น้ำมันกดตลาด

น้ำมันกดตลาด

ดัชนีวานนี้ปรับตัวลงกว่า 13.48 จุด เช่นเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาค จากความกังวลของราคาน้ำมันที่ปรับตัวร่วงติดลบ

ซึ่งเป็นผลจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ อุปทานที่ล้นตลาด ประกอบกับการ Roll over สัญญาจากเดือน May ไปเดือน June ส่งผลกดดันต่อหุ้นกลุ่ม ENERG ภายในประเทศ โดยดัชนี SET Index ปิดที่ 1,252.92 จุด (-13.48 จุด) Volume 5.9 หมื่นลบ. ต่างชาติ -6,103.20 ลบ. TFEX Net +3,388 สัญญา ตราสารหนี้ -203 ลบ.

ปัจจัยบวก / ปัจจัยลบ

-ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 631.56 จุด -2.67% กังวลราคาน้ำมันลดลง บดบังข่าวดีที่วุฒิสภาสหรัฐผ่านร่างมาตรการเยียวยาธุรกิจขนาดเล็กในวงเงิน 4.84 แสนล้านดอลลาร์

+/- ราคาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค. +47.64 ดอลลาร์ +126.6% ก่อนครบกำหนดส่งมอบเมื่อคืนนี้ ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบ WTI งวดส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 21 ปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลต่อความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลก

+ก.พาณิชย์แถลง การส่งออกของไทยมี.ค.63 ขยายตัวสูงสุดรอบ 8 เดือน +4.17% จากตลาดคาด -5.8% (+2.12% หักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ) ส่งออกในไตรมาสแรกปีนี้ +0.91% (+1.06% หักสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และอาวุธ)

+ครม.เห็นชอบอัตราชดเชยความเสียหายให้สถาบันการเงินตามพ.ร.ก.ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ SMEs จากโควิด

+นายกฯ เผยสัปดาห์หน้าทบทวนสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมรับข้อเสนอปลดล็อคแต่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

-สหรัฐเผยยอดขายบ้านมือสองต่ำกว่าคาดในเดือนมี.ค.

-WHO เตือนโควิด-19 อาจระบาดอีกครั้งหากหลายประเทศเปิดเศรษฐกิจเร็วเกินไป

-ดัชนีเซี่ยงไฮ้คอมโพสิตปรับตัวลง 25.54 จุด -0.90% เปิดลบ 12.94 จุด

-ดัชนีนิกเกอิปิดร่วงลง 388.34 จุด -1.97% เช้านี้เปิดลบ 171.60 จุด หุ้นกลุ่มพลังงานร่วงจากวิตกภาวะน้ำมันล้นตลาดโลก

+ทองคำปรับตัวลงสวนทางเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นหลังตลาดน้ำมันโลกผันผวน

-Fund Flow ต่างชาติมีสถานะขาย YTD 1.5 แสนลบ. ค่าเงินบาท 32.50 บาท/US

*จับตาบอร์ด AOT ประชุมพิจารณามาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติมธุรกิจการบิน ธุรกิจไม่เกี่ยวกับการบิน  สหรัฐเผยดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ. และสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย

คาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยราคาน้ำมันดิบ WTI ยังเป็นตัวกดดันตลาด เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมันที่ลดลจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ขณะที่นักลงทุนยังติตามการประกาศงบ 1Q20 ที่ทยอยประกาศออกมา คาดดัชนีเคลื่อนไหวในกรอบ 1,220-1,250 จุด

หุ้นรายงานพิเศษ

การปรับใช้มาตรฐาน TFRS9 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563 ส่งผลดังนี้

1.มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นตามการคำนวณขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss) บนการด้อยค่าของเครื่องมือการเงินทั้งหมด

2.สินเชื่อด้อยคุณภาพเพิ่มขึ้นจากการพิจารณาโมเดลการวัดมูลค่าของผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

3.ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิกว้างขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของรายได้ดอกเบี้ยจากการรับรู้รายได้ภายใต้รายได้ค่าธรรมเนียมที่รับรู้ก่อนหน้า และส่วนที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินเชื่อด้อยคุณภาพ

ผลการดำเนินงานงวด 1Q63 ของหุ้นกลุ่มธนาคารลดลง YoY ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มธนาคารเป็น “Neutral” แนะนำหุ้นปันผลสูง KKP TISCO

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้น Defensive (RATCH TTW ADVANC CHG)
  • หุ้นได้ประโยชน์จากการ Work from home (ADVANC INTUCH DTAC TRUE JAS JASIF DIF COM7 SIS SYNEX)
  • หุ้นที่ได้ประโยชน์หากมีการทยอยปลด Lockdown (BTS BTSGIF BEM CRC MC AU )

หุ้นมีข่าว   

·         KBANK Conference Call (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 123.90 บาท) ถือรอเศรษฐกิจฟื้น

1Q63 มีกำไรสุทธิ 6,581 ล้านบาท -25%QoQ -34%YoY ผลจากการใช้มาตรฐาน TFRS9 ในการรับรู้ค่าธรรมเนียมด้วยวิธีดอกเบี้ยที่แท้จริง (EIR) ประกอบกับการลดอัตรานำส่งกองทุนฟื้นฟูฯ ส่งผลให้ NIM อยู่ที่ 3.49% สูงกว่ากรอบ 3.1 – 3.3%

ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (Expected Credit Loss)  4,292 ล้านบาท ส่วน Credit Cost เพิ่มสู่ 235 bps สูงกว่าเป้าที่ระดับไม่เกิน 150 bps เป็นผลกระทบจากลูกค้า SME  ที่มีปัญหาส่งผลให้ %NPL เพิ่มขึ้นเป็น 3.86% จาก 3.65% ณ ปลายปี 62 แต่ยังอยู่ในกรอบ 3.6 – 4% อัตราส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อ NPL (Coverage ratio) อยู่ที่ 139% ลดลงจากระดับ 149% ณ สิ้นปี 2562 นอกจากนี้การที่ TFRS 9 กำหนดให้จัดประเภทและวัดมูลค่าของเงินลงทุนใหม่สะท้อนในรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง 40%

ความเห็น ฝ่ายวิจัยคาดจะเห็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ต่อเนื่องในช่วง Q2 – Q3 เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อ SME สูงกว่าแบงก์อื่น  คาด Consensus จะปรับลดประมาณการกำไรปี 63 ล่าสุดจาก 3 หมื่นล้านบาท -23%YoY และราคาเป้าหมาย ราคาหุ้นล่าสุดซื้อขายที่ PBV 0.57 เท่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยกลุ่มแบงก์ที่ระดับ 0.55 เท่า แนะนำ ทยอยสะสม

(+) “กลุ่มโรงไฟฟ้าไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดค่าไฟฟ้าให้ครัวเรือน 3 เดือน วงเงิน 2.36 หมื่นล้านบาท หลัง สนธิรัตน์สั่ง กกพ. เร่งดำเนินการ เหตุเงินมาจากงบกลาง ไม่ได้เรียกเก็บจากภาคเอกชน (ที่มาข่าวหุ้น)

 (-) PTTEP (Bloomberg Consensus 85.29) เผยยังไม่ได้รับกระทบแม้ราคาน้ำมัน WTI ร่วงติดลบ เหตุราคาขายอิงดูไบ แต่จับตาใกล้ชิดเตรียมพร้อมปรับแผนรับมือ เนื่องจาก ปัจจุบันบริษัทมีก๊าซธรรมชาติเป็นผลิตภัณฑ์หลัก โดยมีสัดส่วนประมาณ 70% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด (ที่มาอินโฟเควสท์)

ความเห็น ราคาน้ำมันดิบดูไบเริ่มอ่อนตัวลงตามราคาน้ำมันดิบสหรัฐซึ่งจะผลโดยตรงต่อผลประกอบการของ PTTEP ใน 2Q63 โดยให้ระวังแรงขายทำกำไรเนื่องจากราคาปรับตัวขึ้นกว่า 10% จากต้นเดือนเมษายน 

(+) BBL (Bloomberg Consensus 148.52 บาท) ชาติศิริ โสภณพนิชเอ็มดีแบงก์กรุงเทพ (BBL) ต่อราคาซื้อหุ้นแบงก์เพอร์มาตา ประเทศอินโดนีเซีย จาก 80,847 ล้านบาท ลดลงเหลือ 72,689 ล้านบาท หรือลดลง 8,158 ล้านบาท คิดเป็น 10% โบรกฯ ฟันธงช่วยลดต้นทุนได้เยอะ พร้อมดันกำไรปีนี้เพิ่มขึ้นอีก (ที่มาข่าวหุ้น)

(+) NER (Bloomberg Consensus 3.26 บาท)  แจ้งที่ประชุมผู้ถือหุ้นฯ ไฟเขียวออกวอร์แรนต์ 308 ล้านหน่วย ในอัตรา 5:1 รวมถึงเพิ่มทุนจดทะเบียน พร้อมอนุมัติจ่ายปันผล 0.14 บาท ขึ้น XD วันที่ 29 เม.ย.นี้ เล็งออกและขายหุ้นกู้วงเงินรวมไม่เกิน 2 พันล้านบาท รองรับการขยายการลงทุนในอนาคต (ที่มา ข่าวหุ้น)

(+) RATCH (Bloomberg Consensus 74.80 บาท)  เผยได้จดทะเบียนตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อร่วมโครงการโรงไฟฟ้าใน จ.นครราชสีมา กำลังการผลิต 40 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการประมาณ 2,176 ล้านบาท ขายไฟให้กับลูกค้าในนิคมนวนคร คาด COD ปี 2566 (ที่มา ทันหุ้น)

(+/-) EPCO (Bloomberg Consensus - บาท)  เปลี่ยนชื่อใหม่ "อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP)" เตรียมย้ายเทรดหมวดพลังงานพร้อมปันผลปี 2562 อัตรา 0.20 บาทต่อหุ้น "ยุทธ ชินสุภัคกุล" มั่นใจปี 2563 ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจจากโควิด-19 ผลงานเติบโตต่อเนื่อง เดินหน้าลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานลมหนุนอนาคต (ที่มา ทันหุ้น)

BBL (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 147.54) 1Q63 มีกำไรสุทธิ 7671 ล้านบาท -4%QoQ -15%YoY ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นลดลงจากไตรมาสก่อนที่มีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษเตรียมใช้มาตรฐาน TFRS9 สินเชื่อ +2.7%YTD จากสินเชื่อธุรกิจรายใหญและสินเชื่อกิจการต่างประเทศ ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มเป็น 2.52% จาก 2.22% ใน 4Q62 และ 2.48% 1Q62 %NPL ทรงตัวเมื่อเทียบกับปลายปี 62 ที่ระดับ 3.5%

KTB (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 13.96) กำไรสุทธิ 6,082 ล้านบาท -17%YoY เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิลดลงจากการลดอัตราดอกเบี้ย NIM ลดเหลือ 3.17% จาก 3.71% ใน 1Q62 สินเชื่อ +1.9%YTD %NPLเพิ่มเป็น 4.36% จาก 4.33% ณ ปลายปี 62

LHFG (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 1.19) แจ้ง 1Q63 พลิกขาดทุน 709 ล้านบาทเนื่องจากรายได้ที่ใช่ดอกเบี้ย -467% จากการใช้มาตรฐานบัญชี TFRS9 ส่งผลให้มีผลขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงของเงินลงทุนที่วัดด้วยมูลค่ายุติธรรม

BAY (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 24.66) 1Q63 มีกำไรสุทธิ 7,033 ล้านบาท +9.3%QoQ -44.8%YoY จากการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้น 50% ของบริษัทเงินติดล้อจำนวน 8,625 ล้านบาทใน 1Q62 สินเชื่อ +2.9%YTD %NPL เพิ่มขึ้นเป็น 2.22% จาก 1.98% ณ ปลายปี 62 ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตเพิ่มขึ้นจากการใช้มาตรฐาน TFRS9