'สมาคมฟินเทค' ส่งจดหมายถึงรัฐบาล ขอช่วยสตาร์ทอัพไทยผ่านวิกฤติโควิด

'สมาคมฟินเทค' ส่งจดหมายถึงรัฐบาล ขอช่วยสตาร์ทอัพไทยผ่านวิกฤติโควิด

สมาคมฟินเทคประเทศไทย ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาล ในการเสนอขอการช่วยเหลือฟินเทคสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทั้งมาตรแหล่งเงินกู้ Soft Loan และเงินสนับสนุน Grant

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมฟินเทคประเทศไทย ได้ส่งจดหมายถึงรัฐบาล ในการเสนอขอการช่วยเหลือฟินเทคสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมในช่วงวิกฤติโควิด-19 ทั้งหมด 2 เรื่องหลัก ทั้งมาตรการแหล่งเงินทุน Soft Loan (เงินกู้ผ่อนปรน) แบบ Fast  Track และการให้เงินสนับสนุน Grant Base โดยมีรายละเอียดดังนี้

มาตรการ/นโยบาย ช่วยเหลือสตาร์ทอัพช่วงวิกฤต

1.มาตรการแหล่งเงินทุนSoft Loan (เงินกู้ผ่อนปรนแบบ Fast  Track

1.1 รัฐปล่อย Soft Loan สำหรับ Startup ที่ยังไม่เคยระดมทุน

เสนอให้จัดตั้งกองทุนขึ้น แล้วแต่งตั้งกองทุน Startup ที่มีอยู่ในปัจจุบันเข้ามาช่วยบริหารและพิจารณาอนุมัติวงเงินให้ Startup ที่ยังไม่เคยระดมทุน โดยเลือกจากกองทุนเอกชนไทย เช่น Innoกองทุน Space, กองทุน 500Tuktuks, กองทุน Krungthai Ventures , CVC, กองทุนของธนาคารทั้งภาครัฐและเอกชน แล้วให้สมาคม VC, สมาคมฟินเทคประเทศไทย และสมาคมไทยเทค สตาร์ทอัพ มีหน้าที่ในการตรวจสอบรายชื่อบริษัท Startup ว่าเป็น Startup ที่ดีมีความน่าเชื่อถือและทำธุรกิจจริง เพื่อพิจารณาการอนุมัติเงินทุนแบบ Fast track

1.2 รัฐปล่อยSoft Loan เป็น Co-Investment / Matching Fund กับนักลงทุนอื่นๆ ที่สนใจลงทุน Startup เพื่อช่วย

ลักษณะเป็น Co-Investment โดยให้รัฐปล่อย Soft Loan มาให้ก่อนแล้วให้ Startup นั้นๆ สามารถหานักลงทุนในรูปแบบใดๆ ก็ตาม เช่น Angel investor, VC, CVC, บริษัทกลุ่มบริษัทธนาคาร หรือกองทุนทั้งภาครัฐและเอกชนใดๆ ที่มีหลักฐานทางการลงทุน มี Track Record การลงทุนที่น่าเชื่อถือมาร่วมลงทุนด้วย โดยหากเอกชนลงทุนเท่าไร ภาครัฐจะลงทุนสมทบในสัดส่วน โดยวงเงินลงทุนรวมต้องไม่เกิน 30 ล้านบาท เช่น Startup หาก ต้องการเงินลงทุน 30 ล้านบาท ให้ยื่นเสนอขอ SoftLoan จากภาครัฐ ในเบื้องต้น โดยกรอบการพิจารณาไม่ควรเกินวัน 15 เมื่อภาครัฐอนุมัติแล้ว Startup สามารถนำการอนุมัตินี้ไประดมทุนในลักษณะ Matching Fund กับนักลงทุนรูปแบบใดๆ โดยหากนักลงทุนตัดสินใจลงทุน 15 ล้านบาท ภาครัฐจะสมทบอีก 15 ล้านบาทในรูป Soft Loan

ทั้งนี้ภายหลังรัฐอาจจะพิจารณาเปลี่ยนSoftLoanเป็นหุ้นหรือพิจารณาขายให้กับนักลงทุนรายอื่นที่สนใจ (เพื่อรับเงิน Soft Loan คืน)

กรณีนี้จะช่วยให้ทั้งนักลงทุนมีความมั่นใจในการร่วมลงทุนภาครัฐเองก็ลดความเสี่ยงในการคัดกรองการลงทุนเนื่องจากนักลงทุนช่วยคัดกรองให้ระดับหนึ่งแล้ว ทั้งยังสามารถช่วยให้บริษัทStartupมีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจRunway) (ที่ยาวพอในการ ก้าวผ่านวิกฤตและสร้างการเติบโตหลังวิกฤตโควิด-19 ได้

1.3 รัฐปล่อย Soft Loan ให้ Startup ที่เคยระดมทุนมาแล้ว แต่ขาดสภาพคล่องในช่วงวิกฤตินี้

กำหนดให้ Startup ที่เคยได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนในรูปแบบใดๆ เช่น VC, CVC, บริษัท,กลุ่มบริษัท, ธนาคารหรือกองทุนทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถนำหลักฐานการได้รับเงินลงทุนนั้นๆ Track Record) (มาอ้างอิงเพื่อขออนุมัติเงินลงทุนจากภาครัฐในลักษณะ Soft Loan หรือ Convertible Note เพิ่มเข้าไป โดยให้สัดส่วนสูงสุดเท่ากับจำนวนเงินระดมทุนรวมที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 50 ล้านบาท เช่น Startup หากใดๆ เคยได้รับเงินลงทุนจากนักลงทุนมาก่อนหน้ารวม 30 ล้านบาท สามารถยื่นขอ Soft Loan หรือ Convertible Note จากภาครัฐได้ในวงเงินสูงสุดนบาทเช่นกัน 30 ล้านบาท

ทั้งนี้การสนับสนุนรูปแบบนี้จะช่วย Startup ที่กำลังเติบโต แต่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤติได้มาก Startup เนื่องจากระดับนี้ มักเป็นช่วงเวลาการเติบโตที่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนใน Scale จึงไม่สามารถทำกำไรในช่วงระยะเวลานี้ได้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถผ่านการพิจารณาโดยเกณฑ์ปกติของธนาคารโดยทั่วไป แต่การที่ Startup สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีนักลงทุนที่มีหลักฐานทางการลงทุน Track Record การลงทุนที่น่าเชื่อถือมาร่วมลงทุนด้วยมาก่อน Startup แสดงว่าบริษัทนั้นๆ มีมูลค่าในการลงทุนและมีศักยภาพในการสร้างการเติบโตให้เศรษฐกิจของประเทศไทยได้จริง การช่วยให้บริษัท Startup เหล่านี้ได้ผ่านวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิด-19 นี้ไปได้ จะช่วยให้ประเทศไทยเกิดขุนพลด้านเศรษฐกิจนวัตกรรมอันจะช่วยให้ประเทศไทยเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในอนาคต

2. Grant Base (การให้เงินทุนสนับสนุน)

2.1 รัฐช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของ Startup

เสนอให้ภาครัฐช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของStartup จากทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน โดยที่รัฐเป็นผู้ช่วยสนับสนุนเงินในส่วนดังกล่าว เช่น

  • บริการจัดส่งอาหารและเอกสารแก่ประชาชนบริษัทหน่วยงานที่ได้รับผลกระทบ Startupโดยจะจัดทำคูปองส่วนลดให้ลูกค้าได้ใช้ฟรี (แต่รัฐเป็นผู้ Subsidise)
  • การส่งเสริมให้ธุรกิจ SME และ Startup สามารถระดมทุนหรือกู้ยืม Soft Loan ผ่านช่องทาง Fintech Startup โดยภาครัฐจะเป็นผู้สนับสนุนทั้งในส่วนของค่าบริการ ค่าธรรมเนียม รวมถึงเป็นแหล่งเงินให้กับธุรกิจที่เข้ามาใช้บริการได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  • การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในการก้าวเข้าสู่โลก DigitalPlatform ต่างๆ เช่น e-learning, e-commerce, ทักษะการ Coding Programming, การ Upskills และ Reskills ต่างๆ โดยให้ประชาชนและผู้สนใจใช้ฟรี (แต่รัฐเป็นผู้ Subsidise) เป็นต้น

2.2 รัฐช่วยสนับสนุนงเงินเดือนพนักงานเรื่อ

หากบริษัท Startup ไม่สามารถอยู่ได้ พนักงานและแรงงานในอุตสาหกรรมนี้ย่อมอยู่ไม่ได้เช่นกัน และจะทำให้ประเทศสูญเสียแรงงานคุณภาพในการพัฒนาประเทศเข้าสู่โลกนวัตกรรม ดังนั้นรัฐจึงควรสนับสนุน Startup ในเรื่องการจ้างงานพนักงาน ให้สามารถทำงานอยู่ได้ภายใต้มาตรการต่างๆ ของภาครัฐ ในการแก้ไขภาวะวิกฤตโควิด-19 โดยอ้างอิงจากตัวอย่างของประเทศสิงคโปร์ ที่มีการช่วยเหลือบริษัทในการจ่ายเงินเดือนพนักงานในอัตรา 25%, 50%และ 75%

จึงขอเสนอให้รัฐช่วยเหลือด้านเงินเดือนพนักงานในอัตรา 50% ของจำนวนค่าจ้างรวม โดยให้ใช้เงินเดือนเฉลี่ยของ ไตรมาสที่1 ของปี 2563 (ช่วงที่วิกฤติยังไม่ส่งผลกระทบมากนัก) มาสนับสนุนเงินเดือนในไตรมาที่ 2 ของปี 2563 เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยเริ่มช่วยเหลือตั้งแต่เดือน เม.. 2563 เป็นต้นไป (ช่วงที่ได้รับผลกระทบหนัก) เช่น

  • หากบริษัทจ่ายเงินเดือนพนักงานทั้งบริษัทรวมกันเฉลี่ยเดือนละ 1 ล้านบาท รัฐจะสนับสนุนให้ 500,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เมษายน- มิถุนายน 2563) โดยระยะเวลาการสนับสนุนอาจขยายต่อเป็น 6 เดือน ตามมาตรการใดๆ ของภาครัฐ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการจ้างงานในอนาคต หากทำเช่นนี้เราเชื่อมั่นว่าจะสามารถคงอัตราการจ้างงานไม่ให้ลดน้อยลงตลอดช่วงการสนับสนุนมาตรการได้

ในขณะเดียวกัน ในฐานะที่รัฐ Subsidise เงินเดือนพนักงานของบริษัท Startup ที่เข้าร่วมโครงการ เรายินดีที่จะจัดกำลังทรัพยากรบุคคลของเราที่มีความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมที่หลากหลาย มาเป็นอาสาสมัครในการสนับสนุน ช่วยเหลือ โครงการต่างๆ ของรัฐบาลหรือหน่วยงานต่างๆ ทั้งในเรื่อง Fintech, Innovation และ Technology ในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยเข้าสู่โลก Digital รวมทั้งการเตรียมความพร้อมให้ประชาชนในทุกภูมิภาคของประเทศไทยสามารถก้าวเข้าสู่ยุค Digital Transformation อย่างไม่ต้องทิ้งใครไว้ข้างหลังตามนโยบายที่รัฐบาลต้องการขับเคลื่อน

โอกาสจากภาวะวิกฤติ และRecovery Idea

ทางสมาคมฟินเทคประเทศไทยขอเสนอ Recovery Idea ที่จะช่วยให้เราคว้าโอกาสหลังวิกฤตครั้งนี้ได้คือ

1.ส่งเสริมให้คนไทยใช้Platform นวัตกรรมของStartup ไทย อย่างแพร่หลาย เช่น การจัดส่งอาหาร,e-learning, e-commerce และ Future Skills ต่างๆ

2.เปิดระบบนิเวศของเงินกู้ให้ครอบคลุมFintechถึงStartup และ SMEs เสนอรัฐให้เปิดโอกาสให้ช่องทางอื่นๆ Non Bank เช่น และรวมทั้ง Fintech Startup สามารถปล่อยเงินกู้ Solf หรือ Loan ให้เข้าถึง Startup และ SMEs ที่เป็นกลุ่มที่ต้องการเงินในการสนับสนุนธุรกิจ ทั้งนี้เสนอให้แก้กฎหมายกลุ่มระบบนิเวศ ใช้งานระบบของ NCB และ บสย. ได้

3. เสนอให้มีการบังคับใช้ลงนามเอกสารในรูปแบบ e-signature อย่างจริงจัง

  • ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เห็นความจำเป็นในการเซ็นเอกสารต่างๆ แบบออนไลน์ (การใช้ e-signature) ซึ่งในทางกฎหมายสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตาม ... ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จึงขอเสนอให้หน่วยงานของรัฐทั้งหมดยอมรับเอกรูปอิเล็กทรอนิกส์และไม่เรียกเอกสารกระดาษ

เราเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไทยจะสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤติครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้ จึงขอส่งกำลังใจ ข้อเสนอแนะ และโอกาสพื้นฟูหลังวิกฤติ ทั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทย คณะรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องจะรับฟังข้อเสนอของเราญหา เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาความเดือดร้อนให้กับฟินเทคสตาร์ทอัพ รวมถึงผู้ประกอบการด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีให้อย่างทั่วถึงโดยถ้วนหน้ากัน ไม่ให้ประเทศต้องสูญเสียธุรกิจไทยที่จะเป็นกําลังสําคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมอันเป็นหัวใจในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ของชาติในอนาคต