'จีพีเอสซี' ชี้ภัยแล้งภาคตะวันออกเริ่มดีขึ้น

'จีพีเอสซี' ชี้ภัยแล้งภาคตะวันออกเริ่มดีขึ้น

'จีพีเอสซี' เผย สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเริ่มดีขึ้น หลังฝนตกตามฤดูกาล มาตรการรัฐ-เอกชน ผนึกกำลังผันน้ำเข้าอ่างและลดการใช้น้ำได้ผล ลั่น ยอดขายไฟฟ้ายังโต แม้โควิด-19 ฉุดเศรษฐกิจโดยรวม

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC เปิดเผยว่า ขณะนี้ ถือว่ามีข่าวดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ภาคตะวันออก จากก่อนหน้านี้มีข้อกังวลเรื่องของปัญหาภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้ แต่ล่าสุด สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ หลังจากฝนเริ่มตกตามฤดูกาล ประกอบกับมาตรการของภาครัฐที่สามารถดำเนินการผันน้ำจากเครือข่ายและอ่างเก็บน้ำต่างๆในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

ขณะที่ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และโรงงานในพื้นที่ภาคตะวันออกต่างในความร่วมกับภาครัฐในการประหยัดน้ำ โดยในส่วนของ จีพีเอสซี ก็ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ 158842145078 และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ในการลดการใช้น้ำลง 10% และจะยังคงดำเนินมาตรการนี้ต่อไปจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลง

“ตอนนี้ สถานการณ์ความกังวลเริ่มผ่อนคลายลง แต่ก็ยังวางใจไม่ได้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกับภาครัฐ และติดตามสถานการณ์ต่อไป ซึ่งหากฝนตกมากขึ้น ก็จะเป็นเรื่องที่ดี และทำให้ปีนี้ สามารถผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งไปได้”

ก่อนหน้านี้ กลุ่ม ปตท.อยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้อย่างใกล้ชิดว่า จะส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นฐานขับเคลื่อนการลงทุนด้านอุตสาหกรรมปิโตรเคมีหลักของประเทศอย่างไร เนื่องจากน้ำถือเป็นทรัพยากรสำคัญที่จะหล่อเลี้ยงภาคอุตสาหกรรม ภาคการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ และกลุ่ม ปตท.มีการ 158842156818 ลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่

โดยเบื้องต้น แผนการรับมือผลกระทบระยะสั้นนั้น กลุ่ม ปตท.ได้เตรียมพร้อมเรื่องการประหยัดการใช้น้ำลง ขณะที่รัฐบาล โดยคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) ได้เข้ามาดูแลและบูรณาการทุกฝ่ายเพื่อให้มีน้ำเพียงพอ ทั้งการกักเก็บน้ำและผันน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงและต้องติดตามดูปริมาณฝนที่จะลงมาในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ เพราะหากตกเหนืออ่าวแล้วไหลผ่านท่อฯ ก็จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และผ่านพ้นปัญหาขาดแคลนน้ำภาคอุตสาหกรรมในปีนี้ไปได้

ส่วนในระยะยาว มองว่าภาครัฐควรมีการดูแลปริมาณน้ำให้มีความมั่นคง เช่นเดียวกับปริมาณการผลิตไฟฟ้า และสาธารณูปโภคอื่นๆ โดยเบื้องต้น กลุ่มปตท. ได้เสนอ กนช.ให้เปิดประมูลในรูปแบบสัญญาร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) เพื่อให้เอกชนสามารถเข้าไปประมูลแข่งขันการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งมองว่า ควรอยู่ในพื้นที่แหลมฉบัง มาบตาพุด จ.ชลบุรี และระยอง ซึ่งในเรื่องนี้ กลุ่ม ปตท.เอง ก็มีความพร้อมที่จะดำเนินการในหลายบริษัททั้ง พีทีทีจีซี ,ไทยออยล์ เป็นต้น แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข PPP ที่รัฐจะประกาศออกมาด้วยว่าจะเป็นให้หน่วยงานประเภทใดเข้าร่วมแข่งขันได้บ้าง

รวมถึง การประมูลรูปแบบ PPP รัฐควรเข้ามาสนับสนุนในส่วนของการถมทะเล,ที่ดิน,ค่าภาษีต่าง ๆ ด้วย เพราะการดำเนินโครงการดังกล่าวมีต้นทุนสูง แต่คุ้มค่าหากป้องกันไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ขณะที่ปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลที่พัฒนาขึ้นทำให้ต้นทุนถูกลงจากอดีตมาก

นาย 158842158445 ชวลิต ยังกล่าวถึงสถานการณ์การใช้ไฟฟ้าว่า บริษัท ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สำคัญ ทำให้ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของจีพีเอสซี ยังไม่มีการหยุดเดินเครื่องการผลิต แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศจะชะลอลงจากผลกระทบของโควิด-19 อีกทั้ง บริษัทเองมีระบบบริหารจัดการที่ดี ทำให้สามารถเดินเครื่องการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ดังนั้น คาดว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส1 จะยังเติบโตได้ตามเป้าหมาย