Q63 มีกำไรทำนิวไฮที่ 6,111 ล้านบาท +43%YoY EBITDA ปรับดีขึ้นสู่ 13.9% จาก 9.2% ใน 1Q62 อัตรากำไรสุทธิ 4% ปรับดีขึ้นจาก 3% ใน 1Q62  ผู้บริหารคาดแนวโน้มกำไรใน Q2 ลดลงเล็กน้อยจาก lockdown แต่ไม่มีนัยสำคัญ และจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังจากการเปิดประเทศจะช่วยเพิ่ม demand ประกอบกับราคาหมู-ไก่ปรับดีขึ้นจากซัพพลายที่หายไป ขณะที่ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ลดลง โดยยังเดินหน้าใช้กลยุทธ์การเข้าซื้อกิจการเพื่อต่อยอดการเติบโตของยอดขายในอนาคต  ส่วนดีลซื้อเทสโก้คาดจะเสร็จในปี 63

ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อการเติบโตต่อเนื่องในอนาคต คาดว่าจากผลประกอบการที่ดีใน Q1 จะส่งผลให้ Bloomberg Consensus เพิ่มคาดการณ์กำไรปี 63 จาก 1.58 หมื่นล้านบาท -14%  ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายที่ P/E 13 เท่าต่ำกว่ากลุ่มที่ระดับ 17 เท่า

 (+) RATCH (Bloomberg Consensus 74.41 บาท) เปิดเกมดีล M&A เต็มสูบปีนี้ตั้งเป้าปิดดีล 5 โครงการ กำลังการผลิต 800 เมกะวัตต์ คาดรู้ผลไตรมาส 2/2563 นี้ 1-2 โครงการ หนุนเป้าปี 2566 มีกำลังการผลิตไฟฟ้าแตะ 1 หมื่นเมกะวัตต์ ตั้งงบลงทุน 2 หมื่นล้านบาทรองรับ จ่อเซ็นสัญญาร่วมทุนมอเตอร์เวย์ เดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) OSP (Bloomberg Consensus 40.56 บาทกดปุ่มเดินเครื่องโรงงาน C-Vitt ดันกำลังการผลิตเพิ่ม 10-15% ดันครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก ด้านโรงงานผลิตในเมียนมาจ่อ COD ปลายไตรมาส 2/2563 ตั้งเป้าคุมต้นทุนลดลงไม่น้อยกว่า 800 ล้านบาท ภายในปีนี้ วางงบ 4 พันล้านบาท รองรับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิตและการวิจัย (ที่มา ทันหุ้น)

(-) THAI (Bloomberg Consensus 2.70 บาท)  คลังรับปล่อย THAI ล้มเป็นหนึ่งในทางเลือก รัฐบาลจ่อสูญเสียหนักไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนล้านบาท KTB ต้องตั้งสำรองหนี้ก้อนโต พร้อมหั่นหนี้ให้ด้วย ลือสะพัดมีแววเปิดทางต่างชาติฮุบทั้งสิงคโปร์แอร์ไลน์ และแอร์เอเชีย พันธมิตร AAV เหตุ THAI มีสล็อตมาก แนะหาพันธมิตรเข้าซื้อร่วมทุนกิจการต่อลมหายใจ (ที่มา ทันหุ้น)

GULF (Bloomberg Consensus 35.14) รายงานขาดทุน 413ลบ. -132%YoY และ -146%QoQ โดยถูกกดดันจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 1.3 พันล้านบาท อย่างไรก็ตามกำไรปกติเติบโตสู่  925 ลบ. +8%YoY และ 38%QoQ เนื่องจากการรับรู้กำไรของ 12 SSP ที่มีการขายไฟฟ้าให้กับกฟผ. และลูกค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ต้นทุนค่าก๊าซธรรมชาติปรับตัวลง 5% สู่ 267 บาท/ล้านบีทียู ขณะที่ราคาจำหน่ายไฟฟ้ายังทรงตัวตามค่า Ft เป็นผลบวกเพิ่มเติม

JUBILE Analyst meeting (ซื้อเมื่ออ่อนตัว ราคาเหมาะสม 13.80)

-ฝ่ายวิจัยคาดรายได้ปี 63 จะหดตัวจากปี 62 จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดย 1Q63 บริษัทได้รับผลกระทบจากการปิดห้างฯ เพียง 10 วันในช่วงปลายเดือนมี.ค. โดยผลกระทบจะเพิ่มขึ้นใน 2Q63 เนื่องจากมีการปิดห้างสรรพสินค้าตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม-15 พ.ค. ส่งผลให้สาขาทั้งหมดกว่า 130 สาขาต้องปิดทำการ ซึ่งทางบริษัทได้หันไปจำหน่ายสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้นแต่ยังเป็นสัดส่วนต่ำเพียง 10% ของยอดขาย ขณะที่งาน Mid year sales ซึ่งปกติจัดปลายเดือนมิ.ย.ถูกเลื่อนไปจัดในครึ่งปีหลัง

-ความเห็น เราคาดว่าผลประกอบการ 2Q63 จะต่ำที่สุดในปีนี้เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปิดห้างฯ ราว 45 วันทำการ โดยสินค้าของบริษัทเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยส่งผลให้ยอดขายปรับตัวลงจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามเราคาดว่าผลประกอบการจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลังกลับมาเปิดห้างฯ เพราะบริษัทเตรียมแคมเปญกระตุ้นยอดขายและเตรียมจัดงาน Event 2 งานในครึ่งปีหลังเพื่อกระตุ้นยอดขาย เราจึงแนะนำให้ ซื้อเมื่ออ่อนตัว จากผลประกอบการ 2Q63 จะต่ำสุดในปีนี้

BGC Analyst meeting (ซื้อเมื่ออ่อนตัว Bloomberg Consensus 12.60)

-รายงานกำไร 1Q63 ที่ 161 ลบ. –14%QoQ และ –1%YoY รายได้เติบโต 4%YoY สู่ 3.02 พันล้านบาทได้รับแรงหนุนจากการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าที่เวียดนาม ด้านอัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวขึ้นจาก 16.2% สู่ 18.6% เนื่องจากอัตรากำไรขั้นต้นธุรกิจโรงไฟฟ้าสูงกว่าธุรกิจแก้ว ขณะที่ธุรกิจแก้วอัตรากำไรปรับตัวดีขึ้นจาก 16.2% สู่ 17.1% จากต้นทุนพลังงานที่ลดลง อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารปรับตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ 276 ล้านบาท มีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 25 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายทางการเงินปรับตัวขึ้น 30 ล้านบาทสู่ 76 ล้านบาทจากเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจโรงไฟฟ้าในเวียดนาม

-ความเห็น ฝ่ายวิจัยคาดว่าผลประกอบการ 2Q63 จะต่ำที่สุดในปีนี้แม้จะได้ผลบวกจากต้นทุนพลังงานที่ลดลงตามราคาน้ำมันเตา แต่คาดว่ายอดขายใน 2Q63 จะลดลงราว 10%QoQ เนื่องจากภาครัฐห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่วันที่ 10-30 เมษายน 63 ที่ผ่านมา ส่งผลให้โรงงานที่ขอนแก่นซึ่งส่งขวดแก้วให้กับเบียร์สิงห์ได้รับผลกระทบ โดยคาดว่ายอดขายจะปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เราจึงแนะนำให้ ซื้อเมื่ออ่อนตัว เพื่อรับปันผลปีละ 4 รอบเฉลี่ย 2-4%ต่อปี และรอการฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง

(+) WICE (Bloomberg Consensus - บาท)   ประกาศงบไตรมาส 1/63 มีกำไรสุทธิ 30.27 ล้านบาท โตสนั่น 160% ส่วนรายได้ 656.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 36% หลัง ETL บริษัทร่วมทุนขนส่งข้ามชายแดนพลิกกำไรตามแผน ส่วนแนวโน้ม Q2 คาดเติบโตต่อเนื่อง โลจิสติกส์เข้าช่วงไฮซีซั่น ดีมานด์ขนส่งจีนพุ่ง พร้อมบุ๊กกำไร WICE SG เพิ่ม 30% (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+/-) SPCG (Bloomberg Consensus 17.05 บาท) คงเป้ารายได้ปีนี้โต 10% แตะ 6.7 พันล้านบาท เหตุบุ๊กรายได้โซลาร์ฟาร์มเพิ่มขึ้น พร้อมจับมือพันธมิตรลุยขยายตลาดธุรกิจโซลาร์รูฟในรูปแบบ Private PPA ส่วนโซลาร์ฟาร์ม “Ukujima” ในญี่ปุ่น กำหนด COD เดือน ก.ค. 66 (ที่มา ข่าวหุ้น)