5-7 พ.ค.นี้ หลายพื้นที่กทม. 'น้ำประปา' ไหลอ่อน-ไม่ไหล

5-7 พ.ค.นี้ หลายพื้นที่กทม. 'น้ำประปา' ไหลอ่อน-ไม่ไหล

กปน.ซ่อมท่อหลัก 3 วัน แจ้งปชช.ในหลายพื้นที่ ถ.พระราม 2 รามอินทรา แจ้งวัฒนะ หลักสี่ กิ่งแก้ว ลาดกระบัง อ่อนนุช บางนา-ตราด สำรองน้ำ

ประกาศการประชานครหลวง (กปน.) แจ้งประชาชนเรื่อง "น้ำประปา" ไหลอ่อนถึงไม่ไหลชั่วคราวในพื้นที่ซ่อมท่องประธานที่แตกรั่ว บริเวณคลองลาดลำภู ถนนพระรามที่ 2 ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ 5 พ.ค.และวันพุธที่ 6 พ.ค. ตั้งแต่ 22.00-05.00 น.ของวันรุ่งขึ้น โดยจะดำเนินการเฉพาะกลางคืน รวม 2 คืน และจ่ายน้ำตามปกติเวลากลางวัน จะส่งผลให้น้ำประปาไหลอ่อนถึงไม่ไหลในพื้นที่ ดังนี้
1. ถนนพระรามที่ 2
ฝั่่งเลขคี่ ตั้งแต่ซอย 31-71
ฝั่งเลขคู่ ตั้งแต่ซอย 20-70
2. ถนนท่าข้าม ถนนอนามัยงามเจริญ ทั้งสองฝั่ง

คืนวันอังคารที่ 5 พ.ค.63 ตั้งแต่เวลา 23.00 - 03.00 น.วันรุ่งขึ้น

  1. ถนนหลวงแพ่ง ถนนลาดกระบัง ถนนวัดศรีวารีน้อย
  2. ถนนกิ่งแก้ว ตั้งแต่ถนนลาดกระบัง ถึงถนนบางนา-ตราด
  3. ถนนฉลองกรุง ตั้งแต่ถนนลาดกระบัง ถึงคลองลำมะขาม
  4. ถนนอ่อนนุช ตั้งแต่ถนนศรีนครินทร์ ถึงแยกลาดกระบัง
  5. ถนนประชาทร ถนนประชาพัฒนา ถนนขุมทอง - ลำต้อยติ่ง ถนนเจ้าคุณทหาร
  6. ถนนวงแหวนตะวันออก ตั้งแต่ถนนอ่อนนุช ถึงถนนบางนา-ตราด
  7. ถนนกรุงเทพ-ชลบุรีสายใหม่ ตั้งแต่ถนนวงแหวนสายตะวันออก แยกทับช้าง ถึงคลองจระเข้น้อย

วันพฤหัส ที่ 7 พ.ค.63 ตั้งแต่ 21.00 -09.00 น.วันรุ่งขึ้น

  1. ถนนแจ้งวัฒนะ ตั้งแต่ริมคลองประชา ถึงแยกวงเวียนหลักสี่
  2. ถนนรามอินทรา ตั้งแต่แยกวงเวียนหลักสี่ ถึงแยกลาดปลาเค้า
  3. ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่คลองบางบัว ถึงตลาดยิ่งเจริญ

นอกจากนี้ กปน.ยังแนะให้ประชาชนตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาประจำวัน โดยรายงานภาพรวมน้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ วันที่ 4 พ.ค. 2563 ว่า ค่าคลอไรด์ส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน สามารถใช้ในการอุปโภคได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค พร้อมทั้งแนะนำกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ควรหลีกเลี่ยงการบริโภค

ค่าคลอไรด์ เกินกว่า 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่งผลต่อการรับรู้รสชาติ เป็นบางช่วงเวลา (ช่วงกราฟสีแดง) ประมาณ 5 ชั่วโมง เฉพาะพื้นที่โรงงานผลิตน้ำธนบุรีและสามเสน

ทั้งนี้ ประชาชนควรตรวจสอบคุณภาพน้ำประปาในพื้นที่ของตนเอง ช่วงเวลาอื่น น้ำประปามีรสชาติปกติ ควรสำรองน้ำไว้ (ช่วงกราฟสีน้ำเงิน)

ทั้งนี้ หากค่าคลอไรด์ มากกว่า 250 มิลลิกรัม/ลิตร จะส่งผลต่อการรับรู้รสชาติ ตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO Guideline for Drinking Water 2017)

ข้อมูลจาก : การประปานครหลวง