'คลายล็อก' แล้ว จะเป็นผลบวกแค่ไหน?

'คลายล็อก' แล้ว จะเป็นผลบวกแค่ไหน?

หลังจากทยอยผ่อนคลายล็อกให้ธุรกิจกลับมาดำเนินได้ ไทยต้องเจอความเสี่ยงในการระบาดของโรครอบที่ 2 หรือไม่? เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ที่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้นมาดูตัวบ่งชี้ทิศทางเศรษฐกิจและตลาดเงินตลาดทุนในปีหลังกันว่า จะมีอะไรที่ส่งสัญญาณบวกบ้าง?

เริ่มต้นเดือน พ.ค. กับการการคลายล็อกของรัฐบาลที่ให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินการได้ ซึ่งเป็นสัญญาณบวกที่หลายคนรอให้เกิดขึ้น พร้อมกับตัวเลขผู้ติดเชื้อที่ลดลงไปอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามอย่างที่เราทราบกันว่าเชื้อ COVID-19 ยังไม่ได้หมดไปเลยในทีเดียว เพราะเมื่อดูจากผู้ติดเชื้อทั่วโลกแล้ว จะเห็นว่าตัวเลขยังเพิ่มขึ้น และที่น่าสนใจมากๆ นั่นคือ การเกิดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นหลังจากเปิดเมืองและผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และประเทศอื่นๆ

นั่นหมายความว่าการทยอยผ่อนคลายมาตรการเพื่อให้หลายธุรกิจกลับมาดำเนินได้นั้น อาจต้องเจอกับความเสี่ยงในต่อการระบาดของโรครอบที่ 2 หรือไม่ ..? แต่นั้นไม่ใช่ปัจจัยหลักอย่างเดียว เพราะเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบที่จะมีต่อเศรษฐกิจและการลงทุนแล้ว มีเรื่องสำคัญอื่นที่ต้องติดตามและประเมินควบคู่ไปด้วยต่อจากนี้ เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ทิศทางของเศรษฐกิจและตลาดเงินตลาดทุนในช่วงครึ่งปีหลังนี้..?

ประเด็นแรก คือ การเปิดให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินได้นั้นยังทำได้เพียงบางส่วน และต้องดำเนินการภายใต้มาตรการควบคุม อาจทำได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นต้องลุ้นว่าหลายๆ ธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ จะกลับมาดำเนินการปกติได้รวดเร็วเพียงใด เพราะจะมีต่อเศรษฐกิจ ทั้งการจ้างงาน การอุปโภคบริโภคและความเชื่อมั่นต่อการลงทุนต่างๆ ที่จะตามมา 

ประเด็นที่ 2 มาตรการการคลังเพื่อช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ไปถึงภาคส่วนต่างๆ นั้น ทั้งการให้เงินเยียวยากับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปิดธุรกิจต่างๆ รวมถึงการเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบการเงินนั้นจะเห็นผลในด้านใดบ้าง และจะเพียงพอหรือไม่ หากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ยังไม่เป็นปกติหรือเกิดการระบาดเพิ่มขึ้นใหม่

ประเด็นต่อมา 3 การผ่อนคลายมาตรการของรัฐบาล แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการกลับมาระบาดของโรคอีกครั้ง แต่เมื่อพิจารณาจากมาตรการต่างๆ ทางสาธารณาสุขที่รณรงค์กันในช่วงที่ผ่านมา คาดว่าหากไม่เกิดการระบาดรอบ 2 ที่รุนแรงอีกครั้ง เชื่อว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการกลับมาฟื้นเศรษฐกิจและภาคการลงทุนต่างๆ

ประเด็นสุดท้ายคือ 4 ปัจจัยต่างประเทศแม้สถานการณ์ COVID-19 จะยังไม่จบ แต่ไม่ได้หมายความเรื่องใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ โดยเฉพาะจากสหรัฐ ที่เตรียมจะขึ้นภาษีสินค้าจากประเทศจีนอีกครั้ง หลังกล่าวว่าจีนเป็นต้นตอการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 รวมไปถึงการปัญหาในตะวันออกกลางกับอิหร่านที่ยังไม่สงบลงโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะเป็นตัวแปรหนึ่งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์ทางการเงินต่างๆ ในระยะจากนี้    

ผมอยากชี้ให้เห็นว่า ผลกระทบจาก COVID-19 นั้นเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าทำให้ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ของทั่วโลกติดลบอย่างรุนแรง และผลกระทบที่แท้จริงจะสะท้อนออกไปที่ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 อีกทั้งยังมีการประเมินกันว่าเราจะต้องเผชิญกับโรคระบาดนี้ไปอีก 1-2 ปี

แต่เราจะต้องใช้มาตรการปิดการทำธุรกิจต่างๆ แบบนี้อีกครั้งไหม..? ผมมองว่าไม่ใช่ครับ เราสามารถทยอยผ่อนคลายให้ธุรกิจต่างๆ กลับมาดำเนินการได้ให้มากที่สุด ควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมที่เราได้ดำเนินมาตลอดในช่วงระยะที่ผ่านมา เช่นเดียวกับในสหรัฐฯและยุโรปที่เริ่มกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้วยกเว้นในบางกลุ่ม 

ส่วนในด้านการลงทุน ที่ผมให้คำแนะนำไว้เป็นประจำในตอนท้ายนี้ ... ผมมองว่าในเดือน พ.ค. สินทรัพย์เสี่ยงจะยังเผชิญกับความผันผวนอยู่บ้างระยะ จนกว่าจะเห็นสัญญาณบวกที่แท้จริง แต่ก็ยังสามารถเลือกลงทุนได้อยู่นะครับ มีสินทรัพย์ที่ยังเป็นปัจจัยและมองว่าน่าสนใจให้นักลงทุนได้จัดพอร์ตกันได้ ซึ่งผมขอแนะนำดังนี้ครับ 

  158912115753

ในตอนนี้ผมจะมานำเสนอประเด็นที่น่าสนใจอะไรบ้าง รอติดตามกันครับ ติดตามข่าวสารบทวิเคราะห์การลงทุนจาก KTBST SCE ได้ที่ “มุมมองความรู้” ทางเว็บไซด์ www.ktbst.co.th หรือทาง www.facebook.com/ktbst.th และสามารถขอคำปรึกษาการลงทุนได้ที่ KTBST SEC 02-648-1111