พิษโควิด-19 ทำศาลชั้นต้นเลื่อนนัดพิจารณา 1.6 แสนคดี

พิษโควิด-19 ทำศาลชั้นต้นเลื่อนนัดพิจารณา 1.6 แสนคดี

เลขาธิการศาล ฯ เผยพิษโควิด-19 ระบาดทำศาลชั้นต้นทั่วประเทศเลื่อนพิจารณาคดี 1.6 แสนคดี มากสุดในประวัติศาสตร์

ส่วนวันที่ 1-30 เมษายน 63 คดีแพ่งเลื่อนนัดพิจารณา 20,459 คดี คดีผู้บริโภคเลื่อนนัดพิจารณา 52,825 คดี คดีสิ่งแวดล้อมเลื่อนนัดพิจารณา 32 คดี คดีอาญาเลื่อนนัดพิจารณา 15,403 คดี คดีทรัพย์สินฯเลื่อนนัดพิจารณา 88 คดี คดีแรงงานเลื่อนนัดพิจารณา 1,104 คดี คดีภาษีเลื่อนนัดพิจารณา 25 คดี และคดีล้มละลายเลื่อนนัดพิจาจรณา 409 คดี

วันที่ 1-31 พฤษภาคม 63 คดีแพ่งเลื่อนนัดพิจารณา 12,721 คดี คดีผู้บริโภคเลื่อนนัดพิจารณา 36,229 คดี คดีสิ่งแวดล้อมเลื่อนนัดพิจารณา 65 คดี คดีอาญาเลื่อนนัดพิจารณา 9,434 คดี คดีทรัพย์สิน ฯเลื่อนนัดพิจารณา 92 คดี คดีแรงงานเลื่อนนัดพิจารณา 736 คดี คดีภาษีเลื่อนนัดพิจารณา 26 คดี และคดีล้มละลายเลื่อนนัดพิจารณา 458 คดี

รวมคดีที่เลื่อนนัดพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 24 มีนาคมถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 63 จำนวน 163,620 คดี

นายสราวุธ กล่าวว่า คดีที่เลื่อนการพิจารณาในช่วงวันที่ 24 มีนาคม ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 63 ให้ไปกำหนดวันนัดสืบพยานใหม่ในเดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม 63 ส่วนคดีที่รับฟ้องใหม่ในเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 63 ให้กำหนดวันนัดพิจารณาคดีตั้งแต่เดือนสิงหาคมและเดือนกันยายน 63 เป็นต้นไป

แต่ถึงอย่างไรทางศาลก็ได้คำนึงถึงประชาชน ผู้มีอรรถคดี เป็นหลัก เพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน จึงได้กำหนดข้อยกเว้นบางคดีที่ไม่เลื่อน เช่น คดีอาญาที่จำเลยต้องขัง คดีแพ่งบางประเภท และคดีอื่น ๆ ที่เจ้าของสำนวนและองค์คณะพิจารณาเห็นว่าสามารถดำเนินกระบวนพิจารณาไปได้ โดยไม่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้อง และหากเลื่อนคดีไปอาจทำให้คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย โดยคำนึงถึงความยินยอมของคู่ความ

นอกจากนี้ศาลยังได้มีการกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการคดี โดยอาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือนำนวัตกรรมเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทออนไลน์มาดำเนินการช่วยให้คดีเสร็จไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคดีและการอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยสะดวก รวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ซึ่งสอดรับกับนโยบายของประธานศาลฎีกา ในการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความยุติธรรม

นอกจากนี้ศาลอาจกำหนดให้มีการพิจารณาคดีเพิ่มเติมในช่วงนอกเวลาราชการ และวันหยุดราชการเพิ่มเติม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 63 โดยจะจัดทำเป็นโครงการเปิดทำการศาลนอกเวลาราชการเพื่อเร่งรัดการพิจารณาพิพากษาคดีที่เลื่อนมาดังกล่าวให้แล้วเสร็จ

“การเลื่อนคดีที่นัดสืบพยานเดิมออกไป ซึ่งแน่นอนว่า มีผลกระทบอย่างมากต่อประชาชน คู่ความ และผู้มีอรรถคดี และถือว่าการเลื่อนพิจารณาคดีครั้งนี้กว่า 163,620 คดี เป็นการเลื่อนคดีที่มีจำนวนที่มากและต้องเลื่อนเป็นระยะเวลายาวนานสุดในประวัติศาสตร์ ก็ว่าได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ศาลยุติธรรม จะยังไม่หยุดยั้งในการนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาในการอำนวยความสะดวกกับประชาชน ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม” เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมกล่าว