NOKเลื่อนส่งงบไตรมาสแรกเป็นภายใน14ส.ค.นี้ เหตุโควิดระบาด

NOKเลื่อนส่งงบไตรมาสแรกเป็นภายใน14ส.ค.นี้ เหตุโควิดระบาด

NOK ยื่นขอผ่อนผันส่งงบการเงินไตรมาส1/63ต่อก.ล.ต. เป็นภายในวันที่ 14 ส.ค. นี้ เหตุ โควิดระบาด ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบางส่วนได้ -สำนักงานในต่างประเทศติดข้อจำกัดส่งข้อมูล

นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน)หรือNOK แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)ว่า บริษัทมีความประสงค์ขอผ่อนผันการนำส่งงบการเงินของบริษัทและบิรษัทย่อย สำหรับไตรมาส1/2563สิ้นสุดวันที่ 31 มี.ค. 2563 ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรพัย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เนื่องจาก 1.บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีการเปิดให้บริการในเส้นทางบินทั้งในประเทศ และเส้นทางบินระหว่างประเทศ ซึ่งในเส้นทางบินระหว่างประเทศนั้นเปิดให้บริการรวมทั้งสิ้น 6 ประเทศ ได้แก่ เมียนมา เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และอินเดียรวมทั้งสิ้น 26 เส้นทางบิน และทยอยปิดเส้นทางบินลง จนท้ายที่สุดปิดให้บริการในทุกเส้นทาง ซึ่งประเทศเหล่านี้มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 และมีมาตรการปิดประเทศ หรือLockdownซึ่งมีความจําเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของภาครัฐของประเทศนั้นๆ อย่างเคร่งครัด ทําให้การติดต่อประสานงานหยุดชะงัก อันมีผลกระทบต่อความสามารถของบริษัทฯ ในการเข้าถึงข้อมูลบางส่วน และส่งผลต่อการเข้าถึงข้อมูลรวมทั้งการสอบทานงบการเงินของผู้สอบบัญชีที่มีนัยสําคัญของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ที่จําเป็นต้องนํามาใช้เพื่อการจัดทํางบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย สําหรับไตรมาสที่ 1/2563 สิ้นสุด ณ วันที่31 มีนาคม พ.ศ. 2563 จนเป็นเหตุให้บริษัทฯ ไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินสําหรับไตรมาสที่ 1/2563 ต่อสํานักงานกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

2. สืบเนื่องจากไตรมาสที่1ของทุกปี เป็นช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว เป็นช่วงที่จํานวนเที่ยวบินทั้งในประเทศและระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ หากเทียบแล้วเป็นสัดส่วนร้อยละ31.21 และ 27.29 ของรายได้ทั้งปี 2561และ 2562 ตามลําดับ โดยเป็นรายได้จากเที่ยวบินระหว่างประเทศสัดส่วนร้อยละ 24.56และ 15.54ของรายได้ทั้งปี 2561 2562 ตามลําดับจํานวนเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญในช่วงไตรมาสที่1/2563 นี้ มีผลกระทบกับงบกําไรขาดทุนของทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในส่วนทั้งการรับรู้ รายได้และประมาณการค่าใช้จ่ายจากจํานวนเที่ยวบิน และจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในครั้งนี้ ประเทศจีนมีคําสั่ง lockdown ในวันที่ 25 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบถึงเที่ยวบินเช่าเหมาลํา และเที่ยวบินตามตารางการบินปกติที่บินเข้าออกต้องหยุดชะงักลงโดยเฉพาะอย่างยิ่งเที่ยวบินที่เป็นแบบกลุ่ม หรือท่องเที่ยว (Group & Tourist) ส่งผลทําให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย ต้องเปลี่ยนแปลงแผนการดําเนินงาน การเปลี่ยนแปลงเที่ยวบินประมาณการรับรู้ รายได้ การคืนค่าโดยสาร(Refund) ให้แก่ผู้โดยสารตามคําสั่ง และกฏการบินของประเทศนั้นๆ แต่การแพร่ระบาดของไวรัสนั้นได้ส่งผลกระทบที่รุนแรง และแพร่ระบาดออกไปเพิ่มขึ้น เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในประเทศต่างๆ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ไม่สามารถนําส่งข้อมูลและเอกสารต่างๆ กลับมาที่บริษัทฯ ส่งผลกระทบกับประมาณการรับรู้รายได้ของ

ทั้งบริษัทฯ และบริษัทย่อยในส่วนค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาอากาศยานนั้น ก็ได้รับผลกระทบจากการลดลงของจํานวนเที่ยวบิน  ส่งผลให้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาอากาศยานที่วางแผนไว้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ เช่น แผนการนําเครื่องบินเข้าซ่อมบํารุงตามระยะที่ได้ วางแผนไว้การเลื่อนกําหนดการเข้าซ่อมบํารุงรักษาเครื่องบินออกไป สืบเนื่องจากแผนการบินที่เปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่ยากจะคาดการณ์ได้จากจํานวนผู้โดยสารจากการขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์ การขนส่งบุคลากรทางการแพทย์ที่จําเป็นสําหรับการรักษาผู้ป่วย ต้องเปลี่ยนแปลงตามการบินที่เกิดขึ้นจริง และมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งต้นทุนในการบํารุงรักษาอากาศยานนั้น เป็นค่าใช้จ่ายหลักของธุรกิจสายการบิน อันดับที่ 2 รองจากค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง หรือคิดเป็นร้ อยละ 19.48 ของค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานทั้งหมด หากค่าใช้ จ่ายดังกล่าวนี้มีการประมาณการที่คลาดเคลื่อนจะส่งผลกระทบกับตัวธุรกิจสายการบินเอง และกระทบกับความน่าเชื่อถือในงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย รวมทั้งส่วนของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้ ผู้สอบบัญชีได้มีความเห็นว่า ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกแนวปฏิบัติทางการบัญชีเรื่อง มาตรการผ่อนปรนชั่วคราวสําหรับทางเลือกเพิ่มเติมทางบัญชีเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาโควิด-19 สําหรับมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 37 เรื่องการประมาณการหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้น และทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ถ้าใช้สิทธิผ่อนปรนตามมาตรการจะทําให้ตัวเลขในงบการเงินจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสําคัญ อีกทั้งแนวปฏิบัติทางบัญชีในเรื่องดังกล่าวเป็นเพียงทางเลือกเพิ่มเติมเท่านั้นที่จะสามารถนํามาพิจารณาเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจ

3. บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ขอความร่วมมือไม่ให้เดินทางหรือรวมกลุ่มกันเป็นหมู่คณะ (Social Distancing) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว และเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของพนักงานจึงได้กําหนดนโยบายให้พนักงานทํางานที่บ้าน (work from home) เป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับสํานักงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เช่น พม่า เวียดนาม จีน ญี่ปุ่ น เป็ นต้น ที่มีการประกาศใช้มาตรการปิดประเทศ ส่งผลให้ข้อมูลที่จําเป็นต้องใช้เอกสารประกอบการจัดทําและวิเคราะห์ทางการเงินไม่สามารถจัดส่งกลับมาได้ซึ่งโดยปกติเอกสารจะส่งกลับมากับเที่ยวบินของบริษัทฯ ในแต่ละเส้นทางบิน ซึ่งกระทบต่อการนําข้อมูลมาใช้เพื่อการจัดทํา
และส่งงบการเงินของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ไตรมาสที่ 1/2563 สิ้นสุด ณ วันที่ 31มีนาคม พ.ศ. 2563 อาจจะดําเนินการไม่ทันตามกําหนดเวลาที่จะต้องนําส่งต่อสํานักงาน
กํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการหารือกับผู้สอบบัญชีในประเด็นดังกล่าวแล้ว

 บริษัทฯ และผู้สอบบัญชีมีความเห็นร่วมกันว่าบริษัทฯ ไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินรวมสําหรับรอบบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31มีนาคม 2563 ให้แก่สํานักงานกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในกําหนดได้โดยถ้าหากบริษัทฯจัดทํางบการเงินโดยไม่นําเอาผลกระทบจากเหตุผลดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อจัดทํางบการเงินรวมจะทําให้งบการเงินของบริษัทฯ อาจมีสาระสําคัญที่ไม่เพียงพอสําหรับผู้ใช้งบการเงินในการพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ได้พิจารณาตามที่ฝ่ายจัดการเสนอและมีมติดังนี้1. การขอขยายระยะเวลาในการจัดทําและนําส่งงบการเงินสําหรับไตรมาสที่ 1/2563 ออกไปทั้งนี้ บริษัทฯ และผู้สอบบัญชีมีความเห็นร่วมกันว่าบริษัทฯ ไม่สามารถจัดทําและนําส่งงบการเงินรวมสําหรับรอบบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31มีนาคม 2563 ให้แก่สํานักงานกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ภายในกําหนดได้โดยถ้าหากบริษัทฯจัดทํางบการเงินโดยไม่นําเอาผลกระทบจากเหตุผลดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อจัดทํางบการเงินรวมจะทําให้งบการเงินของบริษัทฯ อาจมีสาระสําคัญที่ไม่เพียงพอสําหรับผู้ใช้งบการเงินในการพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 ได้พิจารณาตามที่ฝ่ายจัดการเสนอและมีมติดังนี้1. การขอขยายระยะเวลาในการจัดทําและนําส่งงบการเงินสําหรับไตรมาสที่ 1/2563 ออกไปมีความจําเป็นและเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และบริษัทฯ มีความจําเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามข้อกําหนดของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19ดังกล่าวให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2. บริษัทฯ ได้พิจารณาและให้ความสําคัญในการจัดทําและเปิดเผยงบการเงินที่ถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งยังคงไม่มีความแน่นอน ทําให้บริษัทไม่สามารถประเมินรายการต่างๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อข้อมูลทางการเงินของบริษัทฯ และผลการดําเนินงานอย่างมีนัยสําคัญ จึงมีมติให้ขอผ่อนผันระยะเวลาการนําส่งงบการเงินไตรมาสที่ 1/2563 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 ต่อสํานักงานกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ออกไป โดยขอนําส่งภายในวันที่ 14 สิงหาคม 2563 เพื่อให้บริษัทฯ และผู้สอบบัญชีมีระยะเวลาเพิ่มมากขึ้นในการรวบรวม จัดทําตรวจสอบข้อมูลที่จะมีการเปิดเผยให้แก่ผู้ลงทุนได้พิจารณารับทราบ ให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน น่าเชื่อถือ ทั้งนี้บริษัทฯ ได้ยื่นหนังสือขอผ่อนผันระยะเวลาการจัดทําและนําส่งงบการเงินของบริษัทสําหรับไตรมาสที่ 1/2563 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2563 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดCOVID-19ต่อก.ล.ต.แล้ว