ยิงเลเซอร์ตามหาความจริง ปลุกม็อบจากฮ่องกงสู่ไทย

ยิงเลเซอร์ตามหาความจริง ปลุกม็อบจากฮ่องกงสู่ไทย

การ "ยิงเลเซอร์" พร้อมติดแฮชแท็ก #ตามหาความจริง เหตุการณ์ชุมนุมปี 53 ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วกทม.

โดยเฉพาะเฉพาะ จุดยุทธศาสตร์” สำคัญของรัฐบาลอย่าง กระทรวงกลาโหมเมื่อช่วงค่ำวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา

บรรดา คอการเมือง รวมถึง หน่วยงานความมั่นคง” ต่างฟันธงว่า นี่!คือการแสดงสัญลักษณ์ทางการเมือง โดยเลือกสถานที่เชิงสัญลักษณ์ทั้ง

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และ “วัดปทุมวนาราม” รวมถึงวันครบรอบ10ปีเหตุการณ์สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในปี53 เป็นการปลุกแนวร่วมทางการเมือง

การแชร์ความดังกล่าวต่อๆกันบนโลกโซเชียล จนแฮชแท็ก #ตามหาความจริง ติดอันดับ 1 บนเทรนด์ทวิตเตอร์ ดูเหมือนว่าจะไปสอดรับกับท่าทีจากทางขั้วการเมืองอย่าง อดีตแกนนำพรรคอนาคตใหม่หรือคณะก้าวหน้า”ในปัจจุบัน

ทั้งในเพจเฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ คณะก้าวหน้า ที่มีการโพสต์ระบุถึงเหตุการณ์ทางการเมืองทั้ง เหตุการณ์ทางการเมืองในเดือนพฤษภาคม 2535, เหตุการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 ,เหตุการณ์6 ตุลาคม 2519  จนกระทั่งเหตุการณ์ทางการเมืองปี53 

ทั้งยังชวนแนวร่วมร่วมตามหาความจริงไปพร้อมกันที่เพจคณะก้าวหน้า 12-20 พ.ค. ด้วย

สอดรับท่าทีจากแกนนำคณะก้าวหน้าอย่าง ช่อ” พรรณิการ์ วานิช ที่ทวิตข้อความระบุว่า ตามหาความจริงกับเรา 12-20 พ.ค.นี้ ทางเพจคณะก้าวหน้า ฉายภาพกลางกรุงมันแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น#ความจริงต้องปรากฏ

การเลือกใช้วิธีปลุก แนวร่วม แทนการรวมตัว ส่วนหนึ่งอาจมีผลมาจากพ.ร.ก.ฉุกเฉินที่มีการบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน บวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดในปัจจุบันจึงอาจทำให้การรวมตัวมีข้อจำกัดอยู่พอสมควร

อันที่จริงการต่อสู้ใน โลกไซเบอร์” หรือ นำเทคโนโลยี มาใช้แทนการชุมนุม ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเพราะในหลายประเทศก็เคยใช้วิธีนี้มาแล้ว

ที่เพิ่งผ่านไปเร็วๆนี้คือ การชุมนุมใหญ่ในฮ่องกง” ที่ผู้ชุมนุมกลุ่มผู้ชุมนุมเลือกใช้การ ยิงแสงเลเซอร์ หรือ การประท้วงแนว “Cyber Punk”

 มาใช้จัดการกับกล้องวงจรปิดของหน่วยงานความมั่นคงในการหลบเลี่ยงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า และทำให้กล้องเกิดความสับสน และไม่สามารถบันทึกภาพได้!!