ส่องสถานะ 'แรงงาน' ช่วงวิกฤตโควิด-19 คนว่างงาน 9.6 ล้านคน

ส่องสถานะ 'แรงงาน' ช่วงวิกฤตโควิด-19 คนว่างงาน 9.6 ล้านคน

ส่องสถานะ "แรงงาน" ช่วงวิกฤตโควิด-19 ถึงสิ้นเม.ย.63 เอกชนคาดก่อนคลาย “ล็อกดาวน์” คนว่างงาน 9.6 ล้านคน

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในขณะนี้ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงในระดับโลก รวมถึงประเทศไทยส่งผลกระทบต่อการจ้างงานแล้วจำนวนมาก ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศไทยทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมคนไทยที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงกลุ่มธุรกิจต่างๆ

ดร.ธนิต  โสรัตน์  รองประธานสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย  เปิดเผยว่า ผลกระทบที่มีต่อตลาดแรงงานประกอบด้วยภาคท่องเที่ยวมี "แรงงาน" รวมกันมากกว่า 2.91 ล้านคน ทั้งการ “ล็อกดาวน์” พื้นที่ด้วยการปิดสถานประกอบการเกือบทั้งหมดยกเว้นค้าปลีกรายย่อยกระทบต่อตลาดแรงงานทั้งระบบ เช่น ค้าส่ง-ค้าปลีก ซึ่งมีแรงงานประมาณ 6.29 ล้านคน ภาคก่อสร้าง 2.29 ล้านคน ภาคบริการ 0.96 หมื่นคน

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมแรงงานประมาณ 6.0 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะที่อ่อนแอทั้งจากความต้องการของผู้บริโภคในประเทศที่ลดลง และการชะลอตัวการส่งออกถึงแม้ในไตรมาสแรกปี 2563 จะยังขยายตัวได้ร้อยละ 0.91 แต่หากหักการส่งออกทองคำแท่งกลายเป็นติดลบร้อยละ 3.1

คาดว่าทั้งปีการส่งออกของไทยอาจขยายตัวติดลบร้อยละ 8.27 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์อาจหดตัวมากกว่าร้อยละ 30 ค่ายรถยนต์ต่างๆ ปิดตัวชั่วคราวตั้งแต่เดือนเมษายนและจนขณะนี้ส่วนใหญ่ยังไม่เปิดหรือที่กลับมาเปิดก็จะมีการปรับลดเหลือ 1 กะหรือสลับกันหยุด

นอกจากนี้  อุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงจากดีมานด์ในประเทศที่ลดลง และการส่งออกที่หดตัว เช่น อุตสาหกรรมยางพารา, ข้าวแปรรูปเพื่อการส่งออก, อุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องสำอางค์, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไม้ ฯลฯ 

ปรากฏการณ์ผลกระทบที่ตามมาคือการตกงานครั้งใหญ่ของประเทศโดยภาพรวมกำลังแรงงานของชาติ ณ เดือนมีนาคม 2563 มีจำนวน 38.21 ล้านคน เป็นผู้ว่างงาน 3.92 แสนคน และแรงงานรอฤดูกาล 4.90 แสนคน วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากสงครามการค้าโลก และการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ดร.ธนิต ได้สำรวจข้อมูลจากหน่วยงานรัฐ และในกลุ่มของสภานายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย พบว่า ก่อนการคลาย "ล็อกดาวน์" เฟส 1 (ถึง 30 เมษายน 2563) คาดว่า มีจำนวนผู้ที่ว่างงานรวมกันประมาณ 9,523,411 คน กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ กลุ่มแรงงานอิสระภาคท่องเที่ยว รองลงมาคือ กลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์

158919838386

(ดูกราฟฟิกประกอบ)

จำนวนกว่า 9.5 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนการว่างงานประมาณ 24% ของแรงงาน แต่การประเมินว่า ในเฟส 1 ของมาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ อาจทำให้การจ้างงานกลับคืนมาประมาณ 1 ล้านตำแหน่ง และในเฟส 2 และเฟส 3 ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณามีการเปิดศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้าและร้านค้าธุรกิจจะทำให้การจ้างงานกลับคืนมาได้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง

"ที่น่าจับตาปรากฏการณ์หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 เพราะเศรษฐกิจจะไม่เหมือนเดิมมีทั้งธุรกิจ และอาชีพที่เป็นดาวรุ่ง เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับออนไลน์, อีคอมเมิร์ซ, แกร๊ป, ออโต้เมชั่น ฯลฯ  ขณะเดียวกันหลายอาชีพและหลายธุรกิจอาจได้รับผลกระทบที่ยังไม่รู้ว่าจะฟื้นตัวได้เมื่อไรและอย่างไร เช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับภาคท่องเที่ยว"  ดร.ธนิต กล่าว

เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรมการบินทั้งในระดับประเทศและระดับโลก อุตสาหกรรมโรงแรมและรีสอร์ท ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ โลจิสติกส์ผู้โดยสารนักท่องเที่ยว, มัคคุเทศก์, ร้านอาหาร, ธุรกิจในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ตลอดจนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับสินค้าของที่ระลึกและห้างสรรพสินค้าต่างๆ ซึ่งไทยเป็นศูนย์กลางการค้าปลีกระดับภูมิภาค

อ่านข่าว