'ธุรกิจประกัน'ปรับแผน จ่อขาย‘โรคอุบัติใหม่’

'ธุรกิจประกัน'ปรับแผน จ่อขาย‘โรคอุบัติใหม่’

“บริษัทประกัน”มองเทรนด์ธุรกิจหลัง “โควิด”คลี่คลาย ความต้องการ “ประกันสุขภาพ”พุ่ง เตรียมออกกรมธรรม์คุ้มครอง“โรคอุบัติใหม่” เจาะกลุ่มรายได้ปานกลาง-สูง หรือ เจอจ่ายจบ แบบประกันโควิด พร้อมจำกัดทุนประกันตามระดับรายได้

“ธุรกิจประกัน” เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19 ระบาดหนัก จากการเปิดขายประกันโควิดโดยเฉพาะแบบ “เจอจ่ายจบ”ที่มียอดขายถล่มทลาย  และเชื่อว่าหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย ธุรกิจประกันก็จะยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากกระแสความตื่นตัวเรื่องสุขภาพ ซึ่งหลายบริษัทเริ่มวางแผนรับเทรนด์ดังกล่าว 

นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า หลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย มองว่าความต้องการประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นแน่นอน ขณะที่บริษัทประกันก็ให้ความสำคัญกับโรคอุบัติใหม่มากขึ้น  โดยบางบริษัทประกันเริ่มออกความคุ้มครองโรคอุบัติใหม่ 

อีกทั้งเชื่อว่าพฤติกรรมของคนที่รายได้ระดับปานกลางและสูงจะเปลี่ยน  เช่น ซื้อวงเงินสูงขึ้น ทุนประกันสูงขึ้น  ขณะที่ราคาก็ควรจะขึ้น เพราะความเสี่ยงจากการเกิดโรคอุบัติใหม่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น รูปแบบความคุ้มครองโรคอุบัติใหม่ น่าจะเหมาะกับกลุ่มที่มีรายได้ดีและรายได้ระดับปานกลาง ขณะที่ประกันสุขภาพรูปแบบไมโครอินชัวรันส์ สำหรับรายย่อย อาจจะยังไม่เกิดมาก เพราะระบบการรักษา 30 บาทและประกันสังคมดีอยู่แล้ว

“ประกันโควิดรูปแบบเจอจ่ายจบ ที่จริงเป็นแบบประกันที่ดี แต่ต้องไม่ถูกนำเอาไปเป็นเครื่องมือทุจริตประกัน หลังจบโควิดแล้วคงจะทบทวนกัน ควรจะมีการจำกัดทุนประกันในส่วนที่เป็นเจอจ่ายจบให้เหมาะสม เช่น สมมุติรายได้ต่อวันสามร้อยบาท เจอโควิดได้ 850,000บาทหรือ1 ล้านบาท จะคุ้มหรือไม่”

ในส่วนประกันโควิด บริษัทจะรับประกันภัยต่อมากสุดสัดส่วนไม่เกิน 50% ต่องาน เน้นการประกันรายเดี่ยว ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและโคม่าเสียชีวิตเป็นหลัก เพราะมีการกระจายความเสี่ยงภัยดีกว่า ซึ่งเรายังมีขีดความสามารถรับเพิ่มได้อีก

ส่วนงานประกันรายกลุ่ม เช่น องค์กรระดับสองพันคน จะต้องประเมินความเสี่ยงภัยเข้ม เช่น ความเสี่ยงของตึกเพราะถ้าติดโควิดทั้งตึกก็ลำบาก และยังได้จำกัดทุนประกันแบบเจอจ่ายจบ ไม่เกิน30,000 ล้านบาท ซึ่งเได้กำหนดเงื่อนไขไว้แต่แรก เพื่อควบคุมอัตราความเสียงหายในระดับที่เหมาะสม ตอนนี้จะเห็นว่าหลายบริษัทประกันหยุดขายแบบเจอจ่ายจบแล้ว

ทั้งนี้ บริษัทได้ประเมินเบื้องต้นพบว่า งานรับประกันภัยต่อประกันโควิด-19 หากเกิดสินไหมจะมีอัตราความเสียหายราว 40-60% ถือว่ายังพอมีกำไรจากการรับประกันอยู่แต่ไม่มาก ขณะที่ราคาเบี้ยที่รับประกันภัยต่อก็จะปรับขึ้นตามความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโควิดและความเสี่ยงของภัยอยู่แล้ว

“เรารับรีประกันโควิด-19 รายเดี่ยว แล้วไม่มีแบบเจอจ่ายจบ จึงไม่กังวล เพราะใช้การคำนวณต่างๆอย่างระมัดระวัง  ส่วนแบบเจอจ่ายจบที่หยุดขายกันไป สะท้อนว่าทุกคนก็บริหารความเสี่ยงตัวเองอยู่แล้วและส่วนใหญ่ก็รีออก ไม่มีใครเก็บไว้ 100% และหากยังล็อกดาวน์หรือปิดเมือง ยิ่งส่งผลดีต่อประกันภัย เพราะความเสี่ยงที่เรารับมาก็จะต่ำลง”

นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทอาจมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในอนาคต ในรูปแบบของสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรง ที่มีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขให้รองรับกับโอกาสในการเกิดโรคร้ายแรง โรคระบาดใหม่ๆ หรือโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ในส่วนของบริษัท ช่วงนี้เน้นแผนความคุ้มครองและผลประโยชน์ของสัญญาเพิ่มเติมเหมาจ่ายวงเงินสูง อย่างประกันสุขภาพโกลด์ 5 แผนความคุ้มครอง ทั้งจากการเจ็บป่วยและอุบัติเหตุ แบบเหมาจ่ายสูงสุดปีละ 1-5 ล้านบาท จ่ายตามจริง ซึ่งครอบคลุมถึงกรณีเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลจากโควิด-19และอื่นๆ

“การระบาดของโควิด-19 ส่งผลดีในแง่ของตลาตประกันสุขภาพ ที่ผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมา หันสนใจสร้างสวัสดิการให้กับตนเองเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งภาครัฐส่งเสริมให้ประชาชนสร้างสวัสดิการด้านสุขภาพให้แก่ตนเองผ่านการประกันสุขภาพ โดยการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษีจากเบี้ยประกันสุขภาพ เพิ่ม15,000 บาท เป็น 25,000 บาท”

นางนภัสนันท์ พรรณนิภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวร์รันส์ โบรคเกอร์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทร่วมกับบริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด(มหาชน) ออกแบบกรมธรรม์พิเศษซื้อเพียง1กรมธรรม์แต่คุ้มครองถึง2โรคคือ ประกันไข้หวัดใหญ่และโรคที่เกิดจากยุงเบี้ยเริ่มต้น200บาท คุ้มครองสูงสุด50,000บาท ตั้งเป้าหมายในปีนี้จะมียอดขาย300,000 กรมธรรม์และยอดเบี้ยเฉลี่ย500บาทต่อกรมธรรม์

นางภฤตยา สัจจศิลา กรรมการผู้จัดการ บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทออกแผนประกัน “ซูเปอร์ ไลฟ์ ไฟท์ โควิด” คุ้มครองทั้งชีวิตและสุขภาพ รับมือโรคร้าย เบี้ยเริ่มต้นเพียงวันละ 24 บาท ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลสูงสุดกว่า 380,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินสูงถึง 100,000 บาท เงินชดเชยรายวันกรณีรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงสุดถึง 1.4 ล้านบาท และคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากโควิด-19 สูงสุด 300,000 บาท อย่างไรก็ดี การที่ผู้บริโภคตะหนักถึงความเสี่ยงโรคระบาดใหม่ๆ  จะส่งผลให้ภาพรวมตลาดประกันสุขภาพ